คุณรู้หรือไม่...แท้จริงแล้ว "มะเร็ง" เกิดจากอะไร?
สถานการณ์โรคมะเร็งในภาพรวมของประเทศไทย จากสถิติของกองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข พบว่า โรคมะเร็งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต อันดับ 1 ตั้งแต่ปี 2541 ของการเสียชีวิตทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าอัตราดารเสียชีวิตจากอุบัติเหตุและโรคหัวใจเฉลี่ย 2 ถึง 3 หรือมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งเฉลี่ย 8 ราย:ชั่วโมง
ข้อมูลสติถิโรคมะเร็งของประเทศไทยในปี 2556 - 2558 จากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ รายงานมีจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 122,757 ราย มะเร็งที่พบบ่อย 5 อันดับแรก และเป็นอันดับที่ทำให้เสียชีวิตติดอันดับแรกยาวนาน ได้แก่
1. มะเร็งตับและท่อน้ำดี
2. มะเร็งปอด
3. มะเร็งเต้านม
4. มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง
5. มะเร็งปากมดลูก
คุณมีความรอบรู้โรคมะเร็งมากน้อยแค่ไหน?
มีปัจจัยเสี่ยงเป็นจำนวนมากที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการดำเนินชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกฮอล์ การรับประมานอาหารประเภทเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก เบคอน แฮม การรับประทานอาหารเนื้อแดง เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อแกะ การได้รับสารก่อมะเร็งจากสิ่งแวดล้อม การมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน(หรืออยู่ในภาวะอ้วน) และการขาดการออกกำลังกาย
จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า "มะเร็ง" ไม่ใช่เรื่องของเคราะห์กรรมหรือบาปบุญ แต่เป็นผลพวงของการใช้ชีวิตและสภาพแวดล้อม ดังนั้น เราควรตระหนักถึงความสำคัญของการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงเพื่อการป้องการโรค หรือการไปตรวจคัดกรองมะเร็งในผู้ที่มีร่างกายปกติเป็นเรื่องท้าทาย และไม่ง่ายในทางปฏิบัติ
คนไทยส่วนใหญ่ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคมะเร็ง ยังคงมีความเชื่อผิดๆ ที่บอกต่อกันมา อีกทั้งปัจจุบันสื่อสังคมออนไลน์เข้ามามีอิทธิพลต่อคนในสังคม ทำให้การกระจายข่าวสารไปมนวงกลว้างอย่างรวดเร็ว อยากต่อการควบคุม และการบริหารจัดการข้อมูลที่ถูกต้องเหมาะสม หากข้อมูลที่ถูกนำเข้าสื่อสังคมออนไลน์เป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือถูกบิดเบือน (Fake News) จะสร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชน ซึ่งหน่วยงานภาครัฐมีงบประมาณและบุคลากรไม่เพียงพอในการประชาสัมพันธ์ หรือโต้ตอบข้อมูลที่ผิดๆ ได้ทันท่วงที
.........................................................................................
เราหันมาออกกำลังกายให้เป็นชีวิตประจำวัน ด้วยวิธีพื้นฐาน คือ การเดินทุกวัน
เช่น 7-11 มีระยะจากบ้านเพียง 500 เมตร ควรเดินไปซื้อของ, การเดินรอบบ้านจัดเก็บของ ฯลฯ
และค่อยเพิ่มระดับการออกกำลังในรูปแบบอื่นๆ เช่น การเดินเร็ว การวิ่ง ฯลฯ
ออกกำลังกายให้ติดนิสัย ป้องกันง่ายกว่าการรักษา ตรวจสุขภาพประจำปี