จีนพบ 'โกฐขี้แมว' ยาสมุนไพรโบราณเก่าแก่กว่า 2,000 ปี
จีนพบ 'โกฐขี้แมว' ยาสมุนไพรโบราณเก่าแก่กว่า 2,000 ปี
เมื่อเร็วๆ นี้ หวงลู่ฉี ประธานสถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์จีนกล่าวว่า วัตถุโบราณที่ถูกขุดค้นพบจากหลุมศพยุคฮั่นตะวันตก (206 ปีก่อนคริสต์ศักราช-ค.ศ. 25) ของขุนนางไห่ฮุน ในมณฑลเจียงซี ทางตะวันออกของจีนในปี 2015 ได้รับการยืนยันแล้วว่าเป็นยาสมุนไพรจีนโบราณ
วัตถุดังกล่าวเพิ่งได้รับการยืนยันว่าเป็นรากรากของต้น "ตี้หวง" หรือ "โกฐขี้แมว"
โกฐขี้แมว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Rehmannia glutinosa) อยู่ในวงศ์ Orobanchaceae ภาษาจีนกลางเรียกตี่หวาง ภาษาจีนแต้จิ๋วเรียกตี่อึ้ง เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีขนปกคลุมทั่วทั้งต้น รากเป็นหัวใต้ดินอวบหนา รูปกระสวย เมื่อสดเป็นสีส้ม ใบออกที่โคนต้นเป็นกระจุก ดอกช่อออกตามซอกใบหรือปลายยอด เป็นพืชถิ่นเดียวในประเทศจีน ปัจจุบันมีปลูกเป็นการค้าในจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี เพื่อนำรากมาทำยา
สรรพคุณทางยา
รากสดเรียกเซียนตี่หวาง ใช้แก้ไข้ที่ทำให้คอแดง กระหายน้ำ ไอเป็นเลือด รากแห้งเรียกกานตี่หวาง (จีน: 干地黄) ใช้แก้ไข้ ไอเป็นเลือด เลือดออกจากมดลูก แก้ท้องผูก รากที่เคี่ยวกับเหล้าแล้วนำมาตากแห้งเรียกซู่ตี่หวาง หรือเสกตี่อึ้งในภาษาจีนแต้จิ๋ว ใช้แก้ปวดตะโพก ปวดเบา แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้โลหิตจาง ประจำเดือนมากเกินไป สารออกฤทธิ์ส่วนใหญ่เป็นไกลโคไซต์ อิชิคอยด์
แหล่งที่มา: https://www.facebook.com/XinhuaNewsAgency.th/
https://th.wikipedia.org/wiki/โกฐขี้แมว