"ขนมแปะโอ่ง" เจ้าสุดท้ายแห่งนาบอน
วันนี้ขอพามาย้อนรอนขนมโบราณ ตำนาน "ขนมแปะโอ่ง" ขนมที่มีความยาวนานเป็น 100 ปี จนได้ขนานนามว่าของดีนาบอน ปัจจุบันมีเพียงผู้สืบทอดเจ้าเดียวในนาบอน ที่ยังทำขายให้คนในพื้นที่และคนที่มาเยือนได้รับประทานกัน
"ขนมแปะโอ่ง" มีเรื่องราวแสนยาวนาน ผ่านการสืบทอดต่อๆ กันมาจากบรรพบุรุษชาวไทยเชื้อสายจีนที่อพยพมาตั้งรกรากในพื้นที่อำเภอนาบอน
ก่อนที่ชาวจีนฮกจิวจากเมืองฝูโจวจะอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานยังดินแดนสยาม ชาวจีนกลุ่มนี้ได้อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานในมลายู
แล้วอพยบเข้ามาในประเทศ สมัยนั้นด้วยรถไฟ ก่อนมีสถานนีรถไฟนาบอน มาตั้งรกรากทำมาหากิน และนำอาชีพการทำสวนยางมาทำในพื้นที่เป็นครั้งแรกจุดเริ่มต้นของสวนยางแปลงใหญ่ที่นั้น นั้นเอง จังหวัดนครศรีธรรมราช
เมื่อชาวบ้านเริ่มทำสวนยาง อาหารหลักที่นั้นคงหนีไม่พ้น "ขนมแปะโอ่ง" ชาวบ้านเล่ากันว่า เมื่อก่อนขนมที่นำไปทานในสวนยางจะร้อยเป็นพ่วงแล้วผูกรอบเอว ไว้ทานในสวนยาง ทำให้อิ่มได้เป็นอย่างดี ทานกับ โกปี๊ในสมัยนั้นคืออาหารชั้นเยี่ยม และยังมีการใช้ขนมนำมาต้มจืดแทนเนื้อสัตว์ได้อีกด้วย
ที่มาของขนมชนิดนี้เกิดขึ้นในยุคของชาวจีนฮกจิวจากเมืองฝูโจว ตั้งแต่สมัยสงครามและมีชื่อเรียกตามชื่อแม่ทัพในสมัยนั้น มีด้วยกัน 2 ชนิดคือชนิดเค็มและชนิดหวาน มีชื่อเรียกต่างกันไป แต่เหมือนมาทำกินในประเทศไทยชาวบ้านก็เรียกตามลักษณะวิธีการทำที่นำมาแปะที่โอ่ง และจะมีอีกชื่อคือ ขนมสินสอดจะใช้ในพิธีกรรมงานมงคลสมรสในสมัยนั้นเป็นการรับขันหมากของผู้ที่มีฐานะขึ้นมา จะมีใส่ข้างใน
ชาวบ้านจะนิยมนำขนมมาผากลางแล้วกินกับกากหมู ทำให้มีรสชาติมากขึ้น
ก่อนวัตถุดิบและส่วนผสมต่างๆ แบบโบราณไว้อย่างสมบูรณ์ น่าทึ่งดีเวลาที่ได้เห็นวิธีการอบขนมปังแบบโบราณ นำขนมปังเจาะรูตรงกลางแล้วเอาไปแปะไว้ในโอ่งที่มีเตาถ่านอยู่ตรงกลาง พอทำเสร็จแล้วจะไ้ด้ขนมปังที่มีความนุ่มและรสหวานกำลังดี กินได้เลยโดยไม่ต้องจิ้มอะไร
ปัจจุบันมีการทำแผ่นบางกรอบอบแห้งมากขึ้นสามารถส่งขายให้คนต่างถิ่นได้ลิ้มรส
ขออภัยหากข้อมูลผิดพลาดประการใด เพราะข้อมูลได้รับจากการบอกเล่าพูดคุยกันระหว่างผู้เขียนและชาวบ้าน ไม่ได้ลงไปทำการศึกษาแบบจริงจัง เพียงนักท่องเที่ยวที่ต้องการเรียนรู้วิถีเท่านั้น
เขียนโดย เสาวนิจ ปากบารา