หัวเว่ยจะสร้างประโยชน์ให้ประชากร 500 ล้านคนทั่วโลกด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ในอีก 5 ปีข้างหน้า
กรุงเทพฯ ประเทศไทย/ 27 สิงหาคม 2562 – หัวเว่ยจะช่วยให้ประชากรอีก 500 ล้านคนทั่วโลกได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลในอีก 5 ปีข้างหน้า ไมเคิล แมคโดนัลด์ ประธานเจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยี หัวเว่ย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวในงานประชุมของคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมของเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ (UNESCAP) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ
การประชุมคณะกรรมการด้านการขับเคลื่อนทางด่วนข้อมูลในเอเชีย-แปซิฟิก (AP-IS) และการประชุม WSIS ระดับภูมิภาคสมัยที่สาม เริ่มต้นขึ้นวานนี้ ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ
ตามคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมของเอเชียและแปซิฟิกแห่งสหประชาชาติ (ESCAP) การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อทบทวนข้อค้นพบจากงานวิจัยล่าสุด การดำเนินการของแผนแม่บทด้าน AP-IS และเอกสารกรอบการทำงานด้านความร่วมมือระดับภูมิภาค ระหว่างปี 2562 – 2565 โดยประเทศสมาชิกต่างๆ ESCAP และองค์กรพันธมิตรต่างๆ และพูดคุยถึงแนวโน้มและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มีผลกระทบต่อการดำเนินการ
มร. แมคโดนัลด์ กล่าวในสุนทรพจน์ของเขาในหัวข้อ “Redefining Inclusion” ว่า “ตามข้อมูลของ GSMA มีประชากรมากกว่า 1 พันล้านคนยังไม่สามารถเข้าถึงบริการบรอดแบนด์ไร้สาย และอีกมีประชากรอีก 3,800 ล้านที่ยังไม่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งคิดเป็นกึ่งหนึ่งของประชากรทั้งโลก
ประธานเจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยี ของหัวเว่ย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังได้เรียกร้องให้รัฐบาลประเทศต่าง ๆ องค์กรอุตสาหกรรม และพันธมิตรธุรกิจ มาร่วมกันส่งเสริมให้ทุกคนได้มีโอกาสใช้ประโยชน์จากดิจิทัลด้วย
“เราต้องการแผนที่ดำเนินการได้ในทันที และด้วยความทุ่มเทร่วมกัน พวกเราสามารถทำให้ทุกคนในสังคมมีทักษะด้านดิจิทัลได้” เขากล่าว
“ที่หัวเว่ย เราเชื่อว่าเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ดี และเราควรใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ดีเช่นเดียวกัน เพื่อส่งเสริมให้ทุกคนมีสิทธิ์เข้าถึงดิจิทัล เราได้จัดวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน” มร. แมคโดนัลด์ กล่าว “โครงการนี้มีชื่อว่า Tech4ALL ซึ่งจะเน้น 3 ด้านด้วยกันคือ การเชื่อมโยง การนำไปใช้ และทักษะ”
หัวเว่ย ในฐานะผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีทีและสมาร์ทดีไวซ์ชั้นนำระดับโลก ได้กล่าวคำมั่นที่จะลดอุปสรรคในเรื่องของต้นทุนและการครอบคลุมของสัญญาณผ่านนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี ช่วยให้นักพัฒนาสร้างแอปพลิเคชันสำหรับชุมชนและอุตสาหกรรมต่าง ๆ และทำงานร่วมกับรัฐบาล ชุมชนท้องถิ่น และอุตสาหกรรมอื่น ๆ เพื่อเพิ่มการตระหนักรู้ด้านทักษะดิจิทัลและให้ความช่วยเหลือตามจำเป็น
“ตัวอย่างเช่น ตลอดสิบปีที่ผ่านมา โครงการ Seeds for the Future ของเราได้ช่วยพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลให้แก่นิสิตนักศึกษากว่า 30,000 คนจาก 100 กว่าประเทศ”
ในประเทศไทย โครงการ “Seeds for the Future” ได้ส่งนิสิตนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยไทย ไปศึกษาวัฒนธรรมจีนที่กรุงปักกิ่ง พร้อมศึกษาเรียนรู้เทคโนโลยีไอซีทีอันทันสมัยที่เมืองเซินเจิ้น
ในปี 2561 หัวเว่ยได้จัดการแข่งขัน “Huawei ICT Competition Thailand” เพื่อบ่มเพาะคนรุ่นใหม่ให้มีศักยภาพด้านไอซีที เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาไทยแลนด์ 4.0 และสร้างโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงดิจิทัลได้
“ทั้งหมดนี้เป็นเพียงการเริ่มต้น ในอีก 5 ปีข้างหน้า เป้าหมายของเราคือการช่วยให้ประชากรอีก 500 ล้านคนได้ใช้ประโยชน์โดยตรงจากเทคโนโลยีดิจิทัล”
“นี่คือภารกิจของเรา และเราหวังว่าพวกคุณจะมาร่วมกับเรา เพราะด้วยการร่วมแรงร่วมใจ พวกเราจะสามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปสู่คนทุกคน บ้านทุกหลัง และองค์กรทุกแห่ง เพื่อสร้างโลกอัจฉริยะที่เชื่อมโยงกันอย่างเต็มรูปแบบ” มร. ไมเคิล แมคโดนัลด์ กล่าว