นักวิทย์เผยเรื่องราวของปลาทะเลแปลกๆ อาศัยอยู่บนบกได้ จนดูคล้ายสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำมากกว่าปลา
นักวิทย์เผยเรื่องราวของปลาทะเลแปลกๆ อาศัยอยู่บนบกได้ จนดูคล้ายสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำมากกว่าปลา
ที่ไหนมีน้ำ ที่นั่นย่อมมีปลา แต่อาจไม่เสมอไปหรอกนะ เพราะนักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลียได้ทำการศึกษาปลาทะเลแปลกๆที่สามารถอาศัยอยู่บนบก (ชั่วคราว) จนทำให้ปลาเหล่านี้ดูคล้ายสัตว์เลื้อยคลาน หรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำมากกว่าปลาที่ต้องอาศัยครีบในการว่ายน้ำไปมา และนั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ปลาทะเลที่อาศัยอยู่บนบกได้เหล่านี้ถูกเรียกว่า 'land fish'
รายงานระบุว่า นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ปลาเบลนนี่ (blennies) หลายร้อยสายพันธุ์ นับเป็นตระกูลปลาที่มีความหลากหลาย มีลักษณะลำตัวกลมยาวคล้ายปลาไหลหรือปลาบู่ แต่สั้นกว่ามาก ดวงตากลมโต ปากกว้าง ครีบหลังยาวต่อกันไปตลอดความยาวของลำตัว และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในช่วงล้านปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ปลาเบลนนี่ มีลักษณะของการดำรงชีวิตในแบบที่คล้ายกับ "Jack of all trades" เนื่องจากความสามารถในการใช้ชีวิตเพื่อความอยู่รอด และสิ่งนี้ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่เห็นได้ชัดเจนในวิวัฒนาการของพวกมัน เช่น การมีฟันที่เหมาะกับการกัดหรือขบหิน การขยับกรามที่ขากรรไกรได้
อย่างไรก็ดี ปลาเบลนนี่บางสายพันธุ์แทบไม่เคยโผล่ขึ้นมาเหนือผอวน้ำและบางชนิดก็สามารถอยู่บนพื้นดินได้แทบตลอดเวลา นั่นจึงทำให้นักวิทยาศาสตร์มีโอกาสพิเศษในการศึกษาวิวัฒนาการของปลาตระกูลนี้ รวมไปถึงสำรวจการเปลี่ยนแปลงการดำรงชีวิตจากน้ำไปยังดินอีกด้วย ซึ่งการศึกษานี้ได้แสดงให้เห็นว่า อาหารที่หลากหลายและพฤติกรรมที่ยืดหยุ่น สามารถช่วยให้ปลาเบลนนี่เปลี่ยนจากการอาศัยในน้ำมาสู่บกได้อย่างน่าทึ่ง
และในการศึกษานี้ทำให้ทราบว่าการรับประทานอาหารที่มีความยืดหยุ่นนั้นน่าจะทำให้ปลาเบลนนี่สามารถกระโดดขึ้นบกได้สำเร็จ แต่เมื่อออกจากน้ำแล้วปลาบกที่โดดเด่นเหล่านี้ต้องเผชิญกับข้อจำกัดของประเภทอาหารที่มีให้ จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวิวัฒนาการที่สำคัญในลักษณะทางสัณฐานวิทยา โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในฟันของพวกมัน เนื่องจากพวกมันถูกบังคับให้กลายเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเกี่ยวกับหินเพื่อหาอาหารจำพวกตะไคร่น้ำ สาหร่าย และเศษซากต่างๆ
ปลาเบลนนี่ เป็นตระกูลปลาที่มีความโดดเด่นด้วยสายพันธุ์ต่าง ๆ ที่มีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันอย่างน่าทึ่ง ในขณะที่บางตัวเป็นสัตว์น้ำ แต่บางตัวก็ใช้เวลาก็สามารถใช้เวลาทั้งบนบกและน้ำในเขตน้ำขึ้นน้ำลง เนื่องจากต้องรักษาความชุ่มชื้นเพื่อที่จะหายใจผ่านผิวหนังและเหงือก
ปลาเบลนนี่บก มีความว่องไวมาก และมีแนวโน้มที่จะปรับรูปร่างของร่างกาย เพื่อให้พวกมันมีความคล่องตัว และสามารถกระโดดได้อย่างอิสระไปตามโขดหิน ซึ่งการศึกษานี้ได้แสดงให้เห็นว่าเผ่าพันธุ์บนบกนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เพื่อให้เหมาะสมกับอาหารเฉพาะที่จำเป็นต่อการอยู่รอดบนบก
ในขณะที่ข้อมูลชี้ให้เห็นว่าการควบคุมอาหารและพฤติกรรมที่ยืดหยุ่น ช่วยให้สามารถเปลี่ยนไปสู่สภาพแวดล้อมใหม่ได้ แต่ก็ไม่สามารถยืนยันสาเหตุได้ และปลาเหล่านี้ยังคงใช้เหงือกเพื่อหายใจ แต่ครีบหางของพวกมันแข็งแรงมากจนพวกมันใช้กระโดดข้ามสิ่งกีดขวางหรือแนวโขดหินได้...