ช่วยหุ้นกู้ ช่วยคนรวย ไม่สมควร
ตามที่ทางราชการจะอุ้มหุ้นกู้ ถือเป็นสิ่งที่ไม่สมควรเป็นอย่างยิ่ง ดร.โสภณ จึงให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ ว่าความจริงเป็นอย่างไร
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2563 ได้มีประกาศราชกิจจาฯ ให้กองทุนเพื่อรักษาสภาพคล่อง ซื้อหุ้นกู้เอกชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด (https://bit.ly/2SjpMkE) โดยมีวงเงินสูงถึง 400,000 ล้านบาท โดยให้มีผลบังคับในวันที่ 29 เมษายน ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตามในความเป็นจริง หุ้นกู้มีปัญหามาก่อน เช่นมีข่าวว่า
- 13 สิงหาคม 2562 เปิดโผ 33 บจ.ขายหุ้นกู้เสี่ยงสูง พบยอดคงค้างกว่า 8 หมื่นลบ. (https://bit.ly/3aKNtc8)
- 9 ธันวาคม 2562 ธุรกิจแห่ออกหุ้นกู้ ทะลุ ‘1ล้านล้าน’ อสังหาฯแชมป์ (https://bit.ly/2KOkOIJ) ในกรณีนี้ชี้ให้เห็นว่าหุ้นกู้ของบริษัทพัฒนาที่ดินอสังหาริมทรัพย์อาจมีปัญหาใหญ่ในนอนาคต
- 17 มีนาคม 2563 “หุ้นกู้เสี่ยง” จ่อครบดีล 5 หมื่นล้าน เตือนระวัง “เรตติ้งต่ำ-ยีลด์สูง” (https://bit.ly/2KYvEMt)
- 26 เมษายน 2563 ตลาดหุ้นกู้ฝืดจัด-นักลงทุนขยาดขายไม่ออก บริษัทใหญ่หันกู้แบงก์ (https://bit.ly/2YlaZKe)
การอ้างว่าต้องช่วยคนกลุ่มนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคไวรัสโควิด-19 จึงไม่สมเหตุสมผล ถือเป็นการช่วยกลุ่มที่ไม่ได้เกี่ยวข้องหรือได้รับผลกระทบโดยตรง และใช้เงินในการนี้เป็นจำนวนมากถึง 400,000 ล้านบาท ซึ่งหากนำไปแจกกับประชาชนคนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน ก็จะแจกได้ถึง 26.6 ล้านคนเลยทีเดียว การช่วยในลักษณะนี้จึงเป็นการนำภาษีของประชาชนไปช่วยคนรวยโดยตรง เพราะคนลงทุนจะเกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน บริษัทมหาชน และนักลงทุน (ที่ไม่ใช่คนยากจนหรือประชาชนธรรมดาทั่วไป)
ทางราชการจึงควรทบทวนการซื้อหุ้นกู้เอกชนโดยอ้างว่าได้รับผลกระทบจากโควิด