นางละคร(รำ) ในสมัยอยุธยาถึงกรุงรัตนโกสินทร์
นางละคร(รำ) ในสมัยอยุธยาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ | Thailand 🇹🇭
ภาพจิตกรรมพระนางสมัยรัชกาลที4 วัดบวรนิเวศวิหาร
1เพศของละคร นั้นแต่อยุธยาเป็นต้นมา ละครหลวงของกษัตริย์ถึงจะมีแต่ละครผู้หญิง
สมัยปลายอยุธยาละครเจ้านคร(ศรีธรรมราช)หัดละครผู้หญิงอีกโรงได้จนมาฟื้นฟูละครในสมัยธนบุรี
สมัยรัชกาลที่1ทรงมีละครหลวงผู้หญิงขึ้นมาใหม่ ทรงอนุญาตละครของกรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาทมีละครผู้หญิงเท่าเทียมกัน แม้เจ้าฟ้าอิสระสุนทร(รัชกาลที่2 หัดละครผู้หญิงขึ้นทราบความก็ทรงกริ้วจนตัองเลิก ด้วยกฏมณเทียรบาลยังมีอยู่ ละครเจ้านายอื่นๆก็หัดแต่ละครผู้ชาย ดังเมื่อรัชกาลที่2ครองราชทรงแต่งอิเหนาใหม่สำหรับเล่นละครโดยเฉพราะก็ให้กรมหลวงพิทักษ์มนตรีและนายรุ่ง(อิเหนา)นายทองอยู่(บุษบา) ร่วมกันออกแบบท่ารำประกอบบทจนลงตัวงดงามดีจึงนำไปสอนละครผู้หญิงของหลวง ที่โรงละครต้นสน
กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์(รัชกาลที่3)ก็ทรงหัดโขนผู้ชายส่วนพระองค์ดังปรากฏนามครูเกษ(พระราม)เป็นโขนในพระองค์ซึ่งปรากฏเป็นครูครอบโขนละครต้นตำรากรุงรัตนโกสินทร์สืบทอดมาแต่ครูเกษผู้นี้
แม่สมัยรัชกาลที่3 ทรงยกเลิกละครของหลวงแต่ก็ไม่ได้ห้ามปรามคนให้ผู้อื่นเลิกหัด คณะละครต่างๆก็หัดละครตั้งคณะละครก็หัดละครผู้ชาย(รับงาน) เช่น เจ้าจอมมารดาอัมพา(ต้นสกุลปราโมท)ในรัชกาลที่2
นางรำยุคปัจจุบัน (Credit: วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด)
ในสมัยรัชกาลที่3ท่านก็หัดละครผู้ชาย กรมหลวงรักษ์รณเรศ(ต้นสกุลพึ่งบุญ)ก็ทรงมีละครผู้ชาย และท่านอื่นๆ มีงานสมโภชพระอารามก็มีละครมหรสพตามประเพณี
แต่ขุนนางเจ้านายหลายท่านคงแอบหัดละครผู้หญิงกันเองบ้างดูกันเองไม่เปิดเผย และอ้างว่าจะรักษาตำหรับละครหลวงแบบรัชกาลที่2ไว้ไม่ให้สูญ
พอรัชกาลที่4 ต้นรัชกาลพระนางเจ้าโสมนัสหัดละครผู้หญิงขึ้นใหม่แต่ไม่นานทรงสิ้นพระชนม์ รัชกาลที่4 จึงให้รับละครนั้นตั้งละครผู้หญิงของหลวงขึ้น ผู้ทีาลักลอบหัดละครผู้หญิงอยู่(อย่างเอิกเริก) ก็พากันกลัวกฏมณเทียรบาล จนทรงมีประกาศเรื่องยกเลิกข้อห้ามหัดละครผู้หญิงให้มีได้อย่างเสรี ห้ามแต่บังคับบุตรหญิงชายที่ไม่สมัครใจมาเป็นละครให้ได้ลำบาก(ประกาศละครเรื่องละครรัชกาลที่4)
2 อายุของคนหัดละครแต่เดิม
แต่เดิมผู้มีบรรดาศักดิ์หัดละครหรือพระมหากษัตริย์จะฝึกหัดละคร เหล่าผู้ทราบข่าวก็นำบุตรหลานไปฝากฝังถวายตัวกันตั้งแต่อายุ4-5ขวบปี ดูแต่สมัยรัชกาลที่5คณะละครนายบุศมหินทรไปแสดงยุโรปเด็กละครชื่อหนอมอายุแค่8ขวบ อายุ14-15ก็ได้เป็นเจ้าจอม หม่อมละคร(เมีย)หรือมีผู้มีบรรดาศักดิ์มาสู่ขอไปเป็นหม่อม เป็นภริยา ได้ดิบได้ดีตกทุกข์ได้ยากก็ตามแต่วาสนา จะเป็นสาวเทื้อแก่คาบ้าน17-20ปีคงอายไปทั้งบาง
3ละครแต่เก่า เครื่องแต่งกายย่อมใช้ผ้าดีมีค่ามีลวดลายนำเข้าแต่อินเดีย
เช่น ผ้าตาดผ้าเข้มขาบ อัตลัด ผ้าพิมพ์ ผ้ายก ใช้ลวดลายของผ้าเป็นสำคัญปักทับเล็กด้วยเลื่อม ใหมทองเงิน ปีกแมงทับ แล่งนมสาว ลายเล็กๆ เครื่องประดับตีลายด้วยรักสมุกปิดทอง หรือหล่อตะกั่วประดับกระจกเกรียบ สวมกำไล7-8วงใส่แหวนข้างละ4วง2มือ สวมเล็บทอง(จดหมายเหตุจีนกั๊ก สมัยรัชกาลที่3)ละครแต่เดิมตัวนางสวมรัดเกล้าเปลวทองไม่ใส่รัดเกล้ายอด
4 การแต่งหน้าละคร
ย่อมแต่งหน้านวลขาวดังหน้าหุ่นหน้าเทวดาหน้าภาพเขียน
วิธีการคือ เอาน้ำมันตานี(น้ำมันมะพร้าวเคี่ยวกับเครื่องหอมขี้ผึ้งให้เหนียว)ทาหน้าก่อน ลงแป้งฝุ่นจีนตบละเลงฝุ่นให้นวล ใช้กระดาษลิ้นจี่(สีแดงทำมาจากตัวอินจี้ เพี้ยที่เกาะต้นกระบองเพชร)มาแต่เมืองจีน ทาแก้มและแม้มมาปาก หรือปากแดงต้องกินหมากก็ได้ เขียนคิ้วด้วยขูดมิ้นหม้อ(เขม่าก้นหม้อผสมน้ำมัน) ตาเขียนด้วยเนื้อมะพร้าวแก่เผาไฟ เวลาล้างหน้าใช้มะนาวผ่าซีกล้างออก
Credit: ดร.สุรัตน์ จงดา
ละครนอกที่ใช้นักแสดงชายล้วน แสดงทั้งบทผู้หญิงและบทผู้ชาย