สป.ยธ.เรียกร้อง ให้นายกฯ เปิดชื่อ-ตำแหน่ง ผู้ร่วมสมคบคิดล้มคดี บอส อยู่วิทยา
จากกรณีนายวิชา มหาคุณ ประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย กรณีคำสั่งไมฟ้องคดีอาญาที่อยู่ในความสนใจของประชาชน แถลงสรุปผลการค้นหาความจริงกรณีอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องนายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือ บอส ที่ขับรถชนตำรวจเสียชีวิต ปี 2555
โดยนายวิชา กล่าวว่า คดีนี้เป็นเรื่องที่น่าอับอายสำหรับบุคคลและองค์กรที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรม ขอเรียนว่ายังเป็นข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ซึ่งนายกฯเป็นกังวลว่า หากเผยแพร่หรือเปิดเผยออกไปจะกระทบถึงเขาหรือไม่
ฉะนั้นในสรุปรายงานที่ให้กับสื่อมวลชนจะมีอักษรย่อครบเหมือนที่บอกไว้ ว่าใครมีส่วนเกี่ยวข้องบ้าง โดยเราเห็นพฤติกรรมที่เริ่มตั้งแต่ทำสำนวนบกพร่อง เพราะการที่ตั้งข้อหาสำหรับคนตาย โดยเฉพาะ ด.ต.วิเชียร กลั่นประเสริฐ ผบ.หมู่งานปราบปราม สน.ทองหล่อ ที่ถูกนายวรยุทธ ขับรถชนจนเสียชีวิต ถือว่าไม่เป็นธรรมและไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะไม่มีสิทธิ์ต่อสู้คดี แม้ว่าเขาจะได้รับเงินเยียวยา แต่ก็ทำให้รูปคดีเสียหายอย่างหนัก ผู้เชี่ยวชาญสอนกันมาตั้งแต่อดีตว่า หากตำรวจตั้งรูปคดีแบบนี้แสดงว่าไม่ได้จริงจังหรือจริงใจในการทำสำนวน
นายวิชา กล่าวว่า กระบวนการเหล่านี้เราเห็นภาพว่า พนักงานสอบสวนไม่ได้ทำงานอย่างมืออาชีพ เพราะบางข้อกล่าวหาไม่ได้ใส่ไว้ในสำนวน สอบไว้เพียงแค่ให้รู้ว่าสอบ แต่ไม่ได้จริงจัง และก็สั่งไม่ฟ้องสำหรับข้อกล่าวหา เช่น เรื่องเมาแล้วขับ และคดีนี้มีการร้องขอความเป็นธรรม 14 ครั้ง โดยไม่ประสบความสำเร็จ 13 ครั้ง ส่วนการร้องขอความเป็นธรรมครั้งที่ 14 มีการยื่นพยานหลักฐานที่ก่อนหน้านี้ได้มีการปฏิเสธไปแล้ว และยังพบว่าในการร้องขอความเป็นธรรมครั้งที่ 8 วันที่ 16 มิ.ย.58 เป็นครั้งที่เราถือได้ว่าเป็นการร่วมมือร่วมแรงร่วมใจกันจนผิดปกติที่สุดในกระบวนการทำสำนวนในลักษณะของการสมยอมในการสอบสวน และเรายังพบว่าวันที่ก็ผิด ไม่ได้เป็นวันที่จริง เพราะวันที่มีการสอบปากคำจริง คือ วันที่ 29 ก.พ.2559 เรามีหลักฐานยืนยันชัดเจนทางนิติวิทยาศาสตร์ และเป็นหลักฐานที่ทำให้เราเชื่อโดยปราศจากข้อสงสัย
ซึ่งทั้งพ.ต.อ.ธนสิทธิ แตงจั่น ตำรวจพิสูจน์หลักฐานในคดี และ นายสายประสิทธิ์ เกิดนิยม อาจารย์ประจำและหัวหน้าศูนย์วิจัยเฉพาะทางวิศวกรรมการประเมินและความปลอดภัยยานยนต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ทำให้กลับความเห็นเรื่องความเร็ว ซึ่ง พ.ต.อ.ธนสิทธิ ยืนยันว่า มีการกระทำในลักษณะที่ถูกกดดันด้วยเข้าอยู่ในกระบวนการคุ้มครองพยานในทันที และจากการสอบสวนของคณะกรรมการพบว่ามีผู้กระทำผิดประมาณ 10 คนขึ้นไป
“เรื่องนี้เป็นต้นไม้พิษ สร้างผลไม้อันเป็นพิษ บริโภคไม่ได้ ต้องเสียไปทั้งหมด ในทางกระบวนการเราเห็นว่าให้มีการสอบสวนใหม่ ไม่ใช่ว่าสอบสวนพยานหลักฐานใหม่ แต่เราเห็นยิ่งกว่านั้นคือต้องนับหนึ่งใหม่ แต่เนื่องจากบางข้อหาขาดอายุความไปแล้ว คงช่วยไม่ได้ในส่วนนี้เราจึงได้เสนอด้วยว่า หลังจากนี้จะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขเกี่ยวกับเรื่องอายุความ ที่เราเสนอว่าต้องแก้โดยเร่งด่วน ให้อายุความ หยุดลงเมื่อผู้ต้องหาหลบหนี แบบเดียวกับคดีทุจริตที่อายุความหยุดลงตราบใดที่ยังหลบหนีอยู่” นายวิชา กล่าว
นายวิชา กล่าวอีกว่า มีเรื่องที่ต้องดำเนินการสำหรับบุคคลที่อยู่ในตำแหน่งสูง และเป็นผู้นำองค์กร เราอาจจะไม่ได้ข้อมูลที่แท้จริงในเรื่องของทางอาญา หรือทางวินัย แต่ว่าเราสามารถดำเนินการได้ในแง่ของจริยธรรม โดย ป.ป.ช.เป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบ และอาจจะให้พ้นจากตำแหน่งได้โดยศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งมีผู้เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ประมาณ 10 คนขึ้นไป ซึ่งมีทั้งหมด 8 กลุ่ม ดังนี้
1.พนักงานสอบสวนซึ่งเกี่ยวข้องกับสำนวน
2.พนักงานอัยการซึ่งปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
3. ผู้บังคับบัญชาซึ่งแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่
4.สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติซึ่งแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่
5. ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองซึ่งแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่
6. ทนายความซึ่งกระทำผิดกฎหมาย
7.พยานซึ่งให้การเป็นเท็จ
และ8. ตัวการ ผู้ใช้ และผู้สนับสนุนในการกระทำผิดกฎหมายดังกล่าว
เมื่อถามถึงการเสียชีวิตของนายจารุชาติ มาดทอง จากการสวบสวนมีความเชื่อมโยงกับนายวรยุทธหรือไม่ นายวิชา กล่าวว่า จากที่เราได้มามีความเชื่อมโยงพอสมควร และเป็นที่รู้กันอยู่ ว่าใครเป็นผู้อุปถัมภ์นายจารุชาติ มีทั้งบุคคลที่มีความเกี่ยวพันกับนายวรยุทธ และกับผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่ทางภาคเหนือ ซึ่งเราก็รู้กันอยู่ ดังนั้น ทางตำรวจภาค 5 กำลังดำเนินการตรวจสอบอยู่ว่าทำไมถึงมีการทำลายมือถือของนายจารุชาติ เพราะไม่น่าจะต้องทำลายถึงขนาดนั้น ก็กำลังตรวจสอบอยู่
เมื่อถามต่อว่า จะมีการปฏิรูปเรื่องการพิจารณาคดีลับหลังจำเลยหรือไม่ นายวิชา กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นข้อเสนอของคณะกรรมการที่จะเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เป็นผู้ประสานงานหรือดำเนินการส่งต่อให้หน่วยงานต่างๆ
เมื่อถามอีกว่า จากการสอบสวนพบความเชื่อมโยงของทนายความกับครอบครัวนายวรยุทธอย่างไรหรือไม่ นายวิชา กล่าวว่า ก็ต้องมีการให้สภาทนายความไปสอบต่อเพื่อให้เห็นภาพเชื่อมโยง แต่ตอนนี้ยังไม่ทนาย ธ.ยังไม่ปรากฎตัว และยังตามตัวไม่พบ ส่วนเรื่องการนำตัวนายวรยุทธมาลงโทษ จะต้องไปถามทางอัยการและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) เพราะเป็นเรื่องของกระบวนการส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่มีกฎหมายว่า ตำรวจ
อย่างไรก็ตาม นายวิชา ยังได้แจกเอกสารรายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ได้ส่งให้นายกฯจำนวน 10 หน้า โดยในเอกสารมีการระบุตัวย่อผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด คือ พันตำรวจโท ธ. , รองศาสตราจารย์ ส. , พันตำรวจโท ว. ,พลอากาศโท จ. ,นาย จ. ,นาย น.อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีศาลสูง รักษาการในตำแหน่งรองอัยการสูงสุด ปฏิบัติราชการแทนอัยการสูงสุด นาย ช. และพันตำรวจเอก ธ.เป็นต้น
ล่าสุด สถาบันเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม (สป.ยธ.) ออกแถลงการณ์เรื่อง ขอให้นายกรัฐมนตรีเปิดเผยรายชื่อผู้เกี่ยวข้องร่วมกระทำผิดกรณี “การสอบสวนล้มคดีบอส” และเร่งดำเนินการปฏิรูปตำรวจ รวมทั้งงานสอบสวนและนิติวิทยาศาสตร์ให้มีมาตรฐานสากลป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ มีรายละเอียดดังนี้
ตามที่นายกรัฐมนตรีได้ใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงหาตัวเจ้าพนักงานของรัฐผู้ร่วมกระทำผิดในกรณีที่มีการปฏิบัติหน้าที่มิชอบช่วยให้นายวรยุทธ อยู่วิทยา พ้นจากการถูกฟ้องคดีอาญาข้อหาขับรถประมาทเป็นเหตุให้มีผู้ถึงแก่ความตายแล้วหลบหนีซึ่งตำรวจผู้รับผิดชอบระดับต่างๆ ได้มีการสอบสวนทำลายพยานหลักฐานคดีนี้เป็นระยะๆ ตลอดมา จนกระทั่งทำให้พนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง โดยมี ศ.ดร.วิชา มหาคุณ เป็นประธานฯ ซึ่งเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2563 ศ.ดร.วิชาได้นำผลการตรวจสอบไปรายงานต่อนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาลและออกมาแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนส่วนหนึ่งแล้วนั้น
เนื่องจากการแถลงข่าวประกอบเอกสารที่เผยแพร่ดังกล่าว แม้จะมีการยืนยันถึงการกระทำผิดของตำรวจผู้ใหญ่ พนักงานสอบสวน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทนายความ และพนักงานอัยการว่าได้ร่วมกันทำเป็นขบวนการ และเสนอให้มีการดำเนินคดีอาญาและวินัยร้ายแรงต่อข้าราชการและผู้เกี่ยวข้องทุกคน แต่กลับไม่มีความชัดเจนเพียงพอที่จะทำให้ประชาชนได้ทราบว่ามีใครบ้างเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดที่สร้างความเสียหายต่อกระบวนการยุติธรรมของชาติอย่างร้ายแรงดังกล่าว และรัฐบาลจะดำเนินคดีตามกฎหมาย รวมทั้งการปฏิรูปตำรวจ งานสอบสวนและงานพิสูจน์หลักฐานเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำเช่นนี้เกิดขึ้นได้อีกอย่างไร
จึงขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีดำเนินการดังนี้
1. เปิดเผยรายงานผลการตรวจสอบดังกล่าวให้ประชาชนได้ทราบว่า บุคคลทั้ง 8 กลุ่มที่ถูกระบุว่าร่วมกันกระทำความผิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอนดังกล่าว มีผู้ใดบ้าง แต่ละคนมีตำแหน่งหน้าที่อะไรและมีพฤติการณ์ในการกระทำความผิดอาญาหรือวินัยร้ายแรงอย่างไรบ้าง
2. สั่งอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษให้เป็นผู้รับผิดชอบการสอบสวนคดีนี้ และรีบดำเนินการออกหมายเรียกผู้ที่มีหลักฐานการกระทำผิดตามรายงานดังกล่าวเป็นผู้ต้องหา หรือเสนอศาลออกหมายจับ และรีบจับตัวมาดำเนินคดีตามกฎหมายเหมือนกรณีการดำเนินคดีอาญากับประชาชนผู้กระทำความผิดในคดีต่างๆ สรุปเสนอให้พนักงานอัยการสั่งฟ้องคดีต่อศาลโดยเร็ว
3. ใช้อำนาจทางการบริหารดำเนินการทางปกครองในเบื้องต้นทันที โดยสั่งให้ผู้ร่วมกระทำผิดที่เป็นเจ้าพนักงานของรัฐทุกคนออกจากราชการไว้ก่อน หรือพักราชการ เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ผู้อื่น และเป็นการส่งสัญญาณถึงความเด็ดขาดจริงจังของรัฐบาลในการปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ
4. เร่งดำเนินการปฏิรูปตำรวจ งานสอบสวน และงานนิติวิทยาศาสตร์ ในเบื้องต้นเพื่อป้องกันการทุจริตบิดเบือนคดีหรือประพฤติมิชอบให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลโดย
4.1 นำร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ ฉบับที่นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เสนอ รวมทั้งร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยการสอบสวน ที่ผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรและได้เสนอต่อนายกรัฐมนตรีไปแล้วเข้าสู่สภาเพื่อตราเป็นกฎหมายบังคับใช้โดยเร็ว
4.2 แก้ปัญหางานนิติวิทยาศาสตร์และการพิสูจน์หลักฐานที่อยู่ในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งมีระบบการปกครองแบบมีชั้นยศและวินัยแบบทหาร ด้วยการทำให้เป็นข้าราชการพลเรือน สร้างหลักประกันความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานวิชาชีพ โดยตราพระราชกฤษฎีกาโอนสถาบันนิติเวช และสำนักงานพิสูจน์หลักฐาน ไปเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรมตามหลักสากลแทน
เมื่อถามต่อว่า จะมีการปฏิรูปเรื่องการพิจารณาคดีลับหลังจำเลยหรือไม่ นายวิชา กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นข้อเสนอของคณะกรรมการที่จะเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เป็นผู้ประสานงานหรือดำเนินการส่งต่อให้หน่วยงานต่างๆ
เมื่อถามอีกว่า จากการสอบสวนพบความเชื่อมโยงของทนายความกับครอบครัวนายวรยุทธอย่างไรหรือไม่ นายวิชา กล่าวว่า ก็ต้องมีการให้สภาทนายความไปสอบต่อเพื่อให้เห็นภาพเชื่อมโยง แต่ตอนนี้ยังไม่ทนาย ธ.ยังไม่ปรากฎตัว และยังตามตัวไม่พบ ส่วนเรื่องการนำตัวนายวรยุทธมาลงโทษ จะต้องไปถามทางอัยการและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) เพราะเป็นเรื่องของกระบวนการส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่มีกฎหมายว่า ตำรวจ
อย่างไรก็ตาม นายวิชา ยังได้แจกเอกสารรายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ได้ส่งให้นายกฯจำนวน 10 หน้า โดยในเอกสารมีการระบุตัวย่อผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด คือ พันตำรวจโท ธ. , รองศาสตราจารย์ ส. , พันตำรวจโท ว. ,พลอากาศโท จ. ,นาย จ. ,นาย น.อธิบดีอัยการ สำนักงานคดีศาลสูง รักษาการในตำแหน่งรองอัยการสูงสุด ปฏิบัติราชการแทนอัยการสูงสุด นาย ช. และพันตำรวจเอก ธ.เป็นต้น
ล่าสุด สถาบันเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม (สป.ยธ.) ออกแถลงการณ์เรื่อง ขอให้นายกรัฐมนตรีเปิดเผยรายชื่อผู้เกี่ยวข้องร่วมกระทำผิดกรณี “การสอบสวนล้มคดีบอส” และเร่งดำเนินการปฏิรูปตำรวจ รวมทั้งงานสอบสวนและนิติวิทยาศาสตร์ให้มีมาตรฐานสากลป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ มีรายละเอียดดังนี้
ตามที่นายกรัฐมนตรีได้ใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงหาตัวเจ้าพนักงานของรัฐผู้ร่วมกระทำผิดในกรณีที่มีการปฏิบัติหน้าที่มิชอบช่วยให้นายวรยุทธ อยู่วิทยา พ้นจากการถูกฟ้องคดีอาญาข้อหาขับรถประมาทเป็นเหตุให้มีผู้ถึงแก่ความตายแล้วหลบหนีซึ่งตำรวจผู้รับผิดชอบระดับต่างๆ ได้มีการสอบสวนทำลายพยานหลักฐานคดีนี้เป็นระยะๆ ตลอดมา จนกระทั่งทำให้พนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง โดยมี ศ.ดร.วิชา มหาคุณ เป็นประธานฯ ซึ่งเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2563 ศ.ดร.วิชาได้นำผลการตรวจสอบไปรายงานต่อนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาลและออกมาแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนส่วนหนึ่งแล้วนั้น
เนื่องจากการแถลงข่าวประกอบเอกสารที่เผยแพร่ดังกล่าว แม้จะมีการยืนยันถึงการกระทำผิดของตำรวจผู้ใหญ่ พนักงานสอบสวน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทนายความ และพนักงานอัยการว่าได้ร่วมกันทำเป็นขบวนการ และเสนอให้มีการดำเนินคดีอาญาและวินัยร้ายแรงต่อข้าราชการและผู้เกี่ยวข้องทุกคน แต่กลับไม่มีความชัดเจนเพียงพอที่จะทำให้ประชาชนได้ทราบว่ามีใครบ้างเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดที่สร้างความเสียหายต่อกระบวนการยุติธรรมของชาติอย่างร้ายแรงดังกล่าว และรัฐบาลจะดำเนินคดีตามกฎหมาย รวมทั้งการปฏิรูปตำรวจ งานสอบสวนและงานพิสูจน์หลักฐานเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำเช่นนี้เกิดขึ้นได้อีกอย่างไร
จึงขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีดำเนินการดังนี้
1. เปิดเผยรายงานผลการตรวจสอบดังกล่าวให้ประชาชนได้ทราบว่า บุคคลทั้ง 8 กลุ่มที่ถูกระบุว่าร่วมกันกระทำความผิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอนดังกล่าว มีผู้ใดบ้าง แต่ละคนมีตำแหน่งหน้าที่อะไรและมีพฤติการณ์ในการกระทำความผิดอาญาหรือวินัยร้ายแรงอย่างไรบ้าง
2. สั่งอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษให้เป็นผู้รับผิดชอบการสอบสวนคดีนี้ และรีบดำเนินการออกหมายเรียกผู้ที่มีหลักฐานการกระทำผิดตามรายงานดังกล่าวเป็นผู้ต้องหา หรือเสนอศาลออกหมายจับ และรีบจับตัวมาดำเนินคดีตามกฎหมายเหมือนกรณีการดำเนินคดีอาญากับประชาชนผู้กระทำความผิดในคดีต่างๆ สรุปเสนอให้พนักงานอัยการสั่งฟ้องคดีต่อศาลโดยเร็ว
3. ใช้อำนาจทางการบริหารดำเนินการทางปกครองในเบื้องต้นทันที โดยสั่งให้ผู้ร่วมกระทำผิดที่เป็นเจ้าพนักงานของรัฐทุกคนออกจากราชการไว้ก่อน หรือพักราชการ เพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ผู้อื่น และเป็นการส่งสัญญาณถึงความเด็ดขาดจริงจังของรัฐบาลในการปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ
4. เร่งดำเนินการปฏิรูปตำรวจ งานสอบสวน และงานนิติวิทยาศาสตร์ ในเบื้องต้นเพื่อป้องกันการทุจริตบิดเบือนคดีหรือประพฤติมิชอบให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลโดย
4.1 นำร่าง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ ฉบับที่นายมีชัย ฤชุพันธุ์ เสนอ รวมทั้งร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยการสอบสวน ที่ผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรและได้เสนอต่อนายกรัฐมนตรีไปแล้วเข้าสู่สภาเพื่อตราเป็นกฎหมายบังคับใช้โดยเร็ว
4.2 แก้ปัญหางานนิติวิทยาศาสตร์และการพิสูจน์หลักฐานที่อยู่ในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งมีระบบการปกครองแบบมีชั้นยศและวินัยแบบทหาร ด้วยการทำให้เป็นข้าราชการพลเรือน สร้างหลักประกันความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานวิชาชีพ โดยตราพระราชกฤษฎีกาโอนสถาบันนิติเวช และสำนักงานพิสูจน์หลักฐาน ไปเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรมตามหลักสากลแทน
อ้างอิงจาก: you.khao.info