Maison Martin Margiela เสื้อผ้าคือสิ่งทดลอง
Anti-Fashion เป็นคำจำกัดความที่บอกได้ถึงการทลายความเข้าใจแบบใหม่ของคนที่มีต่อโลกแฟชั่น เปรียบดั่งผู้ร้ายที่รักงานดีไซน์ ในหลายๆครั้งเราคิดว่าเสื้อผ้าและแฟชั่นเป็นเพียงส่วนประกอบของชีวิตประจำวัน ตามยุคสมัยเก่าไปใหม่มา และทิ้งเมื่อมันหมดอายุของเทรนด์ เราขอแนะนำให้รู้จักกับ แฟชั่นเฮาส์ ที่ไม่ได้คำนึงถึงความสวยงาม ไม่ละเมียดละไมจากงานปัก แต่เป็นความละเอียดทางความคิดจากเขาคนนี้ Martin Margiela ดีไซเนอร์อยู่ลำดับต้นๆในช่วง ปลายศตวรรษที่ 19 น้อยมากที่จะรู้จัก เขาไม่เพียงที่จะปกปิดตัวเองต่อสาธารณะแม้คำพูดฉลาดๆ หรือคำคมเพียงบางประโยค เขาก็ไม่ค่อยที่จะเอ่ยให้นักออกแบบหลายท่านได้เป็นยาชูกำลังซักเท่าใด
"An experience that changes nothing is hardly worth having"
(Martin Margiela)
Maison Martin Margila Team มาเจียล่า ที่ไม่ได้ร่วมเฟรมกับทีมงานของเขา
Photo: Vouge 2001
วันนี้เราขอรวบรวมผลงานที่น่าสนใจของแฟชั่นเฮาส์ที่เปรียบตนเป็นห้องทดลองงานและพยายามขีดเส้นใต้ความขบถให้โลกของแฟชั่น การก้าวกระโดดของไอเดียที่ร่วมสมัย การขยี้องค์ประกอบเดิมของเสื้อผ้ามาตีความใหม่ในแบบฉบับของ Margila เสมือนถ่มน้ำลายต่อคำว่า Luxury ที่ผู้คนในยุคนั้นโหยหาความฟุ้งเฟื้อไปกับสิ่งใหม่ หากแต่ไม่มองย้อนไปในจุดเดิมและสิ่งใกล้ตัวมันก็มีคุณค่าในแบบตัวมันเอง มาเจียล่าสร้างสรรค์งานที่น่าสนใจไว้หลายชิ้น ผลงานของเขามันไม่เคยพยายามทำที่จะทำให้พอใจ แต่มันก็เป็นที่พอใจเพราะสิ่งนั้น "เพราะมันคือ Art Piece ที่สอดแขน ติดกระดุมและเดินออกบ้านได้"
Maison Marginal Artisanal Spring-Summer 2001
Waistcoat made with playing card, Spring-summer 2006
Porcelain waistcoat, 1989-1990
Martin margiela artisanal top made of army socks Winter 1991-92
คอลเลคชั่นสเวตตเตอร์ที่เปลี่ยนบริบทโครงสร้างเดิมจาก "ถุงเท้า"
"Purse" Maison Margiela Fall-winter 1998-99
Maison margiela x H&M 2011
มาในรูปแบบที่สวมใส่ได้ง่ายแต่ยังคงเอกลักษณ์ที่คงความดิบและการตีความใหม่
ในรูปแบบเสื้อผ้าแนว Deconstruction
Martin margiela White painted Tabi boots 1989
Tabi paint leather boots 2020
Maison martin margiela mannequin jacket 1997
Maison Margiela Ready-to-wear Fall 1997
Maison Margiela by John galliano
Spring 2017 Menswear
Deconstruction คือการเป็นเสื้อผ้าที่เกิดจากฉีกโครงสร้างเก่าประกอบเข้าและตีความใหม่ อีกสิ่งที่ทำให้เกิดความประทับใจซึ่งนั่นก็คือ แฟชั่นโชว์การแสดงออกที่ไม่ต้องอธิบายแต่เกิดขึ้นจากการกระทำเปรียบดั่ง Art performance ของโลกแห่งงานออกแบบแฟชั่น
Maison Martin Margiela Spring 2006
เป็นโชว์ที่น่ายกย่องและสร้างสรรค์ ทเกิดจากการแสดงผลงานที่ตกตระกอนทางความคิดและสร้างแรงกระหึ่มอย่างมาก การสร้างสีลวดลายของเสื้อผ้าเกิดจากสีของเครื่องประดับที่ทำจากน้ำแข็งละลายลงบนตัวผลงาน หรือกระทั้งเดรสที่ยังคงอยู่ในมวนผ้า
Maison Margiela Spring 1998
เมื่อนางแบบไม่ได้มีความหมายของการแสดงออกของโลกแฟชั่นเสมอไป ลองคิดหากให้คนที่สร้างสรรค์ผลงานจริงมาโชว์ในสิ่งที่ตนสร้างจะเป็นอย่างไร
Maison Margiela Spring 2009 Ready-to-wear
โชว์ที่ฉลองครบรอบ 20 ปีของห้องเสื้อ กับความสำเร็จที่ยังไม่มีที่สิ้นสุดกับไอเดียเสื้อผ้าที่ไลน์ใหม่ การตีความแบบใหม่และเป็นภาพจำที่ว่า ทุกโชว์ของห้องเสื้อนางแบบต้องโดนคลุมใบหน้า
และถึงแม้ปัจจุบัน ดีไซน์เนอร์สัญชาติเบลเยียมที่หลงในศิลปะ จะไม่ได้คุมบังเหียนของตนเนื่องจากสาเหตุใดก็ไม่ทราบ และได้รับการสานต่อตำนานห้องเสื้อในรูปแบบใหม่แต่ยังคงเน้นคอนเซปเดิมของแบรนด์ จากชายฝีมือฉกาจ John Galliano โดยที่เขาได้รับโอกาสในการเข้ามารับเป็นหัวหอกฝ่ายครีเอท สไตล์ของจอร์นต่างจาก มาเจียล่าอย่างมาก ทั้งเรื่องของสีสัน ความสนุกและการตีความ แต่จอร์นยังเคารพโครงสร้างหลักของแบรนด์เสมอมา(ดูได้จากการนำเรื่องราวเก่าๆของแบรนด์มาตีใช้ใหม่ในคอลแลคชั่น Artisal Fall-winter 2020) เพื่อให้ Maison Margiela เป็นห้องทดลองศิลปะ ต่อไป
Maison margiela Artisanal Fall-winter 2020
ฝากกดดาวให้กำลังใจด้วยครับ
ที่มา
https://modastorie.blogspot.com/2020/08/maison-martin-margiela.html
อ้างอิงจาก: https://modastorie.blogspot.com/2020/08/maison-martin-margiela.html