น่าขนลุกมากๆ ทะเลสาบน้ำแข็งที่อินเดีย เต็มไปด้วยโครงกระดูกคนโบราณนับร้อย
น่าขนลุกมากๆ ทะเลสาบน้ำแข็งที่อินเดีย เต็มไปด้วยโครงกระดูกคนโบราณนับร้อย
สิ่งที่คุณกำลังจะได้เห็นนี้ถูกเรียกว่า ทะเลสาบรุปคันด์ (Roopkund) หรือ ทะเลสาบแห่งโครงกระดูก (Skeletons Lake) ทะเลสาบธารน้ำแข็งที่อยู่ภายในหุบเขาบนพื้นที่สูงเหนือระดับน้ำทะเล 16,000 ฟุต หรือ 5,020 เมตร บริเวณรอบทะเลสาบไม่มีผู้คนอาศัย เนื่องจากทะเลสาบแห่งนี้ถูกล้อมรอบด้วยธารน้ำแข็งที่ปกคลุมไปด้วยหิน และภูเขาที่ปกคลุมไปด้วยหิมะ
ทะเลสาบแห่งโครงกระดูก ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาตินันทาเทวี (Nanda Devi National Park) เชิงเขาหิมาลัย ซึ่งอยู่ในเขตรัฐอุตตราขัณฑ์( Uttarakhand ) ของประเทศอินเดีย โดยทะเลสาบนั้นมีความลึกประมาณ 3 เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 40 เมตร
ปัจจุบันทะเลสาบโครงกระดูก ถือเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับนักปีนเขา นอกจากนี้ยังเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในเรื่องโครงกระดูกมนุษย์โบราณจำนวนหลายร้อยชิ้นที่พบที่ริมทะเลสาบ และซากโครงกระดูกมนุษย์สามารถมองเห็นได้เมื่อหิมะละลาย
อย่างไรก็ดี ในตอนแรกกระดูกมนุษย์เหล่านี้ถูกคาดเดาว่าน่านะเป็นของบรรดาทหารญี่ปุ่น ที่ปล่อยถูกทิ้งให้ตายในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่เมื่อมีการตรวจสอบกลับพบว่าไม่ใช่โครงกระดูกจากสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่เป็นของผู้คนที่ตายในช่วงค.ศ. 850 และสภาพอากาศที่หนาวเย็นและแห้งบนภูเขาก็ช่วยทำให้ผมเนื้อและกระดูกทั้งหมดได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตามการสำรวจในปี 2547 นักวิทยาศาสตร์ได้นำมาซึ่งคำตอบและปิดฉากความลึกลับของโครงกระดูกมนุษย์โบราณเหล่านี้ เพราะตรวจสอบพบว่ากะโหลกศีรษะของบางรายมีรอยร้าวที่สาหัส และทำให้สันนิษฐานได้ว่าพวกเขาเสียชีวิตจากปรากฏการณ์ภัยพิบัติบางอย่างครั้งใหญ่ ซึ่งอาจเป็นพายุลูกเห็บที่รุนแรงและฉับพลัน
และอาจเป็นไปได้ว่า โครงกระดูกมนุษย์เหล่านี้อาจเป็นกลุ่มผู้แสวงบุญที่เสียชีวิตระหว่างการเดินทางมาประกอบพิธีในละแวกใกล้เคียง คนเหล่านี้ไม่มีที่ให้วิ่งหรือซ่อนตัว ลูกเห็บที่“ แข็งเหมือนเหล็ก” คาดว่ามีขนาดเส้นรอบวงประมาณ 23 เซนติเมตร / 9 นิ้ว ซากศพของพวกเขากระจายเกลื่อนอยู่รอบๆทะเลสาบ และอยู่ที่นั่นเป็นเวลานานถึง 1,200 ปี จนกระทั่งถูกค้นพบในที่สุด...