กบแก้ว (Glass frog) ในอเมริกาใต้ มีผิวหนังโปร่งแสง ใสจนมองทะลุเห็นอวัยวะภายในได้อย่างชัดเจน
กบแก้ว (Glass frog) ในอเมริกาใต้ มีผิวหนังโปร่งแสง ใสจนมองทะลุเห็นอวัยวะภายในได้อย่างชัดเจน
ทราบกันหรือไม่ว่า กบ เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำถือกำเนิดมาแล้วราว 200 ล้านปีก่อน โดยกบส่วนใหญ่จะพบในเขตร้อน ซึ่งปัจจุบันพบแล้วกว่า 6,700 ชนิด และยังคงมีการค้นพบชนิดใหม่ขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี ประมาณ 60 ชนิดต่อปี
เมื่อเร็วๆนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบกบที่มีลักษณะโปร่งแสงเหมือนแก้วในอเมริกาใต้ ซึ่งการศึกษานี้ดำเนินการโดยทีมวิจัยที่มหาวิทยาลัยบริสตอล , มหาวิทยาลัยแม็คมาสเตอร์ในประเทศแคนาดา และมหาวิทยาลัยเดอลาสอเมริกาในประเทศเอกวาดอร์
กบแก้ว หรือ Glass frog พบได้ในพื้นที่บางส่วนของอเมริกากลางและอเมริกาใต้เท่านั้น เป็นกบที่มีลักษณะผิวหนังโปร่งแสงสีเขียว แต่มีความใสจนสามารถมองทะลุเห็นอวัยวะภายในได้อย่างชัดเจน และพวกมันมักจะวางไข่ไว้บนพุ่มไม้เหนือน้ำสะอาด
นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่ากบแก้วนั้นจะโปร่งแสงได้ดีเนื่องจากมีสีเขียว ผิวและขาที่โปร่งใสของกบแก้วจะช่วยให้มันกลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันมีจำนวนกบแก้วอยู่ราว 5,000 ตัวทั่วโลก และถือเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์
ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงของความสว่างนี้จะทำให้กบแก้วสามารถเข้าคู่กับสภาพแวดล้อมใกล้เคียง ซึ่งใกล้เคียงอาจเป็นใบไม้สีเขียวเป็นส่วนใหญ่ นี่แสดงให้เห็นถึงรูปแบบใหม่ของการปลอมตัว ที่จะช่วยป้องกันพวกมันจากการถูกล่าโดยเหล่านักล่าได้เป็นอย่างดี
'กบมีสีเขียวอยู่เสมอ แต่ดูสดใสและมืดขึ้นอยู่กับพื้นหลัง' ดร. เจมส์บาร์เน็ตต์ผู้เริ่มนำการวิจัยในฐานะนักศึกษาปริญญาเอกกล่าว