บทเรียนม็อบฮ่องกง สู่ม็อบประเทศไทย สู่การใช้อำนาจของรัฐ
การประท้วงในฮ่องกงเป็นการประท้วงเพื่อเรียกร้องให้ถอน "ร่างรัฐบัญญัติกฎหมายหนีคดีและความช่วยเหลือร่วมกันทางกฎหมายในคดีอาญา (แก้ไขเพิ่มเติม) 2019" หรือ "กฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดน" เนื่องจากเกรงว่า ฮ่องกงอาจตกลงกับจีนเพื่อส่งตัวนักเคลื่อนทางการเมืองในฮ่องกงไปยังจีนได้
การประท้วงลุกลามขึ้นจนกลายเป็นการใช้ความรุนแรง เกิดการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจและประชาชน รวมถึงมีการใช้กระสุนยางและแก๊สน้ำตาเพื่อสลายการชุมนุม จนกลายเป็นแรงบันดาลใจให้การประท้วงในประเทศอื่นๆ รวมถึงการประท้วงล่าสุดในไทย จนเรียกกันว่าเป็น "ฮ่องกงโมเดล"
โดยภาพที่คุ้นตาจาก "ฮ่องกงโมเดล" หรือ "the Umbrella Movement" ก็คือ ร่ม ที่ทางผู้ชุมนุมนำมาไว้ป้องกันตัวจากการสลายชุมนุมโดยแก๊สน้ำตาของตำรวจ
จากความเหมือนกันของการเคลื่อนไหวทางการเมืองของฮ่องกงสู่ประเทศไทย โดยกลุ่มม็อบภายใต้ชื่อ ... "ราษฎรปลดแอก" ... ที่มีการเปลี่ยนชื่อจากคณะราษฎร 2563 หลังจากที่มีการสลายการชุมนุมที่แยกปทุมวัน เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา
ที่มีรู้แบบในการเคลื่อนไหวเรียกได้ว่า ถอดกันออกมาเป็นฝาแฝด ไม่ว่าจะเป็น ร่ม หมวกและแว่นนิรภัย
แต่ที่ม็อบราษฎรปลดแอก มีการปฏิเสธเลยก็คือ การทำลายข้าวของ หรือ การปล้นสะดม #Looting หลายคนเชื่อว่าเป็นการปล่อยข่าวจากกลุ่มผู้เห็นต่างที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามที่ใช้ช่องทางการสื่อสารเดียวกันกับกลุ่มม็อบ เพื่อให้ม็อบที่ไม่มีแกนนำสับสน และก็เริ่มทำให้ม็อบเกิดเสียงแตกได้สำเร็จ จนไปถึงทำให้รัฐบาลมีอำนาจเด็ดขาด และใช้เพื่อเป็นข้ออ้างในการสลายการชุมนุมของกลุ่มผู้ชุมนุมได้
หากลองเข้าไปหาคำว่า #Looting ในทวีตเตอร์ จะพบว่า มีกลุ่มไอดีที่พยายามจะปลุกกระแสให้ม็อบออกมาปล้นกลุ่มนายทุน โดยเฉพาะร้าน ******
โดยหารู้ไม่ว่า กลุ่มม็อบกำลังจะตกเป็นเหยื่อ กลุ่มคนที่มุ่งหวังให้รัฐบาลใช้เป็นข้ออ้างในการปราบปรามม็อบได้อย่างชอบธรรม
เพราะการ looting ก็คือ การปล้นทรัพย์ หรือการทำลายข้าวของ ที่ถือว่าได้เป็น อาชญกรรม และการกระทำที่ผิดกฎหมายเต็มๆ
ถามว่า ถ้าทำแล้วเกิดผลกระทบต่อกลุ่มทุนนั้นไหม ก็ไม่ เพราะร้านต่างๆ มีการทำประกันที่ครอบคลุมถึงการทำลายข้าวของ และการปล้นสิ่งของภายในร้านอยู่แล้ว
และที่สำคัญ จากที่ไปร่วมชุมนุมในหลายๆ ครั้ง จะเห็นได้ว่า ม็อบที่มาในครั้งนี้เป็นกลุ่มที่มีอารยะ ถึงแม้จะมีการแสดงออกที่ก้าวร้าวกับผู้หลักผู้ใหญ่ไปบ้าง แต่ก็เป็นเพียงการแสดงออกทางคำพูดเท่านั้น ยังไม่ถึงขั้นลงไม้ลงมือ
หลายครั้งที่เห็นภาพความต่างของม็อบกลุ่มนี้ได้เลย เช่น รถฉุกเฉินมาทุกคนในม็อบต่างรีบลุกและหลีกทางให้รถผ่านไปทันที หรือการเก็บขยะบริเวณที่จัดชุมนุม เป็นต้น
หากจะยกระดับการชุมนุมจริง #กูบอกให้ยกระดับการชุมนุม ก็ควรจะแสดงออกด้วยวิธีการอื่น ที่สามารถเพิ่มความเข้มข้นของการชุมนุมได้จริงเช่นกัน
อย่าให้รัฐฯ ใช้กฎหมายเป็นข้ออ้าง
ในการประกาศกฎอัยการศึก
เพื่อสลายการชุมนุม














