แชร์สนั่น!!ศาลาริมทางหรู แต่ใช้งานไม่คุ้มอย่างที่ชาวบ้านต้องการ
กลายเป็นประเด็นร้อน ถึงการก่อสร้าง ศาลาพักริมทาง ที่ สวยหรู แต่ไม่เข้ากับสถานที่ ในชนบท ที่ชาวบ้านผู้ใช้ทาง ต้องการใช้บังแดด บังฝน
ที่มาของเรื่องราว เอกชัย พงษ์วิเศษ ได้โพสต์ภาพและข้อความผ่านเฟซบุ๊กกลุ่ม SisaketToday ระบุว่า "ศาลาริมทาง ศรีสะเกษ-วังหิน เพื่อนเฟซคิดเช่นไร" โดยภาพดังกล่าวเป็นภาพของศาลาริมทางที่สร้างใหม่พร้อมถนน 4 เลน สายศรีสะเกษ-ขุขันธ์
(https://hilight.kapook.com/view/203241)
ต่อมาทางหน่วยงานที่ก่อสร้างก็ออกมาชี้แจง
จากกรณีที่มีผู้ถ่ายภาพศาลาที่พักริมทางรูปแบบใหม่ ริมถนน 4 เลน สายศรีสะเกษ-ขุขันธ์ โพสต์ลงในกลุ่มเฟซบุ๊ก “SisaketToday” พร้อมถามว่าเพื่อนๆ คิดอย่างไร ซึ่งมีผู้เข้าไปตั้งข้อสังเกตถึงเรื่องการการป้องกันแดดและฝน หากเทียบกับศาลาไม้ริมทางแบบเดิม
ขณะที่ชาวบ้านในพื้นที่ได้ร่วมกันบริจาคเงินระดมทุนในการก่อสร้างศาลาพักผู้โดยสารขึ้นมาเอง มูลค่า 19,000 บาท โดยมุงหลังคากระเบื้องสีแดง เพื่อให้ใช้หลบแดดหลบฝนได้ ตั้งอยู่ห่างจากศาลาที่พักแบบใหม่ออกไปไม่ไกล
วันที่ 13 มิ.ย. ที่สำนักงานโครงการก่อสร้างทางสายศรีสะเกษ-อ.วังหิน จ.ศรีสะเกษ นายสิริ สิงหรัตน์ นายช่างโยธาชำนาญงาน สำนักก่อสร้างทางที่ 2 กรมทางหลวง ผู้ช่วยนายช่างโครงการก่อสร้างทางสาย ศรีสะเกษ-อ.วังหิน จ.ศรีสะเกษ เปิดเผยว่า ถนนสายดังกล่าว สำนักสำรวจและออกแบบ กรมทางหลวง เป็นผู้ออกแบบในการก่อสร้างทั้งหมด รวมทั้งศาลาพักริมทาง ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง จำนวนกว่า 518 ล้านบาท
กรณีของศาลาพักริมทางที่เป็นกระแสวิพากวิจารณ์ในขณะนี้นั้น เป็นการออกแบบรูปแบบใหม่ และมีการก่อสร้างอยู่หลายแห่งทั่วประเทศ เพื่อให้มีความทันสมัย สวยงาม และเพื่อความมั่นคงแข็งแรงของศาลา ซึ่งอาจจะดูเล็กเนื่องจากสภาพพื้นที่เขตทางบางจุดคับแคบ
ส่วนที่ชาวบ้านมีความคิดเห็นว่าใช้ประโยชน์หลบแดดหลบฝนไม่ได้นั้น ศาลานี้เป็นการก่อสร้างตามแบบ ซึ่งตนจะได้นำเรื่องดังกล่าวเสนอไปยังสำนักสำรวจและออกแบบของกรมทางหลวง อีกครั้งหนึ่ง เพื่อพิจารณาหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมต่อไป
นายช่างโยธาชำนาญงาน กล่าวต่อไปว่า ศาลาพักริมทางรูปแบบเดิม เป็นศาลาไม้ 4 เสา หลังค่อนข้างใหญ่ แต่ด้วยระยะเวลานานหลายปี จึงเริ่มทรุดโทรมมีปลวกขึ้นทำให้ศาลาชำรุดทรุดตัวลง ประกอบกับยุคสมัยเปลี่ยนไป ทางสำนักสำรวจและออกแบบ จึงได้มีการออกแบบศาลาพักริมทางในรูปแบบใหม่ ให้ใช้งานได้นานขึ้น แข็งแรงและสวยงามมากขึ้น
ผมการการก่อสร้างก็ควรให้ใช้งานได้จริงตามสภาพพื้นที่ ศาลาทรงนี้ อยู่ใน กทม.พอได้ รอรถเมล์แปบๆ ฝนตกก็วิ่งหลบ ริมอาคารบริเวณใกล้ แต่ต่างจังหวัด ตามภาพ ยากนะ ครับ