ฝนตกหนัก!! อาจไม่ถึง 10 ปี กรุงเทพฯ อาจเป็นเมืองจมบาดาล
จากที่ช่วงฝนตกหนักจนชาวเน็ตวิจารณ์ "ยิ่งกว่า สวนสยาม ทะเลกรุงเทพ"
กรุงเทพ ดุจเทพสร้างจริงหรือ? ชีวิตคนกรุง กับเมืองจมน้ำกันอีกวัน เหตุผลคือเครื่องสูบน้ำมีปัญหาในข่าว ท่านผู้ว่าฯ แจ้งว่า หากุญแจเครื่องสูบน้ำไม่ได้ ล้มเหลวมาก
บทความจาก กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ระบุว่า ...เตือนอีก10ปี กทม.จมน้ำลึก2.5 เมตร เตือน 10 ปี กรุงเทพฯอ่วมเจอน้ำท่วมสูง 2.5 เมตร เผย หลักเขตบางขุนเทียนถูกน้ำทะเลล้ำ 1 กิโลแล้ว วอนคนกรุงเร่งรัฐบาลสร้างคันกั้นน้ำป้องกันน้ำทะเลหนุน ระบุ รัฐมัวแก้ปัญหาการเมือง ฝั่งธนฯ คลองเตย บางแค จะจมน้ำ พระนคร จะท่วมถึงสวนหลวง ร.9
จากกรณีโครงการวิจัยร่วมไทย-ยุโรป GEO2TECDI (Geodetic Earth Observation Technologies for Thailand : Environmental Change Detection and Investigation) ซึ่งเป็นโครงการวิจัยร่วมระหว่างประเทศไทยและสหภาพยุ โรปที่ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากสหภาพยุโรป ในโครงการตรวจวัดการเคลื่อนตัวของแผ่นดินและระดับน้ำ ทะเลโดยใช้เทคโนโลยี Space Geodetic ออกมาเปิดเผยผลวิจัย ว่า ประเทศไทยโดยรวมจะมีการทรุดตัวลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ระดับน้ำทะเลในอ่าวไทยกลับเพิ่มขึ้น ส่วนแผ่นดินกรุงเทพฯ จะทรุดลงปีละ 15 มม.โดยมีนักวิชาการเตือนว่าเหลือเวลาเตรียมป้องกันอี ก 25 ปีเท่านั้นก่อนกรุงเทพฯ จะจมน้ำ
รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ กรรมการภูมิศาสตร์โลก และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวถึงกรณีดังกล่าว ว่า จากผลการวิจัยผลกระทบต่อการเกิดน้ำท่วมกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งได้รับทุนวิจัยมูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญหลายภาคส่วนจากบริษัท ปัญญา คอนเซาท์แตน จำกัด โดยการสนับสนุนของธนาคารโลก เมื่อปี 2551 คาดการณ์ว่า กรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งเป็นพื้นที่ชั้นหินอ่อนจะเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมภายใน 10 ปี ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นไป โดยสถานการณ์จะรุนแรงกว่าปี 2538 เพราะจากการคำนวณพบว่า ทุกๆ 25 ปี กรุงเทพฯ มีโอกาสจะเกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง (ภายในปี 2563) ทั้งนี้หากคำนวณจากปัจจัยแผ่นดินทรุดเพียงกรณีเดียว พบว่าจะเกิดปัญหาน้ำท่วมภายใน 25 ปี แต่ในความเป็นจริงปัจจัยที่เป็นสาเหตุให้เกิดน้ำท่วม ไม่ได้มีเพียงแค่กรณีเดียว
แต่ประกอบด้วย 4 ปัจจัยดังต่อไปนี้ 1.ปริมาณฝนที่ตกลงมา ขณะนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 5-10% ต่อปี 2.การทรุดตัวของแผ่นดิน ซึ่งในอดีตแผ่นดินกรุงเทพฯ จะทรุดตัวต่ำลงประมาณปีละ 100 มม.แต่ในปัจจุบันหลังมีมาตรการห้ามขุดเจาะน้ำบาดาล อัตราการทรุดตัวเฉลี่ยอยู่ที่ปีละ10-20 มม. 3.ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน มีอัตราน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉลี่ยปีละประมาณ 3 มม.4.ผังเมืองและความแออัดของชุมชนเมือง ทำให้พื้นที่สีเขียวหรือพื้นที่ชุ่มน้ำของกรุงเทพฯ ลดลงกว่า 50% เมื่อมีน้ำเหนือไหลมาหรือมีปริมาณฝนมากขึ้นจึงไม่มีพื้นที่รองรับน้ำ
รศ.ดร.เสรี กล่าวต่อไปว่า กรุงเทพฯ มีแผ่นดินที่ติดน้ำทะเลเพียงแห่งเดียว คือ เขตบางขุนเทียน ซึ่งขณะนี้หลักเขตกรุงเทพมหานครในเขตบางขุนเทียน ถูกน้ำทะเลล้ำเขตเข้ามาประมาณ 1 กิโลเมตร แสดงให้เห็นว่า แผ่นดินจมหายไป 1 กิโลเมตร ทั้งนี้รัฐบาลต้องเร่งแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยวิธีสร้าง คันกั้นน้ำ เพื่อป้องกันน้ำทะเลหนุน โดยสามารถเลือกสร้างได้ทั้งคันดินสีเขียวเพื่อปลูกต้ นไม้ หรือสร้างคันเป็นถนนสำหรับรถวิ่งลักษณะเดียวกับประเทศเวียดนามที่ก่อสร้างไปแล้วเป็นระยะทาง 30 กิโลเมตร ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่ลงมือแก้ปัญหาเพราะติดปัญหาท างการเมือง ปัจจุบันนี้การแก้ปัญหาน้ำท่วมดำเนินการโดยวิธีสูบน้้ำเหนือที่ไหลทะลักให้แยกออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งขวาให้ไหลลงแม่น้ำบางปะกง ส่วนฝั่งซ้ายให้ไหลลงแม่น้ำท่าจีน แต่ในอนาคตสิ่งสำคัญที่สุด คือ ต้องป้องกันน้ำทะเลหนุนให้ได้
“ธนาคารโลกเคยนำเสนอปัญหาดังกล่าวต่อรัฐบาลไทยแ ล้ว เพราะที่ประชุมคณะกรรมการภูมิศาสตร์โลกมองว่ามีความเ สี่ยงสูง แต่สิ่งที่ได้กลับมา คือ ความนิ่งเฉยของรัฐบาลไทย ทั้งนี้ เราไม่สามารถรู้ได้ว่าน้ำจะท่วมเมื่อใด แต่หากเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริงคาดว่าระดับน้ำที่ท่วมจะสูงถึง 1-2.5 เมตร สูงต่ำตามระดับพื้นดิน โดยจะรุนแรงมากในพื้นที่ฝั่งตะวันตก ฝั่งธนบุรี เขตคลองเตยจนถึงบางแค สำหรับฝั่งพระนครจะท่วมถึงบริเวณสวนหลวง ร.9 เพราะฉะนั้นประชาชนชาวกรุงเทพฯ ควรเรียกร้องให้รัฐบาลและเขตการปกครองท้องถิ่นตระหนั กถึงปัญหาตรงจุดนี้ เพื่อเร่งสร้างคันกั้นน้ำให้เร็วที่สุดเพราะการก่อสร้างต้องใช้เวลานานถึง 5 ปี หากเราลงมือทำกันจริงๆ วันนี้ก็ยังแก้ปัญหาทันอยู่ เพียงแต่เรายังไม่เริ่มเท่านั้น” ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าว
อ้างอิงจาก: https://www.facebook.com/tootsyreview/posts/1004432046695643
https://www.dmcr.go.th/detailAll/1913/rn/0