หนีหนี้ไม่ใช่ทางออกที่ถูก ออกทางประนอมหนี้ดีกว่า
วันก่อนโพสเรื่องหนี้ผ่อนมือถือ แล้วทำเฉยไม่ผ่อน อยู่เงียบๆ สุดท้ายโดนยึดที่ดิน...
การเป็นหนี้สถาบันการเงิน เราจะหัวหมอแบบเป็นหนี้เพื่อนไม่ได้ แบบ ไม่มี ไม่หนี้ ไม่จ่าย..
ถึงหนี้ เขาก็ใช้ข้อกฎหมาย ในการสืบหาทรัพย์ยึดทรัพย์ขายทอดตลาดมาใช้หนี้ คนเดือดร้อนจะขยายวงกว้างไปถึง พ่อแม่ พี่น้อง ที่เรามีสิทธิในทรัพย์สินส่วมรวมนั้นๆ
วันนี้ผมเจอบทความดีจาก กูรูเรื่องเงินมาแบ่งปันความรู้เรื่องการประนอมหนี้กันครับ..
1. โทรไกล่เกลี่ยประนอมหนี้
เริ่มแรกดูหนี้ในบัตรว่ามีวงเงินเท่าไร สมมติว่าตอนนี้เป็นหนี้บัตร4ใบรวมเป็นเงิน 600,000 บาท จากนั้นเพื่อให้แน่ใจลองโทรไปสอบถามสถาบันการเงินของบัตรแต่ละใบว่า ต้องจ่ายขั้นต่ำเท่าไร โดยปกติส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 10 % หรือคิดเป็นจำนวนเงินคือ 60,000 บาท ที่เราต้องจ่ายต่อเดือน จากนั้นเมื่อเราทราบได้แล้วว่าต้องจ่ายต่อเดือนเท่าไร ก็โทรไปแต่ละสถาบันการเงินของบัตรเพื่อขอประนอมหนี้ โดยให้เหตุผลว่าตอนนี้กำลังประสบปัญหาการเงินทำให้เวลานี้ยังไม่สามารถจ่ายเงินขั้นต่ำตามที่ สถาบันการเงินกำหนดได้ จึงจำเป็นต้องขอลดการจ่ายลงจาก 10 เปอร์เซนต์ เหลือ 5 เปอร์เซนต์ ในช่วงระยะเวลา 5-6 เดือนนี้ เพื่อที่จะช่วยให้เราสามารถว่าแผนการแก้หนี้ได้อีกสักระยะ เพราะจะทำให้ลดค่าใช้จ่ายลงอีกประมาณ 30,000 บาท โดยการย้อมโดนปรับให้มีดอกเบี้ยเยอะมากขึ้น โดยวิธีนี้ดีกว่าการหยุดชำระ
2. อย่ากู้สินเชื่อบุคคลมาโปะหนี้บัตรเครดิต
เพราะการที่เราเป็นหนี้บัตรเครดิตจนเกิดปัญหานี้ได้นั้นเเสดงให้เห็นแล้วว่า คุณไม่มีวินัยทางการเงินที่ดี นั้นเอง การที่เราจะแก้ปัญหาด้วยวิธีนี้ ไม่สามารถนำไปปิดหนี้บัตรได้ทั้งหมดทำได้แค่ยื่นเวลาออกไปรวมไปถึงทำได้แค่เปลี่ยนเจ้าหนี้จากบัตรเครดิตไปเป็นสินเชื่อแทน นอกจากจะก้ไม่ได้แล้วเราอาจจะต้องเสียเงินมากกว่าเดิมอีกด้วย
3. หยุดใช้บัตรเครดิตรทันที
เริ่มแรกหันมาใช้เงินสดแทน แล้วเริ่มทำตารางค่าใช้จ่ายในแต่ละวันล่วงหน้า โดยใช้เงินกับสิ่งที่จำเป็นก่อน เช่นค่ากิน ค่าเดินทาง แล้วเก็บเงินไว้สำหรับชำระหนี้สิน ข้อดีของการจ่ายเงินสดคือมันทำให้เรามองเห็นเงินในกระเป๋าทำให้จะซื้อหรือจ่ายอะไรต้องกับมาคิดให้มากอีกครั้งว่าจำเป็นที่เราต้องจ่ายหรือไม่ลดปัญหาซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยได้พอสมควรนอกจากนี้ยังช่วยให้สามารถหยุดสร้างหนี้ใหม่ได้ง่ายมากขึ้นด้วย
4. หาเงินเพิ่มทุกช่องทาง
เมื่อเราเป็นหนี้สิ่งที่เราควรเร่งรีบคือการชำระหนี้ให้หมดเร็วที่สุด อย่างค้างชำระนานเกิด 3 เดือนเพื่อป้องกันการ ติดเครดิตบูโร โดยอาจจะจำเป็นต้องตัดใจขายทรัพย์สินบางอย่างที่เรามี ไม่ว่าจะเป็น รถ ที่ดิน หรือของบางอย่างที่ไม่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันหรือไม่ทำให้เราเสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น นอกจากนี้การรับงานเสริมต่างๆหรือหางานใหม่ที่มีรายได้มากขึ้นกว่าเดิม 20 – 30% เพื่อทำให้มีรายรับมายิ่งขึ้นก็เป็นทางเลือกที่ดีเพื่อให้เราสามารถรีบนำเงินไปชำระหนี้ให้หมดโดยเร็วที่สุด
5. ลดหนี้ค้างชำระแบบ “แฮร์คัต”
หากวางแผนการเงินแล้วดูทีท่าแล้วเราไม่น่าจะผ่อนไหวหรือเราจำเป็นต้องมีการหยุดชำระหนี้บัตรบางใบเพื่อไม่สามารถจ่ายหมดทุกใบได้ โดยวิธีนี้จะทำได้ก็ต่อเมื่อเราหยุดจ่ายเงินเป็นระยะเวลานานอาจจะ 6 เดือนขึ้นไป จนทำให้ เราติด เครดิตบูโร เพราะสถาบันมองว่าหนี้ของเรานั้นเป็นหนี้เน่า จนเกิดการฟ้องร้องเพื่อให้เราชำระหนี้ โดยเราจะสามารถเริ่มทำการเจรจาได้ เลยไม่จำเป็นต้องรอหมายฟ้อง หรือต่อให้ถูกศาลพิพากษาแล้ว ก็สามารถทำการเจรจาได้เช่นกัน โดยส่วนใหญ่สถาบันการเงินจะนิยมให้เราปิดบัญชีจ่ายครั้งเดียว แต่ก็สามารถที่จะขอต่อรองเจรจาเพื่อขอจ่ายเป็นงวดๆได้เช่นกัน โดยเมื่อเรามีเงินพร้อมจ่ายแล้วต้องขอหนังสือยืนยันตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ทุกครั้งไม่ใช่ชำระกับตัวแทน และต้องเก็บรักษาใบเสร็จและเอกสารยืนยันเอาไว้ทุกใบทุกรอบที่จ่าย จากนั้นควร ตรวจสอบประวัติว่าเราหลุดจากการ ติด เครดิตบูโร หรือยัง โดยวิธีนี้จะเกิดขึ้นเมื่อไม่สามารถแก้ปัญหาหนี้ได้ ถึงแม้ว่าจะเป็นวิธีดูไม่ดีเท่าไร แต่อย่างน้อยก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะเปลี่ยน “หนี้เสีย” กลับเป็น “หนี้ดี”
6. เปลี่ยนหนี้เน่าเป็นหนี้ดี
เมื่อเราจัดการปิดบัญชีหนี้แล้ว ถึงแม้ว่าตัวเราจะมีประวัติเครดิตที่ไม่ดีอยู่กับสถาบันการเงินนั้นๆแต่เราสามารถสร้างเครดิตที่ดีขึ้นเพื่อเข้าไปแทนที่ได้ เพราะถ้าเรามีวินัยดี ชำระหนี้ตรงเวลา สถาบันการเงินก็จะทำการทยอยส่งข้อมูลการชำระหนี้ใหม่ที่ดีเข้าไปแทนที่ประวัติไม่ดี เมื่อเวลาผ่านไปจะช้าหรือเร็วชึ้นอยู่กับประเภทของสินเชื่อ ข้อมูลเครดิตที่ไม่ดี ก็จะค่อยๆหายไปจากฐานข้อมูลของ สถาบันการเงิน นั้นๆ จนประวัติการเงินเรากลับมาดีอีกครั้ง ทำให้อนาคตเราก็สามารถที่จะกลับมาทำธุรกรรมทางการเงินในสถาบันการเงินนี้ได้เมื่อปกติ
7. เริ่มทำบัญชีค่าใช้จ่าย
ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นนั้นมาจากเรามอง ไม่เห็นถึงปัญหา ดังนั้นเราจึงต้อง มองเห็นปัญหา ให้ได้ก่อน โดยวิธีการมองเห็นปัญหาคือ การที่เราควรเริ่มทำ บัญชีค่าใช้จ่ายในแต่ละวัน โดยแบ่งออกเป็นรายรับ รายจ่าย แยกกัน ไม่ควรทำเป็นรายเดือนหรือรายสัปดาห์ แต่ต้องรายวันเท่านั้น เราจะมองให้ภาพรวมชัดเจนว่าเราหมดค่าใช้จ่ายไปกับอะไรบ้าง ในช่วงที่ยังเป็นหนี้ ฝั่งรายจ่ายต้องน้อยกว่าฝั่งรายรับ จากนั้นเราจะสามารถวางแผนตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปได้ง่ายมากยิ่งขึ้น บวกกับการทำบัญชีค่าใช้จ่าย จะช่วยเพิ่มวินัยทางการเงินได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
สรุปเมื่อเราเป็นหนี้สิ่งที่เราต้องรีบทำคือการจ่ายหนี้ อย่าหนีหนี้เพราะนอกจากจะไม่เป็นการแก้ปัญหาที่ถูกต้องแล้ว จะยิ่งทำให้เป็นปัญหามากกว่าเดิม ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาลองทำตามที่เราได้แนะนำไปก่อนหน้าหนี้ดูค่ะ เมื่อสถานการณ์คลี่คลาย ก็จดจำนำไปเป็นบทเรียน อย่าให้เกิดซ้ำเดิมอีก เพราะการเสียประวัติทางด้านการเงินนั้นไม่คุ้มเอาเสียเลย
บทความนี้เผื่อมีประโยชน์บ้างครับ
อ้างอิงจาก: https://www.moneyguru.co.th/credit-card/articles/เป็นหนี้บัตรเครดิต-ทำไง/