ภาวะ “ขาดแคลนน้ำ” ชาวบ้านและเด็กๆเผยดีใจที่สุด หลังได้ดื่ม "น้ำจืด" ที่อร่อยที่สุดในชีวิตนี้
เป็นที่ทราบกันดีว่า 70% ของพื้นผิวโลกถูกปกคลุมด้วยน้ำ ถึงแม้ว่าเมื่อดูจากนอกโลกจะเหมือนน้ำไพลิน แต่ในความเป็นจริงหลาย ๆ ประเทศบนโลกนี้ยังอยู่ในภาวะ “ขาดแคลนน้ำ”
เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว องค์กรที่ไม่ใช่องค์กรของรัฐ และรู้จักกันในอีกหลากหลายชื่อ เช่น องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร Non-Governmental Organization (NGO) ได้เปิดตัวโครงการใหม่เพื่อแปลงน้ำทะเลเป็นน้ำประปาที่สามารถบริโภคได้โดยตรงโดยใช้แผงโซลาร์เซลล์!
สื่อต่างประเทศรายงานว่า จากข้อมูลขององค์การยูนิเซฟและองค์การอนามัยโลกหนึ่งในสามของคนบนโลกไม่สามารถรับน้ำดื่มได้เพียงพอ สถานการณ์เช่นนี้พบได้ทั่วไปในประเทศกำลังพัฒนา ดังนั้นพวกเขาจึงเลือก หมู่บ้านเล็ก ๆที่ชื่อ Kiunga ในประเทศเคนยา มาเป็นสถานที่ทดสอบสำหรับโครงการนี้
Sponsored Ad
ในประเทศที่มีการพัฒนาช้าเช่นแอฟริกา มักแยกเกลือออกจากน้ำทะเลเพื่อใช้สำหรับเป็นน้ำดื่ม แต่ทว่าการกลั่นน้ำทะเลแบบดั้งเดิมไม่เพียงแค่มีราคาแพงเท่านั้น แต่ยังใช้ไฟฟ้าจำนวนมากอีกด้วย ซึ่งแน่นอนว่าไม่เหมาะสำหรับคนฐานะยากจน
เมื่อปีที่แล้วองค์กร NGO ได้สร้าง “โรงงานผลิตน้ำดื่มด้วยพลังงานแสงอาทิตย์" ซึ่งเป็นแห่งแรกในโลก ซึ่งก่อตั้งที่ประเทศเคนยา โรงงานผลิตน้ำดื่มแห่งนี้สามารถผลิตน้ำดื่มให้เพียงพอสำหรับ 35,000 คนต่อวันและน้ำจืดที่ผลิตได้นั้นมีรสหวานกว่าโรงงานกลั่นน้ำทะเลทั่วไป!
นอกจากนี้กระบวนการกลั่นน้ำทะเลของโรงกลั่นน้ำทะเลบางครั้งมีผลกระทบต่อพืชและสัตว์ แต่การแปลงพลังงานแสงอาทิตย์แทบจะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับเคนยา!
ก่อนที่โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จะปรากฏ ประชาชนในท้องถิ่นต้องใช้เวลาอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงในการเข้าถึงแหล่งน้ำที่ใกล้ที่สุดและต้องใช้น้ำร่วมกับสัตว์ Hayes Barnard เจ้าหน้าที่รับผิดชอบโครงการกล่าวว่า "คุณดูเด็ก ๆ ในพื้นที่สิ! ตามร่างกายของพวกเขามีแต่รอยบาดแผล นั้นเป็นเพราะพวกเขาต้องใช้เกลือที่มีความเค็มสูงในการอาบน้ำ”
ในปัจจุบันองค์กรพัฒนาเอกชนได้ติดตั้งแผงแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์ในโรงเรียน,สถานประกอบการ,ศูนย์ช่วยเหลือฉุกเฉินกว่า 2,500 แห่ง ภายใน 17 ประเทศ และในเวลาเดียวกันพวกเขายังระดมทุนเพื่อสร้างแหล่งผลิตน้ำดื่มด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อหวังว่าจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในอนาคตได้ !
ตอนนี้เมื่อย้อนกลับมานึกถึงตนเองแล้วก็รู้สึกว่าที่จริงเราโชคดีมาก และหวังว่าอนาคตแหล่งพลังงานแสงอากทิตย์เหล่านี้จะสามารถช่วยแก้ปัญหาได้ แต่ถึงอย่างไรก็อยากรณรงค์ให้คนบนโลกช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น!
.
.