ใครรักชาติมากกว่ากัน คำกล่าว “จุลเจิม ยุคล”
เมื่อเร็วๆ นี้มีวิวาทะระหว่าง พล.อ.ม.จ.จุลเจิม ยุคล กับ คุณจาตุรนต์ ฉายแสง โดย ท่านจุลเจิมกล่าวว่าตนรักชาติมากกว่า ข้อนี้เป็นกรณีศึกษาเกี่ยวกับความรักชาติ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าใครรักชาติมากกว่าใคร คนที่มีเชื้อเจ้า จะรักชาติมากกว่าจริงหรือไม่ ความรักและการแทนคุณชาติเป็นอย่างไร
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) กล่าวถึงวิวาทะนี้ ซึ่งเป็นข่าวว่า “ม.จ.จุลเจิม สวน อ๋อย 'ผมรักชาติมากกว่าคุณ' หลังโพสต์ปมคนไทยหนีกักตัว” (https://bit.ly/3aTkNi3) โดยท่านจุลเจิมเขียนว่า “. . .เป็นคนไทยคนหนึ่ง ที่อาจจะรักประเทศไทยมากกว่าคุณ (จาตุรนต์) และผมก็กลัวโรคร้ายอันตรายที่หนักที่สุดในรอบ 100 ปีของประเทศ. . . อาจจะไม่เข้าใจ ถ้าอ่านหนังสือไม่เกิน 8 บรรทัดครับ ช่วงเวลานี้ เราควรจะสามัคคี ต่อสู้กันเพื่อให้ประเทศเราพ้นวิกฤติกันดีกว่า มาบ่อนทำลายน้ำใจกัน. . .”
ดร.โสภณ พรโชคชัย จึงขอวิพากษ์ความเห็นดังกล่าวดังนี้:
1. เราไม่ควรกล่าวอ้างว่าตนรักชาติมากกว่า การมีเชื้อเจ้า ไม่ได้เป็นข้อพิสูจน์ ในประวัติศาสตร์มีกรณี “สนิมเหล็ก” มากมาย ในยาม “สิ้นชาติ” แบบอินโดจีน คนชั้นสูงหนีไปก่อน คนที่อยู่กอบกู้บ้านเมืองคือสามัญชน
2. โควิดไม่ใช่ร้ายแรงสุดในรอบ 100 ปี ยังมีไข้หวัดใหญ่ วัณโรคที่ทำคนไทยป่วยนับแสนและตายมากกว่า นี่คือข้อมูลจริงที่พึงทราบ โควิดก็แค่โรคอุบัติใหม่ที่รักษาหายได้ รู้ไหมคนจีน 96% ที่เคยป่วยก็หายแล้ว
3. เพื่อความสามัคคีของคนในชาติไม่ควรดูหมิ่น/พูดส่อเสียดว่าผู้อื่นอ่านหนังสือแค่ 8 บรรทัด ยิ่งคนมีอายุและมีเชื้อเจ้า ยิ่งไม่ควรกล่าวเช่นนี้
ดร.โสภณ กล่าวว่าคนเรามักเข้าใจว่าโรคโควิด-19 นี้ร้ายแรงที่สุด ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด จึงควรแจกแจงให้ชัดเจน และความสร้างความสมานฉันท์ ไม่ถึงขนาดวิพากษ์ใครว่ารักชาติน้อยกว่าหรือมากกว่าใคร
ที่มา: https://www.facebook.com/dr.sopon4/photos/a.330671633712096/2732814853497750/?type=3&theater
ผู้แถลง:
ดร.โสภณ พรโชคชัย (sopon@area.co.th) ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA (www.area.co.th): ซึ่งเป็นองค์กรที่มีฐานข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ภาคสนามขนาดใหญ่ที่สุดและปรับปรุงให้ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย และดำเนินการเก็บข้อมูลต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ.2537 เป็นศูนย์ข้อมูลที่มีความเป็นกลางทางวิชาการ และเป็นอิสระทางวิชาชีพ โดยไม่ถูกครอบงำโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใด ๆ สมาชิกของศูนย์ข้อมูลฯ ได้รับข้อมูลที่เป็น First-hand information ในเวลาเดียวกัน