พาไปดูไฟแช็คสมัยสงครามโลกครั้งที่๒
ในสมัยโบราณ เรายังไม่มีไม้ขีดไฟใช้ เรามีวิธีการจุดไฟหลายวิธี ได้แก่การใช้ไม้แห้ง 2 แท่งมาขัดสีกันจนเกิดความร้อนถึงขั้นติดไฟได้ แต่ก็ต้องใช้เวลานาน ต่อมามีการใช้หินสองก้อนกระทบกันเกิดเป็นประกายไฟ ที่เราเรียกว่า หินเหล็กไฟ ทั้ง 2 วิธีนี้ เมื่อเกิดประกายไฟแล้วก็ต้องเอาเชื้อไฟ ได้แก่ ปุยนุ่นหรือสำลีมารองรับเพื่อให้ไฟติด การใช้ตะบันไฟก็เป็นอีกวิธีหนึ่งซึ่งสะดวกกว่า 2 วิธีแรก
ตะบันไฟ มีรูปร่างคล้ายตะบันที่ใช้ตำหมากของคนไทยโบราณ อาศัยหลักการคล้ายลูกสูบเครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งมีตัวตะบันเป็นกระบอก(หรือเสื้อสูบ) ทำจากเขาควายหรือไม้เนื้อแข็งเช่นไม้ชิงชัน นำมาเจาะให้เป็นรูกลม และมีลูกตะบัน (ตัวลูกสูบ) ทำจากเขาควายหรือไม้ชนิดเดียวกับตัวกระบอกมาเหลาเป็นแท่งกลมมีขนาดเดียวกับรูกระบอก แต่จะยาวกว่ารูกระบอกเล็กน้อย สำหรับตบหรือกระแทก ส่วนปลายเจาะเป็นแอ่งเพื่อบรรจุเชื้อไฟ เมื่อตบลูกตะบันเข้าไปอย่างแรงและรวดเร็ว ปริมาตรของอากาศภายในจะลดลง และความด้นจะเพิ่มขึ้น เกิดความร้อนจนทำให้เชื้อไฟติดได้