ดับไฟป่าเชียงใหม่ด้วยการสร้างเขื่อน
เชื่อหรือไม่ ไฟป่า หมอกควันพิษซ้ำซากในภาคเหนือ แก้ไขได้อย่างถาวรด้วยการสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำบนภูเขา ดร.โสภณแนะดูตัวอย่างนครเซียะเหมิน
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ให้ข้อคิดถึงการแก้ปัญหาหมอกควันพิษและไฟป่าทางภาคเหนือซึ่งเกิดขึ้นซ้ำซากทุกปีว่าปัญหานี้จะแก้ได้ด้วยการสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำตามภูเขาหัวโล้นทั้งหลาย มั่นใจว่าปัญหาไฟป่าและจะหมดไปได้อย่างแน่นอน หรือแม้แต่บนดอยสุเทพ ก็สมควรสร้างอ่างเก็บน้ำหรือฝายไว้เป็นระยะๆ บนภูเขา เพื่อกักเก็บน้ำไว้ในดับไฟป่า
ดร.โสภณยกประสบการณ์ที่พบเห็นบนภูเขาในนครเซี่ยะเหมินในครั้งที่ไปบรรยายให้นักศึกษาปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยเซี๊ยะเหมิน นครแห่งนี้มีการก่อสร้างเขื่อนเก็บน้ำไว้เป็นจำนวนมากเพื่อไม่ให้สูญเปล่าและสามารถใช้ประโยชน์ในทางอื่นได้อีกมากมาย ทั้งนี้ประโยชน์ของเขื่อนได้แก่
1. แก้ปัญหาน้ำท่วม
2. แก้ปัญหาฝนแล้ง
3. มีน้ำไว้ใช้เพื่อการชลประทาน
4. มีน้ำไว้ดับไฟป่า
5. ผลิตไฟฟ้าโดยไม่ใช้น้ำมัน
6. ทำการประมง
7. สามารถผลิตน้ำประปา
8. เป็นแหล่งท่องเที่ยว
9. ทำให้ป่าไม้ชะอุ่ม ป่าไม้ขยายตัว
10. ให้สัตว์ป่ามีน้ำดื่มกิน เป็นการส่งเสริมการแพร่พันธุ์สัตว์ป่า
11. เป็นแนวป้องกันการรุกป่าและสัตว์ป่า
12. ลดทอนโอกาสการเกิดน้ำท่วมในกรุงเทพมหานครและโดยรอบ
13. ประหยัดงบประมาณแผ่นดินในการช่วยเกษตรกรในยามน้ำท่วม-ฝนแล้ง
14. ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมโลก ฯลฯ
ดร.โสภณส่งเสริมการสร้างเขื่อนโดยเฉพาะเขื่อนแม่วงก์ เพื่อประโยชน์ของป่าไม้สัตว์ป่าและประชาชน โดยดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: http://maewongdam.blogspot.com และที่ http://www.facebook.com/maewongdam
ไฟป่าบนดอยสุเทพ (ที่มาของภาพ: https://www.thaipost.net/main/detail/61069)
บนภูเขาในนครเซียะเหมิน มีเขื่อนและอ่างเก็บน้ำเต็มไปหมด ดัดแปลงธรรมชาติเพื่อมนุษยชาติ
ที่มาของภาพ: http://bit.ly/1NVrkL4
ผู้แถลง:
ดร.โสภณ พรโชคชัย (sopon@area.co.th) ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA (www.area.co.th): ซึ่งเป็นองค์กรที่มีฐานข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ภาคสนามขนาดใหญ่ที่สุดและปรับปรุงให้ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย และดำเนินการเก็บข้อมูลต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ.2537 เป็นศูนย์ข้อมูลที่มีความเป็นกลางทางวิชาการ และเป็นอิสระทางวิชาชีพ โดยไม่ถูกครอบงำโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใด ๆ สมาชิกของศูนย์ข้อมูลฯ ได้รับข้อมูลที่เป็น First-hand information ในเวลาเดียวกัน