หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

กรณีศึกษา : การแพ้ยาที่สังคมต้องทำความเข้าใจ

โพสท์โดย บัวหิมะ

กรณีศึกษา : การแพ้ยาที่สังคมต้องทำความเข้าใจ

โพสต์ข่าวต้นเรื่องมีที่มาจากหลายสำนักข่าว ซึ่งใช้ข้อความที่อ้างว่าเป็น " อุทาหรณ์สำหรับคนที่ชอบซื้อยากินเอง " และหลายข้อความที่สื่อไปในแง่ที่ว่าไม่แนะนำให้ไปซื้อยามากินเอง เป็นเพราะไปซื้อยากินเองทำให้เกิดอาการแพ้ยารุนแรงแบบนี้ ข้อเท็จจริงก็คือกรณีดังกล่าวเกิดขึ้นกับผู้หญิงคนหนึ่งที่โพสต์ข้อความในเฟสบุ๊คให้ข้อมูลว่า

เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคมที่ผ่านมา เธอมีอาการปวดฟันคุดเลยไปซื้อยาแก้อักเสบ "ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) " มารับประทานเองโดยไม่ได้ปรึกษาหมอ ซึ่งรับประทานไปในวันแรกที่ซื้อมา 2 เม็ดและวันที่ 18 เช้าและเที่ยงครั้งละ 1 เม็ด

จากนั้นเริ่มสังเกตว่ามีอาการปวดตา เจ็บปาก แสบคอ กินอะไรก็ลำบากมีอาการแสบร้อน พอเริ่มทนไม่ไหวจึงได้ไปเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง หมอพิจารณาส่งต่อไปยังโรงพยาบาลที่มาความพร้อมดูแลมากกว่าเนื่องจากเป็นเคสที่ต้องดูแลใกล้ชิด

รวมระยะเวลาที่เธอต้องนอนโรงพยาบาลคือ 14 วัน โดย 7 วันต้องอยู่ในห้อง ICU เพื่อดูอาการซึ่งปัจจุบันสามารถกลับบ้านได้แล้วเหลือแต่รอยของผิวลอกและไหม้ที่รอฟื้นฟูอาการ

 

กรณีนี้คาดว่าเป็นการแพ้ยาที่เรียกว่า ภาวะสตีเวนส์ จอห์นสัน ซินโดรม และ ทีอีเอ็น (SJS-TEN) ซึ่งมักเกิดอาการหลังจากได้รับยาไปแล้วเกินกว่า 24 ชั่วโมง เป็นอาการแพ้ยาที่รุนแรงและมีโอกาสเสียชีวิตมากที่สุดส่วนมากมักพบในยากลุ่มฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยากันชัก ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) อาการแรกเริ่มจะมีตุ่มน้ำพุพองที่ใบหน้าและลำตัว มีการตายและหลุดลอกของหนังกำพร้า นอกจากนี้เยื่อเมื่อต่างๆเช่น ริมฝีปาก ทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจมีอาการอักเสบทำให้สูญเสียน้ำจากร่างกาย คล้ายกับกรณีถูกไฟไหม้

แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่ายาตัวไหนที่เราแพ้ ในกรณีที่ต้องได้ยาครั้งแรก ?

คำตอบก็คือเราไม่มีทางรู้ได้แน่ชัดครับ...

อาจจะฟังดูตกใจแต่มันเป็นแบบนั้นจริงๆ เพราะต้องบอกว่ายาทุกตัวมีโอกาสเกิดการแพ้ได้หมดแต่เปอร์เซ็นต์จะมากหรือน้อยนั้นล้วนแตกต่างกันออกไป

ยกเว้นกรณีของยาบางกลุ่มเช่น ยากันชักซึ่งพบว่าการแพ้แบบสตีเวนส์ จอห์นสัน ซินโดรม สัมพันธ์กับยีนบางชนิดในร่างกายทำให้การตรวจยีนก่อนเริ่มยาช่วยลดโอกาสแพ้ยาที่รุนแรงและการเสียชีวิตได้

ประเด็นที่อยากให้สังคมทำความเข้าใจก็คือ

1. การแพ้ยาและอาการข้างเคียงหรือที่ชอบเรียกว่า side effect นั้นต่างกัน

- การแพ้ยา (drug allergy) จะหมายถึง อาการไม่พึงประสงค์อะไรก็ตามจากยามีตั้งแต่ระดับรุนแรงน้อย เช่น การเกิดผื่นแดง ตุ่มนูน ผื่นลมพิษ ปากบวม หนังตาบวม ตลอดจนรุนแรงมาก เช่น มีภาวะหายใจไม่ออก ผิวหนังหลุดลอก ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้แล้วแต่ตัวบุคคล พันธุกรรมและโรคประจำตัว แต่การแพ้เหล่านี้จะไม่เกี่ยวกับกลไกยา ทำนายการแพ้ได้ยาก

- อาการข้างเคียงจากยา (side effect) จะเป็นผลที่เกิดจากการออกฤทธิ์ของยาโดยตรง ไม่ใช่ผลการรักษาที่เราต้องการซึ่งเกิดได้มากน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล เกี่ยวข้องกับกลไกยาและทำนายได้ว่ามีโอกาสจะเกิดสูง สามารถป้องกันและหลีกเลี่ยงได้

เช่น การรับประทานยาไอบูโพรเฟนแล้วจะแสบท้องจากการที่ยาไปรบกวนสมดุลของกระเพาะอาหาร วิธีแก้ก็คือการรับประทานยาหลังอาหารทันทีหรือกรณีของยาแก้แพ้ CPM ที่มักทำให้เกิดอาการง่วงซึ่งเราก็อาจเลี่ยงอาการนี้ได้โดยการรับประทานตอนก่อนนอน

2. การสังเกตอาการแพ้ยาด้วยตนเองและจดจำยาที่แพ้

การแพ้อาจเริ่มมีอาการได้ตั้งแต่การได้ยาครั้งแรกที่ใช้ หรือการได้ยาซ้ำเข้าไป ส่วนใหญ่การแพ้ที่สังเกตได้ชัดและง่ายมักจะมีอาการทางผิวหนัง ซึ่งมักเกิดภายใน 1-2 ชม.

การรักษาสามารถทำได้ง่ายโดยการหยุดใช้ยาหรือการให้ยาแก้แพ้โดยต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ยกเว้นกรณีที่ต้องไปโรงพยาบาลทันที เช่น เริ่มหายใจลำบาก แน่นหน้าอก มีไข้สูง ผิวหนังมีตุ่มน้ำ หลุดลอก

 

กรณีนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดขึ้นครับ บ่อยครั้งในโรงพยาบาลเองก็เกิดการแพ้รุนแรงขึ้นมาแบบนี้ได้เหมือนกัน สำคัญที่ว่าเราเองจะป้องกันตัวเองอย่างไรไม่ให้เกิดการแพ้ยาซ้ำขึ้นมาอีก

" จำยาที่แพ้ แจ้งยาที่ใช้ ให้ข้อมูลครบถ้วน "

เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำเสมอเมื่อเจ็บป่วยต้องรับการรักษาที่ไหนก็ตามไม่ว่าจะเป็น โรงพยาบาล คลินิค หรือร้านขายยา

3. การซื้อยาจากร้านยาที่มีเภสัชกรเชื่อถือได้ก็มีความปลอดภัย

บ่อยครั้งที่เรามีอาการป่วยเล็กๆน้อย การดูแลรักษาตัวเองเบื้องต้นโดยปรึกษาเภสัชกรที่ร้านยานั้นสามารถทำได้

เนื่องจากก่อนการจ่ายยาต้องมีการพิจารณาทุกครั้งถึงประวัติเดิมที่ผู้ป่วยมี เช่น โรคประจำตัว หรือยาที่แพ้ ข้อมูลเหล่านี้เป็นส่วนสำคัญที่เภสัชกรหรือแม้แต่แพทย์ก็ใช้ในการตัดสินใจก่อนทำการให้ยาใดๆก็ตาม

ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: PHARMary-ไดอารี่ อย.
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
บัวหิมะ's profile


โพสท์โดย: บัวหิมะ
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
25 VOTES (5/5 จาก 5 คน)
VOTED: baby070, เยี่ยหัว, มีร่า, Tä Köhler, ก็ไม่เล็กนะ
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
แฟนๆ กรี๊ด หนุ่มคนใหม่ของสาว "เบลล่า"..ไม่ธรรมดา ทั้งหล่อและรวย(Viganella) หมู่บ้านไม่มีแสงดวงอาทิตย์ส่องถึงเลยเกิดเหตุกำแพงปูนล้มทับคนดับหลายรายนักมวยเตะก้นสาวชูป้าย เลยโดนคนดูรุมกระทืบซูเปอร์สตาร์ที่ไม่มีงานแสดง แต่เป็นเศรษฐีระดับพันล้านเขมรอ้างกีฬายิมนาสติก มีต้นกำเนิดมาจากเขมร มีหลักฐาน ณ กำแพงนครวัด?สลอธ เคลื่อนที่ช้ามาก แต่ทำไมถึงไม่สูญพันธุ์?7 ลักษณะหน้าตาของจิ๊มิ เรื่องปกติ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
สลอธ เคลื่อนที่ช้ามาก แต่ทำไมถึงไม่สูญพันธุ์?แฟนๆ กรี๊ด หนุ่มคนใหม่ของสาว "เบลล่า"..ไม่ธรรมดา ทั้งหล่อและรวยเกิดเหตุกำแพงปูนล้มทับคนดับหลายราย(Viganella) หมู่บ้านไม่มีแสงดวงอาทิตย์ส่องถึงเลยลิงเหิมเกริมหนัก แม้แต่พระยังโดน
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ข่าววันนี้
ปิดตำนาน “แม่กิมไล้” ขนมหม้อแกงชื่อดังเมืองเพชรบุรี เสียชีวิตแล้วแร๊พเปอร์ชื่อดัง "คริส คิง" ถูกโจรยิงตายในตรอกสื่อนอกเผย "ไทยติดโควิด 1,004 ราย หลังสงกรานต์"นักมวยเตะก้นสาวชูป้าย เลยโดนคนดูรุมกระทืบ
ตั้งกระทู้ใหม่