เลิกกันแล้วทำไมต้องเกลียดกัน ฮอร์โมนความรักแปรเป็นพิษร้ายสร้างความเกลียดชัง
คุณเคยมีความรักหวานปานจะกลืนกิน โลกทั้งใบเป็นสีชมพูไหม? หลายคู่เลิกกันแล้วสามารถเป็นเพื่อนกันได้ แต่บางคู่อาจจะเกลียดหน้ากันถึงขั้นไม่อยากเผาผีกันเลย ‘รักมากเกลียดมาก ยิ่งรัก...ก็ยิ่งเกลียด’
ความเกลียดสร้างจากฮอร์โมนรัก
นายแพทย์วินัย ดะห์ลัน เชี่ยวชาญด้านชีวเคมีทางการแพทย์ ให้ข้อมูลว่าความรู้สึกเหล่านั้นเป็นผลมาจากการทำงานของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความรักที่ชื่อว่า “อ็อกซิโตซิน” (Oxytocin) หรือ Love Hormone ฮอร์โมนแห่งความรัก ซึ่งเป็นฮอร์โมนเปปไทด์สร้างจากต่อมไฮโปธาลามัสในสมอง นำไปสะสมในต่อมพิทุยทารีส่วนหลังและหลั่งออกมาเพื่อสร้างอารมณ์รักและผูกพัน หรือเป็นอารมณ์ที่เกิดจากการโอบกอด สัมผัส หรือตอนเล้าโลม ซึ่งบางครั้งทำให้เกิดความหึงหวงแทรกเข้ามา รวมถึงยังกระตุ้นหรือชะลอการทำงานของฮอร์โมนอะมิกดาลาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความไว้เนื้อเชื่อใจ
“ยิ่งรักมาก ยิ่งมีความเชื่อใจมากขึ้น”
เมื่อมีฮอร์โมนออกซิโตซิน เราจะรู้สึกรักและหวงแหนคนนั้นมาก และจะมองคนอื่นเป็นศัตรู รู้สึกกลัวหรือไม่ปลอดภัย (กลัวโดนแย่ง) หรือความรู้สึกเชิงลบ
“ฮอร์โมนชนิดเดียวกัน แต่ปล่อยความรู้สึกออกมา 2 ขั้วอารมณ์”
ดังนั้น “คนเคยรักกันมากเมื่อความรักถูกดึงออก ก็จะเหลืออยู่อีกขั้วนั้นคืออารมณ์ความเกลียด”
ฮอร์โมนเป็นของชั่วคราว
ฮอร์โมนก็คือสารเคมีที่หลั่งออกมาจากต่อมใต้สมอง ซึ่งจะหลั่งออกมาแค่ช่วงแรก ๆ ของตอนมีความรัก “ความลุ่มหลงชั่วคราว (crush) ” นั่นคือ ความรู้สึกรุนแรงแต่ไม่มั่นคง จึงเป็นธรรมดาที่หลายคู่อาจจะหมดรักหรือหมดโปรไวมาก
(photo from https://www.huffpost.com)
ดังนั้น ช่วงหลังฮอร์โมนหมดอายุ เป็นการปรับตัวและการจัดการของคนสองคนแล้วหละ ว่าจะประคองกันไปได้นานแค่ไหน ส่วนคนที่เลิกกันฮอร์โมนรักกลายเป็นพิษร้ายล่ะก็ ควรรีบดูแลตัวเอง ดูแลฮอร์โมนให้มั่นคง แล้วกลับมาพบกันในคอลัมน์หน้ากับวิธีการดูแลรักษาออกซิโตซินกันนะคะ