นาฬิกาชีวิต
รอบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลก ปรากฏการณ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมในด้าน แสง อุณหภูมิ และการหาอาหาร แตกต่างกันในช่วงกลางวันและกลางคืน สิ่งมีชีวิตบนโลกนี้ รวมถึงมนุษย์ ใช้จังหวะการโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลก ให้เกิดประโยชน์ในแต่ละวัน ทำให้เกิดการปรับตัว ปรับพฤติกรรม เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการในแต่ละวัน แต่ละคืน
กระบวนการที่เกิดขึ้นในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นด้านกายภาพหรือทางความคิด เกิดขึ้นแตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา เช่น
- อาการปวดฟันจะลดน้อยลงในตอนเช้า
- งานตรวจอักษรจะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดในตอนเย็น
- ความเจ็บปวดจากการใช้แรงกายจะเริ่มขึ้นในตอนเย็น
- การคลอดตามธรรมชาติมักจะเกิดขึ้นในตอนเช้าตรู่
- ความแม่นยำของลูกเสิร์ฟสั้นหรือยาวในกีฬาแบดมินตัน ตอนกลางวัน จะแม่นยำมากกว่าตอนเช้าหรือตอนเย็น
- ความแม่นยำของลูกเสิร์ฟแรกในกีฬาเทนนิส ตอนเช้า จะแม่นยำมากกว่าตอนกลางวัันหรือตอนเย็น แต่ความเร็วของลูกเสิร์ฟในตอนเย็นจะมากกว่าตอนเช้า
- ความเร็วของนักว่ายน้ำ ตอนเย็นจะเร็วกว่าตอนเช้าหรือตอนกลางวัน
- ทักษะการเล่นฟุตบอล เช่น ลูกวอลเลย์หรือความเร็วของการเลี้ยงบอล สูงขึ้นในตอนเย็น
- กีฬาที่ต้องใช้ทักษะ เช่น แบดมินตัน เทนนิส หรือฟุตบอล นักกีฬาจะทำได้ดีที่สุดในตอนเช้า ส่วนกีฬาที่ต้องใช้ความแข็งแรงของร่างกายจะทำได้ดีในตอนเย็น
ตอนเช้าคือช่วงเวลาอันตรายของคนเป็นโรคหัวใจ
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเกิดขึ้นบ่อยในตอนเช้า เกิดบ่อยกว่าในตอนเย็น 2-3 เท่า ในตอนเช้าตรู่ ระดับความดันตัวบนและอัตราการเต้นของหัวใจจะเพิ่มสูงขึ้น ทำให้หัวใจต้องการพลังงานและออกซิเจนมากขึ้น แต่ในตอนเช้าก็เป็นช่วงเวลาที่การหดตัวของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจเพิ่มขึ้น ทำให้เลือดและออกซิเจนไม่เพียงพอและขัดกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น เป็นจุดเริ่มของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย
นอนไม่พอ เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ
Social Jet Lag คือความแตกต่างของการตื่นตามนาฬิกาปลุกในวันทำงานกับการตื่นตามธรรมชาติในวันหยุด คนที่ได้รับผลกระทบจาก Social Jet Lag มักจะเป็นคนที่มีน้ำหนักเกิน โดยพบว่าทุกๆ 1 ชั่วโมงที่ได้รับผลกระทบ ก็เพิ่มความน่าจะเป็น 30% ที่จะมีน้ำหนักเกิน
นาฬิกาชีวิตและอายุ มีผลต่อการเรียนรู้
ประสิทธิภาพของการเรียนรู้ของเด็กจะเพิ่มสูงขึ้นตลอดทั้งวัน ในขณะที่ผู้ใหญ่จะทำได้แย่ลง ดังนั้นสำหรับคนทำงาน จึงต้องรีบทำงานสำคัญให้เสร็จภายในช่วงเช้า เพราะตอนบ่ายประสิทธิภาพการทำงานจะแย่ลง
นาฬิกาชีวิต มีผลต่อนักกีฬา สมรรถภาพของนักกีฬาจะดีขึ้นตลอดทั้งวัน
นักกีฬาจะเล่นได้ดีที่สุดในตอนเย็น แต่สำหรับนักกีฬาที่เป็นคนตื่นเช้า ช่วงเวลาที่จะเล่นได้ดีที่สุดคือตอนกลางวัน นักกีฬาที่ไม่ตื่นเช้ามากหรือไม่นอนดึกมากก็จะเล่นได้ดีที่สุดในตอนบ่าย ส่วนนักกีฬาที่เป็นคนกลางคืนก็จะเล่นได้ดีที่สุดในตอนเย็น และทุกคนเล่นได้แย่ที่สุดในตอน 7 โมงเช้า คนที่นอนดึกตื่นสาย ถ้าให้วิ่งในตอนเช้า ถึงจะพยายามแค่ไหนก็ยังวิ่งช้ากว่าวิ่งตอนเย็น 26%
การรักษาโรคโดยการคำนึงถึงนาฬิกาชีวิต ช่วยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และลดผลข้างเคียงของการรักษา
ความยากอย่างหนึ่งของการรักษามะเร็งคือผลข้างเคียง การรักษาโดยการทำลายเซลล์เนื้องอกที่แบ่งตัวอย่างรวดเร็ว แต่เซลล์ Hair Follicle ที่สร้างเส้นผมหรือเซลล์ Endothelial Lining ในกระเพาะอาหาร ก็แบ่งตัวเร็วเช่นกัน ทำให้เกิดผลข้างเคียงคือผมร่วงและคลื่นไส้
การรักษาโดยคำนึงถึงช่วงเวลาที่เซลล์เส้นผมและเซลล์ในกระเพาะอาหารแบ่งตัว ให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาในเวลาที่เหมาะสม ทำให้การทำลายเซลล์เนื้องอกได้ผลดีที่สุด และลดผลข้างเคียงต่อเซลล์อื่นๆ ให้น้อยลงได้
นาฬิกาชีวิต มีผลต่อ อาหารการกิน การย่อยสารอาหาร เมตาบอริซึม
กล้ามเนื้อลาย (Skeletal Muscle) ของคนจะนำกลูโคสไปใช้ในตอนเช้าได้ดีกว่าในตอนเย็น
กระบวนการเปลี่ยนไขมันในตับ กระบวนการย่อยอาหาร ต่างก็ทำงานตามจังหวะเวลา กระเพาะอาหารของคนจะย่อยอาหารในตอนเช้าได้ดีกว่าตอนกลางคืน การบีบตัวและการเคลื่อนตัวของลำไส้ก็เกิดขึ้นน้อยลงในตอนกลางคืน
นอนไม่หลับ นอนน้อย ปัญหาของคนทำงานกะกลางคืน
คนที่ทำงานตอนกลางคืนพยายามที่จะนอนในตอนกลางวัน และช่วงเวลาการนอนหลับจะสั้นกว่าและหลับไม่สนิท กลางคืนเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายเตรียมพร้อมที่จะพัก ความกระตือรือร้นและประสิทธิภาพการทำงานลดลง ดังนั้นคนทำงานกะกลางคืน จึงเป็นคนที่ฝืนทำงานตอนที่ง่วงนอน และฝืนนอนตอนที่ร่างกายตื่นตัว
คนที่มีปัญหาการนอนหลับจากผลกระทบของการทำงานกลางคืน ทำให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ถึงแม้จะเกิดขึ้นไม่กี่วัน ก็ยังส่งผลเสียต่ออารมณ์และระบบการเรียนรู้ได้ ส่วนคนที่ได้รับผลกระทบเป็นเวลานานๆ ก็จะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็งและโรคหัวใจ
การทำงานกะกลางคืนมีผลต่อโรคหัวใจ ภาวะอ้วน ความเครียด คนที่ทำงานดึก หรือต้องทำงานกลางคืน เป็นเวลานานถึง 10 ปี จะส่งผลทำให้ความสามารถในการเรียนรู้และจดจำลดน้อยลง เมื่อเทียบกับกลุ่มคนที่ทำงานตอนกลางวัน
อาการนอนไม่หลับ ในคนสูงอายุ
อายุที่มากขึ้น ดวงตาที่เสื่อมสภาพลง ทำให้รับแสงสว่างได้น้อยลง อุณหภูมิร่างกาย เมตาบอริซึม การหลั่งฮอร์โมนส์ ที่ลดลง ส่งผลกระทบต่อการปรับเวลาตามจังหวะ Circadian Rhythms ส่งผลให้เกิดปัญหาการนอนได้ นอกจากนั้นการทำกิจกรรมลดน้อยลง การอยู่แต่ในบ้าน ก็ทำให้เสียโอกาสที่จะได้รับแสงสว่างเช่นกัน
การนอนมีความสำคัญและจำเป็นต่อการประมวลผลความทรงจำ ปัญหาการนอนส่งผลเสียต่อร่างกาย สัญญาณนาฬิกาภายในร่างกายช่วยปรับกระบวนการทางประสาท รวมถึงกระบวนการซ่อมแซม DNA กระบวนการขจัดของเสียออกจากเซลล์ร่างกาย หากจังหวะสัญญาณนาฬิกาเกิดความคลาดเคลื่อน ก็จะส่งผลเสียต่อระบบประสาท ทำให้เกิดวงจรทำลาย
การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องการนอน ไม่ให้ได้รับผลกระทบจากการนอนไม่เพียงพอ จึงมีความสำคัญมากสำหรับคนที่ต้องเข้าสู่วัยชรา
ทำงานดึก กินมื้อดึก เสี่ยงเป็นเบาหวาน
ในตอนเช้าร่างกายจะจัดการเก็บและนำกลูโคสไปใช้งานได้ดีกว่าในตอนเย็น อาหารประเภทเดียวกันที่เรากินในตอนเช้า จะถูกย่อยได้เร็วกว่าที่เรากินในตอนเย็น และระดับกลูโคสในเลือดหลังจากกินอาหารในตอนเย็นก็สูงกว่าในตอนเช้าถึง 17% การทดลองในคนที่ทำงานกะกลางคืน โดยรบกวนช่วงเวลานอน หลังจาก 3 วัน ความสามารถในการจัดการกลูโคสในตอนเย็นยิ่งแย่ลง และมีสัญญาณบ่งบอกของภาวะดื้ออินซูลิน ช่วยอธิบายว่าทำไมคนทำงานกะกลางคืนถึงมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
สุดท้ายนี้ครับ หาบทความนี้มีประโยชน์ โปรดให้ดาวแก่ผู้เขียนเพื่อเป็นกำลังในใจการหาสิ่งดีๆมานำเสนอต่อไป และขอให้ผู้อ่านทุกคนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงครับ