สมัยโบราณหากจะสร้างพระนครหรือสร้างบ้านสร้างเมืองจะต้องมีพิธีกรรมใหญ่ที่เป็นเคล็ดจำต้องทำ คือการฝังอาถรรพ์ทั้ง 4 ประตูเมือง หรือฝังเสาหลักเมือง
การฝังเสาหลักเมืองหรือเสามหาปราสาทจะต้องเอาคนที่มีชีวิตมาฝังลงในหลุมทั้งเป็น เพื่อให้เป็นผู้เฝ้าทวารป้องกันศัตรู ป้องกันมิให้มีโรคภัยไข้เจ็บกับเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ผู้ครองบ้านเมือง ซึ่งการทำพิธีกรรมนี้ต้องเอาคนที่มีชื่อว่า อิน จัน มั่น คง มาฝังลงหลุมจึงจะถือว่าศักดิ์สิทธิ์ เมื่อถึงเวลาเรียกหาคนชื่ออิน จัน มั่น คง ใครโชคร้ายขานรับขึ้นมาจะถูกนำตัวไปฝังในหลุม เมื่อถึงวันพิธีจะเลี้ยงดูทั้ง 4 คนให้อิ่มหนำสำราญ จากนั้นก็จะแห่แหนนำไปที่หลุม พระมหากษัตริย์จะมีรับสั่งให้คนทั้งสี่เฝ้าประตูเมืองไว้ และให้แจ้งข่าวให้รู้ทั่วกัน บนหลุมเสาหลักเมืองนั้นจะผูกเสาคานใหญ่ชักขึ้นเหนือหลุมในระดับสูงพอควรและโยงไว้ด้วยเชือก 2 เส้น เมื่อคนมาอยู่ในหลุมก็จะตัดเชือกปล่อยให้เสาหรือซุงหล่นลงมาบนศีรษะผู้เคราะห์ร้ายให้บี้แบนอยู่ในหลุม คนไทยเชื่อว่าผู้เคราะห์ร้ายเหล่านี้จะกลายเป็น "อารักษ์" ที่เรียกว่า "ผีราษฎร"
กรณีนี้ในสมัยก่อนตามบ้านขุนนางผู้ใหญ่หรือคหบดีก็ทำกับทาสของตนเพื่อใช้ให้เป็นผีเฝ้าทรัพย์ที่ตนฝังเอาไว้ ในประเทศพม่าเองเมื่อครั้งสร้างราชธานีใหม่ก็ทำเช่นั้น
คือฝังอาถรรพ์โดยใช้คนเป็นๆถึง 52 คน เฝ้าประตูเมือง ประตูละ 3 คน 12 ประตู 36 คน และยังใต้พระที่นั่งในท้องพระโรง ซึ่งต้องฝังอีก 4 คน คนที่ถูกนำมาฝังทั้งเป็นเพื่อเป็นผีคอยรักษาเมืองและพระราชวังนั้นต้องเลือกให้ได้ลักษณะตามที่โหรกำหนด คือไม่ใช่นักโทษที่ต้องโทษประหาร แต่จะเป็นคนในวัยต่างๆกัน มีตั้งแต่เด็ก คนมีอายุทั้งหญิงและชาย ทุกคนต้องมีฐานะดี เป็นที่ยกย่องในกลุ่มชน และต้องเกิดตามฤกษ์วันเวลาที่โหรกำหนด ถ้าเป็นชายต้องไม่มีรอยสัก ผู้หญิงไม่เจาะหู เมื่อสั่งเสียร่ำลาญาติพี่น้องแล้ว ก็จะถูกนำตัวไปลงหลุม และญาติพี่น้องก็จะได้รับพระราชทานรางวัล
การฝังคนทั้งเป็นให้เฝ้าสมบัตินี้ เคยเล่าให้ฟังถึงเพื่อนของผู้เขียนคนหนึ่งซึ่งเป็นผู้มีสัมผัสพิเศษ
เขามีประสบการณ์ได้เห็นเหตุการณ์นี้แวบเข้ามาในหัวขณะขับรถจะกลับบ้าน ซึ่งต้องผ่านบริเวณคูเมืองโบราณบริเวณแหล่งประวัติศาสตร์เมืองโบราณคูบัวของจังหวัดราชบุรี เขาเห็นภาพพิธีกรรมที่มีชายคนหนึ่งอยู่ในหลุม และมีผู้กำลังใช้ดินกลบหลุมนั้นท่ามกลางสายตาของผู้ที่อยู่ในพิธีมากมาย ที่น่าแปลกคือชายผู้นั้นไม่มีอาการวิตกใดๆเลย เขาหลับตาพนมมือทำปากขมุบขมิบคล้ายสวดมนต์หรือบริกรรมคาถาบทใดบทหนึ่งอยู่ เวลานั้นเขา "รู้" ได้ทันทีว่านี่คือพิธีกรรมฝังคนทั้งเป็นเพื่อเฝ้าสมบัติ แสดงให้เห็นว่าพิธีกรรมดังว่านี้มีจริงๆ ซึ่งบริเวณแหล่งประวัติศาสตร์นี้ปัจจุบันก็ยังมีรูปปั้นของปู่โสมเฝ้าทรัพย์อยู่ด้วย และยังมีผู้ที่พบเห็นดวงวิญญาณของท่านอยู่เนืองๆ
สำหรับศาลหลักเมืองในกรุงเทพฯนั้นรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ทรงเป็นองค์ประธานในการทำพิธีฝังตามคัมภีร์ของคนไทยที่ชื่อว่าคัมภีร์พระนครฐาน และการทำพิธีครั้งนั้นเล่ากันมาว่าเกิดอาถรรพ์ประหลาดจนเป็นที่มาของการทำนายดวงประเทศนับแต่นั้น
คือเมื่อได้ฤกษ์จะทำพิธีอัญเชิญเสาหลักเมืองลงสู่หลุมขณะที่เจ้าหน้าที่ยิงปืนใหญ่เป็นมหาพิชัยฤกษ์ก็ได้เกิดสิ่งมหัศจรรย์โดยปรากฏมีงูตัวเล็ก 4 ตัวลงไปอยู่ในหลุม ซึ่งทุกคนที่อยู่ในพิธีมาเห็นก็เมื่อเคลื่อนเสาหลักเมืองลงไปในหลุมแล้ว โดยที่ก่อนจะยกเสาก็มองไม่เห็นว่าในหลุมจะมีงูลงไปอยู่ จึงต้องปล่อยเลยตามเลย งูทั้ง สี่จึงตายอยู่ภายในก้นหลุมนั้น
เหตุการณ์นี้ทำให้รัชกาลที่ 1 ทรงพระวิตกเป็นอันมาก ทรงเรียกประชุมเหล่าปู่โรหิต พระราชาคณะ และผู้รู้
มาร่วมวิจารณ์ถึงเหตุการณ์ในครั้งนี้ว่าจะเป็นมงคลนิมิต หรืออวมงคลนิมิต บรรดาโหรผู้รู้ต่างก็ให้ความเห็นสอดคล้องกันว่าเป็นอวมงคลนิมิต แต่ไม่สามารถชี้ลงไปได้ว่าผลจะปรากฏออกมาในทำนองใด โดยลงความเห็นว่างูเล็กทั้งสี่นี้เป็นมูลเหตุนำความอวมงคลมาสู่บ้านเมือง จนทำให้รัชกาลที่ 1 ทรงทำนายเหตุการณ์บ้านเมืองนับจากวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2325 เป็นต้นไปว่าระบอบการปกครองของไทยจะต้องเปลี่ยนโดยระบอบราชาธิปไตยมีอีก 150 ปี ก็จะหมดยุค เพราะงูนั้นในสมัยโบราณทั้งโหราจารย์หรือพระมหากษัตริย์จะทราบว่ามันบอกถึงการสิ้นสุดของระบอบราชาธิปไตย และยังบอกว่าการสิ้นสุดของระบอบนั้นจะเกิดจากการถือกำเนิดของเชื่อพระวงศ์ 4 พระองค์ของกรุงรัตนโกสินทร์ และเหตุการณ์ก็เกิดขึ้นจริง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 เป็นวันที่ครบ 150 ปีจากวันที่ฝังเสาหลักเมือง
ช่วงเวลานั้นมีเจ้านาย 4 พระองค์ เป็นผู้รับผิดชอบบริหารบ้านเมืองคือพระมหาสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิจ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินทร ซึ่งน่าประหลาดที่ทุกพระองค์มีพระราชสมภพในปีเดียวกัน ทั้ง 4 พระองค์คือปีมะเส็ง และดูเหมือนเจ้าฟ้าทั้ง 4 พระองค์จะรู้ถึงคำทำนายนี้มาก่อนจึงได้ร่วมกันทำบุญแก้เคล็ด หรือสะเดาะเคราะห์ โดยสร้างตึกขึ้นมา 1 หลัง เรียกว่า "ตึก 4 มะเส็ง" ที่บริเวณโรงพยาบาลจุฬาฯ หรือสถานเสาวภาในปัจจุบัน ตึก 4 มะเร็งนี้ใช้เป็นสถานที่สำหรับเลี้ยงงูพิษ ปลามีพิษ สัตว์และแมลงมีพิษต่างๆ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป
แต่ไม่ว่าจะแก้ไขอย่างไร สุดท้ายก็ยังเกิดจนได้ นี่คงเป็นอาถรรพ์ของดวงชะตาเมืองที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และไม่ว่าจะเกิดเหตุใดๆขึ้นกับการปกครองของไทย ผู้ที่ทำนั้นว่ากันว่าจะพบกับความฉิบหาย เพราะในการฝังเสาหลักเมืองครั้งนั้นได้ทำการฝังอาถรรพ์ไว้ทั้ง 4 มุมเมือง และยังมีพระสยามเทวาธิราชอันศักดิ์สิทธิ์คอยปกปักคุ้มครอง
เสาหลักเมืองเดิมครั้งรัชกาลที่ 1 คือต้นสูง ที่ได้ทำพิธีถอนเสาแล้ว แต่หาที่เก็บที่เหมาะสมไม่ได้จึงคงไว้ แกนในเป็นเสาไม้ชัยพฤกษ์ มีไม้จันทน์ประดับนอก ลงรักปิดทอง หัวเสาเป็นทรงบัวตูม ภายในกลวงสำหรับบรรจุชะตาพระนคร ดวงนี้อยู่ใจกลางยันต์สุริยาทรงกลด จารึกในแผ่นทอง เงิน นาก ส่วนเสาพระหลักเมืองครั้งรัชกาลที่ 4 คือต้นที่มีส่วนสูงทอนลงมา (ขวามือ) แกนในเป็นเสาไม้สัก มีไม้ชัยพฤกษ์ประดับนอก หัวเสาเป็นรูปยอดเม็ดทรงมัณฑ์ เป็นต้นที่สถิตประทับของพระหลักเมือง
เราลืมกันไปหมดแล้วใช่มั้ยว่า “วันนี้” สำคัญอย่างไรและก็คงไม่เสมอไปนักหรอกที่จะมีใครยกเอาเรื่องราวเก่าๆ ของ “วันนี้” มาเล่าให้ฟังกันใหม่…แต่ในฐานะที่เราทั้งหลายเป็นคนไทยที่เกิดมาในแผ่นดินก็ควรจะได้จดจำเรื่องอัน “เจ้าแผ่นดิน” แต่เดิมท่านสร้างไว้แบบ “บูรณาการ” บ้าง
ให้พอได้ภูมิใจที่เกิดมาในประเทศที่มี “ราก” ไม่ได้ยกพวกไปไล่ยิงยึดที่ดินเขาเอามาเป็น “สหรัฐ” อย่างเย่อหยิ่งเหมือนชาติอะไรที่ใหญ่โตคับโลกแต่ไร้รากประเทศนั้น…
วันนี้วันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2325 เป็นวันที่ถือว่าเป็นวันเกิดของกรุงรัตนโกสินทร์
เป็นวาระทำพิธีวางฤกษ์อย่างใหญ่โตตามพิธีสร้างเมือง วันนี้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งทรงเป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยมหาสมณะชีพราหมณ์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ในยุคต้นราชวงศ์เข้ามาร่วมทำพิธีกันเป็นเวลา 4 วัน 4 คืน
#อุบัติการณ์กรุงเทพฯ
วันนี้ในปี พ.ศ.2325 เกิดอาถรรพณ์มีคำบอกกล่าวกันมาว่าที่หลุมฝังเสาหลักเมืองนั้นจะต้องฆ่าคนที่มีชื่อตามโฉลก คือ อิน, จัน, มั่น, คง เพื่อทำหน้าที่รักษาเมืองให้มีความรุ่งเรือง แต่ในหลุมฝังเสาหลักเมืองวันนั้นไม่มีคนที่มีชีวิตถูกนำไปสังเวยไว้ในหลุมตามที่เล่าลือถึงเวลากลบเสาแล้วจึงปรากฏว่างูเล็ก 4 ตัวเลื้อยอยู่ที่ก้นหลุม โดยไม่มีทางแก้ไขอะไรได้ เพราะพิธีการต่างๆ ได้กระทำเสร็จสิ้นแล้ว จำเป็นต้องกลบดินลงไปจน
ปรากฏการณ์นั้นเป็นเรื่องอาถรรพณ์…ที่เกิดขึ้นเพื่อเป็นลางบอกเหตุการณ์ซึ่งเรื่องราวในวันนั้นได้ถูกบันทึกไว้ใน จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวีราชธิดาในพระพุทธยอดฟ้าความว่า
“ณ วันอาทิตย์ เดือน 7 ขึ้น 1 ค่ำ ปีระกาเอกศก เวลาบ่าย 3 โมง 6 บาท อสุนีบาติพาดสายตกติดหน้าบันมุขเด็จเบื้องทิศอุดร ไหม้ตลอดทรงบนปราสาท ปลายหักฟาดลงพระปรัสซ้ายเป็นสองซ้ำลงซุ้มพระทวารแต่เฉพาะไหม้
ความนี้หมายถึงฟ้าผ่ายอดพระที่นั่งอมรินทร์วินิจฉัย-ครั้งนั้นพระโองการตรัสว่า เราได้ยกพระไตรปิฎก เทวาให้โอกาสแก่เรา ต่อเสียเมืองจึงเสียปราสาท ด้วยชะตาเมืองคอดกิ่วใน 7 ปี 7 เดือน เสร็จสิ้นพระเคราะห์เมือง จะถาวรลำดับกษัตริย์ถึง 150 ปี”
รายละเอียดอธิบายเรื่องนี้คือ
“…ได้เกิดอวมงคลนิมิตขึ้น คือเมื่อถึงมหาพิชัยฤกษ์อัญเชิญเสาลงสู่หลุม ปรากฏว่ามีงูเล็ก 4 ตัวเลื้อยลงหลุมในขณะเคลื่อนเสา จึงจำเป็นต้องปล่อยเลยตามเลย โดยปล่อยเสาลงหลุมและกลบงูทั้ง 4 ตัวตายอยู่ภายในก้นหลุม เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงทำนายชะตาเมืองว่าจะอยู่ในเกณฑ์ร้ายนับจากวันยกเสาหลักเมืองเป็นเวลา 7 ปี 7 เดือน จึงสิ้นพระเคราะห์ ทั้งยังทรงทำนายว่า จักดำรงวงศ์กษัตริย์สืบไปเป็นเวลา 150 ปี
ชะตาแผ่นดินที่ร้ายถึงเจ็ดปีเศษนั้น เป็นช่วงที่ไทยติดพันศึกพม่าจนถึงศึกเก้าทัพ ซึ่งสิ้นสุดการสงครามหลังครบห้วงเวลาดังกล่าว…ส่วนคำทำนายว่าจักดำรงวงศ์กษัตริย์สืบไป 150 ปีนั้น ไปครบเอาปี พ.ศ.2475 ซึ่งเป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองพอดี”
เพียงแต่มิได้สิ้นการดำรงราชวงศ์
ล้างอาถรรพณ์กรุงเทพฯ
เหตุเพราะพอถึงสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดฯ ให้ขุดเสาหลักเมืองเดิมขึ้นมา และจัดสร้างเสาหลักเมืองใหม่ขึ้นแทนของเดิม อาจเพราะทรงก็ไม่รู้ว่าเป็นเพราะพระองค์ท่านประสงค์ที่จะแก้อาถรรพณ์เสาหลักเมืองสมัยรัชกาลที่ 1 หรือเพื่อ “ผูกดวงชะตาพระนครขึ้นปีใหม่ให้ต้องตามดวงพระราชสมภพ และให้บ้านเมืองเจริญยิ่งขึ้น”
อีกทั้ง “เมื่อมีการขุด ย้ายและประดิษฐานเสาหลักเมืองอันเป็นสัญลักษณ์ของดวงชาตาเมืองอีกครั้งในรัชสมัยปัจจุบันและในปี 2529 เชิญเสาหลักเมืองลงประดิษฐาน “คู่กัน” ในศาลหลักเมือง โดยเป็นผลจากการที่พระพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำริในปี 2525 ที่มีการเฉลิมฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ครบ 200 ปี ให้ปฏิสังขรณ์ศาลหลักเมืองใหม่ เมื่อบูรณะซ่อมแซมเสร็จ จึงได้เชิญเสาหลักเมืององค์เดิมสมัยรัชกาลที่ 1 มาประดิษฐานคู่กับเสาหลักเมืองสมัยรัชกาลที่ 4 ตามพระราชดำรินั้น
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย พระองค์เดียวกันกับที่เขมรนำไปอ้างกับศาลโลกเมื่อ 2 วันก่อนว่าเคยไปเยือนปราสาทพระวิหารแล้วไม่ทรงแย้งกับฝรั่งเศสเจ้านายของเขาเวลานั้นนั่นแหละพระองค์ทรงอธิบายเรื่องเสาหลักเมืองไว้ในหนังสือวงวรรณคดี ฉบับเดือนเมษายน พ.ศ.2491 ตอนหนึ่งว่า
“หลักเมือง” เป็นประเพณีพราหมณ์ มีมาแต่อินเดีย ไทยตั้งเสาหลักเมืองขึ้นตามธรรมเนียมพราหมณ์ ที่จะเกิดหลักเมืองนั้น คงจะเป็นด้วยประชุมชน ประชุมชนนั้นต่างกัน ที่อยู่เป็นหมู่บ้านก็มี หมู่บ้านหลายๆ หมู่รวมกันเป็นตำบล ตำบลตั้งขึ้นเป็นอำเภอ อำเภอนั้นเดิมเรียกว่าเมือง เมืองหลายๆ เมืองรวมเป็นเมืองใหญ่ๆ เมืองใหญ่ๆ หลายๆ เมืองรวมเป็นมหานคร คือเมืองมหานคร
ตัวอย่างหลักเมืองเก่าแก่ที่สุดในสยามประเทศนี้ก็คือ หลักเมืองศรีเทพ ในแถบเพชรบูรณ์ ทำด้วยศิลาจารึกอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานบัดนี้ เรียกเป็นภาษาอินเดียในสันสกฤตว่า “ขีล” (แปลว่า เสาหรือตะปู) เป็นมคธว่า “อินทขีล” แปลว่า “เสาหรือตะปูของพระอินทร์ (หรือผู้เป็นใหญ่)” หลักเมืองศรีเทพทำเป็นรูปตาปูหัวเห็ด หลักเมืองชั้นหลังคงทำด้วยหินบ้างไม้บ้าง
เสาหลักเมืองที่กรุงเทพฯ ทำด้วยไม้ ได้ตั้งพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ฤกษ์ เวลาย่ำรุ่งแล้ว 54 นาที ตรงกับปีขาลจัตวาศก จุลศักราช 1144 พ.ศ.2325 หลักเมืองนี้ เดิมทีมีหลังคาเป็นรูปศาลา มาถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงก่อสร้างและปรับปรุงถาวรวัตถุต่างๆ โปรดฯ ให้ยกยอดปรางค์ต่างๆ ตามแบบอย่างศาลที่กรุงเก่า และที่ศาลเสื้อเมือง ทรงเมือง ศาลพระกาฬและศาลเจตคุปต์ เดิมหลังคาเป็นศาลา ก็โปรดฯ ให้ก่อปรางค์เหมือนศาลเจ้าหลักเมือง…”
#รากวัฒนธรรม
จากพระนิพนธ์นี้ทำให้เราทราบว่า ประเพณีการตั้งเสาหลักเมืองมาจากประเพณีพราหมณ์ ซึ่งรุ่งเรืองอยู่ในชมพูทวีปตั้งรากฐานวัฒนธรรมที่เมืองนครศรีธรรมราช จนกระทั่งประเพณีพราหมณ์เผยแพร่ขึ้นมาสู่เมืองสุโขทัยและเจริญรุ่งเรืองสืบต่อมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา แม้แต่ในสมัยปัจจุบันนี้ก็ตาม ประเพณีพราหมณ์หลายอย่างยังเกาะอยู่ในรากวัฒนธรรมของเราอย่างแน่นเหนียว
เพราะศาสนาพราหมณ์ หรือ ศาสนาฮินดู นี้ ได้เจริญรุ่งเรืองมาก่อนพระพุทธศาสนา ชาวไทยเราซึ่งนับถือพระพุทธศาสนา ก็ยังรับพิธีพราหมณ์หลายอย่างมาปฏิบัติปะปนกัน แม้การพระราชพิธีของเราก็เป็นประเพณีพราหมณ์แทบทั้งสิ้น
เช่นกันกับการตั้งเสาหลักเมือง เมื่อจะมีการสร้างเมืองขึ้นใหม่นั่นเอง ถึงแม้ว่าธรรมเนียมการตั้งเสาหลักเมือง จะเป็นพิธีทางศาสนาพราหมณ์ก็ตามที แต่ชาวไทยเราก็ได้ปฏิบัติกันมาจนแทบจะกลายเป็นประเพณีไทยไปแล้ว ดังจะเห็นว่า เมื่อแรกจะสร้างกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ.1893 นั้น สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือ พระเจ้าอู่ทอง ก็โปรดฯ ให้มีพิธีกลบบัตรสุมเพลิง เพื่อตั้งเสาหลักเมือง และในการขุดดินปฐมฤกษ์ตรงใต้ต้นหมันนั่นเอง พราหมณ์ผู้ประกอบพิธีขุดพบหอยสังข์สีขาว จึงถือเป็นมงคล และได้ถือหอยสังข์กับปราสาทและต้นหมัน เป็นสัญลักษณ์ของกรุงศรีอยุธยาเรื่อยมาจนกระทั่งทุกวันนี้
กลับมาสู่ในพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ในฉบับหอสมุดแห่งชาติ ยังมีคำบอกเล่าเรื่องราวที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงสถาปนากรุงเทพฯ ขึ้นเป็นนครหลวงแห่งใหม่ ก็ได้กล่าวถึงการตั้งเสาหลักเมืองกรุงเทพฯ ไว้ตอนหนึ่งว่า
“…จึงดำรัสสั่งให้พระยาธรรมาธิกรณ์ กับ พระยาวิจิตรนาวี เป็นแม่กองคุมช่างและบ่าวไพร่ ไปกะที่สร้างพระนครใหม่ข้างฝั่งตะวันออก ได้ตั้งพิธียกเสาหลักเมือง ณ วันอาทิตย์เดือนหกขึ้นสิบค่ำ ฤกษ์เพลาย่ำรุ่งแล้ว 54 นาที่…”
ในปลายเสาหลักเมือง ซึ่งมักจะทำเป็นหัวเม็ดทรงมัณฑ์นั้น เขาจะบรรจุดวงชะตาของเมืองที่จะสร้างขึ้นใหม่ไว้ด้วย การวางชะตาเมืองนี้เป็นเรื่องสำคัญทีเดียว ซึ่งโหรหลวงจะต้องผูกชะตาเมืองถวาย พร้อมกับทำนายเหตุการณ์บ้านเมืองล่วงหน้าไว้
#ทรงเลือกเอกราช
เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดฯ ให้โหรผูกชะตาเมืองกรุงเทพฯ ที่จะสร้างขึ้นใหม่นั้น โหรหลวงได้ทูลเกล้าฯ ถวายดวงเมือง 2 แบบคือดวงเมืองแบบหนึ่ง บ้านเมืองจะเจริญรุ่งเรือง ไม่มีเหตุวุ่นวาย แต่ทว่าจะต้องมีอยู่ระยะหนึ่ง ที่ประเทศไทยต้องตกเป็นเมืองขึ้นของต่างชาติ
ส่วนอีกดวงเมืองหนึ่งนั้น ประเทศไทยจะมีแต่เรื่องยุ่งวุ่นวายไม่มีที่สิ้นสุด แต่ทว่าจะสามารถรักษาเอกราชได้ตลอดไป
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเลือกดวงเมืองตามแบบหลัง เพราะพระองค์คงจะทรงเห็นว่าการที่จะต้องตกไปเป็นเมืองขึ้นของชาติอื่นนั้น แม้บ้านเมืองจะเจริญรุ่งเรืองแค่ไหนก็ไม่มีความหมายอันใด เมื่อสิ้นความเป็นไทย
…แน่นอนว่าลูกหลานเหลนในวันนี้ต้องมีเห็นต่าง…
แม้พบแล้วก็ตามว่าเป็นเรื่องน่ามหัศจรรย์อยู่ไม่น้อย ที่ในสมัยในรัชกาลที่ 4-5 นั้น บ้านเมืองต่างๆ โดยรอบประเทศไทย ไม่ว่าลาว เขมร พม่า มลายู ต่างตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสและอังกฤษจนหมดสิ้น แม้แต่ประเทศใหญ่อย่างอินเดีย ก็ยังตกเป็นของอังกฤษ มีแต่ประเทศไทยเพียงประเทศเดียวเท่านั้นที่รักษาเอกราช คงความเป็นไทยมาตลอด
รูปลักษณ์ของเสาหลักเมืองกรุงเทพฯ นั้น เสาเดิมจะเป็นอย่างไร ก็คงไม่มีใครเคยเห็น เพราะเหตุว่าได้มีการเปลี่ยนเสาหลักเมืองกรุงเทพฯ เมื่อสมัยรัชกาลที่ 4 เสาหลักเมืองที่เปลี่ยนใหม่ ทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ต้นใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 30 นิ้ว สูง 108 นิ้ว ตรงปลายเสาทำเป็นรูปหัวเม็ดทรงมัณฑ์ บรรจุดวงชะตาของกรุงเทพฯ ไว้ภายในดังเดิม
แต่สิ่งที่ไม่เป็นเช่นเดิมดังพิธีพราหมณ์ในอินเดียคือความเชื่อที่ว่า เพื่อให้หลักเมืองศักดิ์สิทธิ์และเฮี้ยน มักจะมีการนำคนมาฝังทั้งเป็นพร้อมกับการตั้งเสาหลักเมืองด้วย (เหมือนกับประเพณีบูชายันต์ของศาสนาพราหมณ์ในอดีต ที่ให้ฆ่าสัตว์เป็นๆ 10 ชนิด มี เด็กผู้ชาย เด็กผู้หญิง ช้าง ม้า ฯลฯ บูชายันต์ ซึ่งพระพุทธศาสนาสอนให้เลิกพิธีแบบนี้ ดังปรากฏในชาดกอยู่หลายเรื่อง
ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บริเวณมุมด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของท้องสนามหลวง ตรงข้ามพระบรมมหาราชวัง ถนนหลักเมือง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
#เสาหลักเมือง : #หลักชัยประเทศ
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ได้โปรดเกล้าฯ ให้กระทำพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 1 0 ค่ำ ตรงกับวันที่ 21 เมษายน ปีพุทธศักราช 2325 เวลา 06.54 น. การฝังเสาหลักเมืองมีพิธีรีตรองตามพระตำราที่เรียกว่า พระราชพิธีนครฐาน ใช้ไม้ชัยพฤกษ์ทำเป็นเสาหลักเมือง ประดับด้านนอกด้วยไม้แก่นจันทน์ที่มี เส้นผ่าศูนย์กลางวัดที่โคนเสา 29 เซนติเมตร สูง 187 นิ้ว กำหนดให้ความสูงของเสาหลักเมืองอยู่พ้นดิน 108 นิ้ว ฝังลงในดินลึก 79 นิ้ว มีเม็ดยอดรูปบัวตูม สวมลงบนเสาหลัก ลงรักปิดทอง ล้วงภายในไว้เป็นช่องสำหรับบรรจุดวงชะตาเมือง
ศาลหลักเมืองได้รับการปฏิสังขรณ์อีกหลายครั้ง ในปี พ.ศ.2523 มีการบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่ เพื่อเตรียมการเฉลิมฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ครบ 200 ปี พ.ศ.2525 ศาลหลักเมืองได้รับการบูรณะอย่างสวยงาม ด้านทิศเหนือจัดสร้างซุ้มสำหรับประดิษฐานเทพารักษ์ทั้ง 5 คือเจ้าพ่อหอกลอง เจ้าพ่อเจตคุปต์ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง และพระกาฬไชยศรี
มีเรื่องสืบกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โบราณถือว่าพิธีสร้างพระนครหรือสร้างบ้าน สร้างเมือง ต้องฝังอาถรรพณ์ 4 ประตูเมือง ต้องฝังเสาหลักเมือง
การฝังเสาหลักเมืองและเสามหาปราสาทต้องเอาคนที่มีชีวิตทั้งเป็น ลงฝังในหลุม เพื่อให้เป็นผู้เฝ้าทวารมหาปราสาทบ้านเมือง ป้องกันอริราชศัตรูมิให้มีโรคภัย ไข้เจ็บเกิดแก่เจ้าฟ้ามหากษัตริย์ผู้ครองนครบ้านเมือง ในการทำพิธีกรรมดังกล่าว ต้องเอาคนที่ชื่อ อิน จัน มั่น คง มาฝังลงหลุม จึงจะศักดิ์สิทธิ์และขณะที่นายนครวัฒเที่ยวเรียกชื่อ อิน จัน มั่น คง ไปนั้น
ใครโชคร้ายขานรับขึ้นมาก็จะถูกนำตัวไปฝังในหลุม หลุมเสาหลักเมืองนั้น จะผูกเสาคานใหญ่ชักขึ้นเหนือหลุมนั้นในระดับสูงพอสมควร
โยงไว้ด้วยเส้นเชือกสองเส้นหัวท้ายให้เสาหรือซุงนั้นแขวนอยู่ตามทางนอนเหมือนอย่างลูกหีบ
ครั้นถึงวันกำหนดที่จะกระทำการอันทารุณนี้ ก็เลี้ยงดูผู้เคราะห์ร้ายให้อิ่มหนำสำราญแล้ว แห่แหนนำไปที่หลุมนั้น พระเจ้าแผ่นดินมีรับสั่งให้บุคคลทั้งสามนั้นเฝ้าประตูเมืองไว้ด้วย และให้เร่งแจ้งข่าวให้รู้กันทั่ว เมื่อคนมาชุมนุนกันเขาก็ตัดเชือกปล่อยให้เสาหรือซุงหล่น ลงมาบนศีรษะผู้เคราะห์ร้ายผู้ตกเป็นเหยื่อของการถือโชคถือลางนั้น บี้แบนอยู่ในหลุม
คนไทยเชื่อว่าผู้เคราะห์ร้ายเหล่านี้จะกลายสภาพเป็นอารักษ์จำพวกที่เรียกว่า ผีราษฎร คนสามัญบางคนก็กระทำการฆาตกรรมแก่ทาสของตนในทำนองเดียวกันนี้ เพื่อใช้ให้เป็นผีเฝ้าขุมทรัพย์ที่ตนฝังซ่อนไว้ ตัวอย่าง การสร้างราชธานีใหม่ของพม่า
เมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมจึงมีกำแพงกันสี่ด้าน แต่ละด้านมีประตูเมือง 3 ประตู รวมเป็น 12 ประตูด้วยกัน
การฝังอาถรรพณ์ก็เป็นคนเป็นล้วนๆ ถึง 52 คน ฝังตามประตูเมืองประตูละ 3 คน 12 ประตูก็เป็นทั้งหมด 36 คน และเฉพาะใต้พระที่นั่งในท้องพระโรงต้องฝังถึง 4 คน และคนที่ถูกฝังทั้งเป็นเพื่อเป็นผีคอยรักษาเมืองและพระราชวังนั้นต้องเลือกให้ได้ลักษณะตามที่โหรพราหมณ์กำหนด ไม่ใช้นักโทษที่ต้องโทษประหาร
แต่จะเป็นคนที่อยู่ในวัยต่างๆ กัน มีตั้งแต่คนมีอายุจนถึงเด็กทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ทุกคนต้องมีฐานะดีเป็นที่ยกย่องในกลุ่มชน และต้องเกิดตามที่โหรกำหนด
ถ้าเป็นชายต้องไม่มีรอยสัก ผู้หญิงต้องไม่เจาะหู เมื่อสั่งเสียร่ำราญาติพี่น้องแล้วก็จะถูกนำตัวไปลงหลุมญาติพี่น้องก็จะได้รับ พระทานรางวัล
21 เมษายนพ.ศ.2532 : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศฯ เป็น สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก นับเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สมเด็จฯ ประสูติเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2456 ที่ อ.เมืองกาญจนบุรี มีพระนามเดิมว่า เจริญ คชวัตร พระชนกชื่อ นายน้อย คชวัตร พระชนนีชื่อ นางกิมน้อย คชวัตร ปี 2469 บรรพชาและอุปสมบทที่วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) จ.กาญจนบุรี ทรงทำญัตติซ้ำ เป็นธรรมยุต ที่วัดบวรนิเวศวิหารเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2476 เป็นพระอภิบาลของภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ณ วัดบวรนิเวศวิหาร พ.ศ.2499
วรรคทอง
อำนาจของกรรมใหญ่ยิ่งที่สุดในโลก ไม่มีอำนาจใดอาจทำลายได้ แม้อำนาจของกรรมดี ไม่อาจทำลายอำนาจของกรรมชั่ว และอำนาจของกรรมชั่ว ก็ไม่อาจทำลายอำนาจของกรรมดี อย่างมากที่สุดที่มีอยู่คือ อำนาจของกรรมดี แม้ทำให้มากให้สม่ำเสมอในภพภูมินี้ ก็อาจจะทำให้อำนาจของกรรมชั่วที่ได้ทำมาแล้ว ตามมาถึงได้ยาก (สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)