ถอดบทธุรกิจที่ปรับตัวเมื่อเจอกับวิกฤตของ Covid-19
ปัจจุบันสถานการณ์ Covid-19 หรือไวรัสที่กำลังระบาดอยู่ทั่วทุกมุมโลก คุณเคยคิดมาก่อนหรือไม่ว่าโรคนี้จะเกิดขึ้น หรือคุณมีวิธีการเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์นี้หรือไม่ ไวรัสนี้ส่งผลกระทบในด้านไหนบ้าง แล้วเราจะมีวิธีที่จะปรับตัวเพื่อให้รอดจากเหตุการณ์นี้ได้อย่างไร
จากปัญหาการแพร่ระบาดของ Covid-19 นั้นทำให้ภาครัฐต้องยกระดับมาตรการควบคุมการติดเชื้อ ประกาศลดการเดินทางไปต่างประเทศ งดการประชุมและชุมนุมสังสรรค์ ปิดสถานที่ทำงานและสถานบันเทิงหลายแห่ง ร่วมถึงสถานศึกษาทุกแห่ง ทำให้ผู้บริโภคเริ่มแห่กันกักตุนสินค้าและพ่อค้าแม่ค้าโก่งราคาสินค้าไปพร้อมๆกัน
แนวโน้มทางเศรษฐกิจและผลกระทบจากกระบาดของ Covid-19
ผลกระทบต่อผู้บริโภค ตลาดและธุรกิจสื่อ
จำนวนการติดตามสถานข่าวสารผ่านทางช่องทางสื่อทั้งทางออนไลน์และทีวีสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับความบันเทิง เช่น ภาพยนตร์ ละคร และข่าวบนสื่อทีวี รวมถึงเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อที่เน้นไปที่การซื้อของออนไลน์มากขึ้น
ธุรกิจ VDO Streaming (Netflix) ซึ่งในปัจจุบันมีตำนวนบัญชีสมาชิกราว 167 ล้านคนทั่วโลก เมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นทำให้ผู้คนอยู่บ้านและให้ความสนใจใน Netflix และสมัครเข้าใช้งาน ทำให้รายได้ของ Netflix ในช่วงนี้เพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
ธุรกิจ Grocery Store
สำหรับธุรกิจร้านอาหารได้มีการเปลี่ยนแปลงคือหันไปร่วมเป็น Partner กับธุรกิจ Food delivery เพื่อส่งอาหารให้กับผู้บริโภคและปรับตัวไปตามสถานการณ์เพื่อรักษาธุรกิจของตัวเองให้อยู่รอด
ธุรกิจ Food Delivery
เห็นได้ชัดเลยว่าในช่วงนี้ธุรกิจ Food Delivery เป็นธุรกิจที่มีรายได้สูงขึ้นจากแต่ก่อนเพราะคนอยู่บ้าน และด้วยสถานการณ์ดังกล่าวทำให้คนไม่อยากออกไปเสี่ยงกับสภาพแวดล้อมภายนอก
จากผลการวิจัยล่าสุด จากธนาคารออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (ANZ Research)
การที่ประชาชนออกจากบ้านน้อยลง กิจกรรมต่างที่เคยทำปกติ เช่น การออกไปกินข้าว เช็กอินตามคาเฟ่ ออกกำลังกาย ไปสังสรรค์ รวมถึงการเที่ยวต่างจังหวัดและต่างประเทศนั้นต้องลดลง ทำให้ธุรกิจหลายแห่งต้องชะลอตัว เกิดปัญหาคนว่างงาน เศรษกิจหยุดชะงัก ตลาดหุ้นซบเซาทำให้ต้องมีการปรับตัวในเรื่องต่างๆ โดยสิ่งผู้ประกอบการในด้านอสังหาริมทรัพย์ทำอยู่นั้น คือ
- ปรับขนาด Business unit ใหม่ ลดจำนวนคนที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ออกไปก่อน
- ลดราคาขาย เพื่อสร้างกระแสเงินสด
- ขายที่ดินหรือโครงการทิ้งเพื่อลดภาระหนี้สิน
- เสนอขายสินค้าให้กับกลุ่ม Supplier แบบการันตีผลตอบแทน
ในวิกฤตครั้งนี้กลุ่มธุรกิจที่รุ่งเรือง ณ ตอนนี้ได้แก่ กลุ่มพลาสติกบรรจุภัณฑ์อาหาร, กลุ่มเวชภัณฑ์ อนามัย, กลุ่มประกันสุขภาพ และกลุ่ม Logistic ขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภค โดยมีการปรับกลยุทธ์ใหม่หมดดังนี้
- มองหาทำเลใหม่ กลุ่มลูกค้าใหม่ ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้ผลประโยชน์จาก Covid-19
- ปรับผลิตภัณฑ์และราคาใหม่ ให้เหาะกับกำลังซื้อของคนในพื้นที่นั้นๆ
- เพิ่มช่องทางการขายผ่านสื่อออนไลน์มากขึ้น หรือการขายตรงที่โรงงานและสำนักงานอย่างเดียว
สรุปแล้วในสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ที่กำลังระบาดอยู่ในตอนนี้ ไม่มีธุรกิจไหนที่คาดคิดมาก่อนว่าจะหนักขนาดนี้ ผู้คนตกงานนับไม่ถ้วน แต่ถึงกระนั้นเมื่อปัญหาเกิดขึ้น หลายๆธุรกิจก็หาโซลูชั่นให้ธุรกิจตัวเองจากที่แต่ก่อนขายที่หน้าร้านอย่างเดียวไม่ต้องพึ่งช่องทางออนไลน์ ณ ตอนนี้ คงไม่ได้อีกต่อไปแล้ว ถ้าคุณอยากให้ธุรกิจไปต่อ จึงทำให้เห็นว่า การขายหน้าร้านแม้จะซบเซาและปิดตัวลง แต่ช่องทางออนไลน์กลับคึกคัก เมื่อผู้คนไม่ออกจากบ้าน สิ่งที่จะเป็นสะพานเชื่อมระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคก็เห็นว่าจะเป็นช่องทางออนไลน์นี้แหละ เจ้าของกิจการต่างก็หันมาลงเงินและใช้เงินไปกับการโฆษณาทางออนไลน์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำแคมเปญ หรือทำโฆษณาผ่านทางเว็บไซต์และสื่อโซเชียลอื่นๆมากขึ้น
บทความโดย - Yes Web Design Studio
บริการออกแบบเว็บไซต์ในกรุงเทพฯ - นักออกแบบเว็บไซต์ในประเทศไทย - ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเว็บไซต์
ต้องที่นี่เท่านั้น Yes Web Design Studio