หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

การเริ่มต้นของแผนที่ในประเทศไทย

โพสท์โดย Conan Notkill

Dr. R.L. Pendleton
นักปฐพีวิทยาผู้สำรวจดิน และการปรับปรุงดินและปุ๋ยของประเทศไทย (พ.ศ. 2478 – 2500)

        งานสำรวจและจำแนกดินของประเทศไทยได้เริ่มต้นดำเนินการมาก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณ ปี พ.ศ. 2478 โดยมี Dr. R.L. Pendleton นักวิทยาศาสตร์ทางดินและการเกษตรชาวอเมริกัน ซึ่งเข้ามาปฏิบัติงาน ในฐานะที่ปรึกษาของกรมกสิกรรมและประมงในสมัยนั้นเป็นผู้ริเริ่ม โดยมี นักวิชาการฝ่ายไทยคือ ดร.สาโรช มนตระกูล และ ดร.เริ่ม บูรณฤกษ์ เป็นผู้ร่วมงานอย่างใกล้ชิด ทำการสำรวจดินในระดับประเทศ (Reconnaissane soil survey) โดยยึดถือระบบการสำรวจและจำแนกดินตามแบบของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (United States Department of Agriculture: USDA) ปี 1938 หรือที่เรียกว่า“ระบบ USDA 1938” เป็นหลัก แต่เนื่องจากเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการสำรวจไม่พร้อม ประกอบกับการคมนาคมที่ไม่สะดวก ทำให้การเข้าสำรวจและตรวจสอบลักษณะดินในสนามทำได้เฉพาะแห่งเท่านั้น ในการหาขอบเขตของดินแต่ละชนิด จึงต้องอาศัยแผนที่ทางธรณีวิทยา (surface rocks) และแผนที่ป่าไม้เป็นหลัก อย่างไรก็ตามได้ทำการผลิตแผนที่ดินทั่วประเทศ ออกมาในมาตราส่วน 1:2,500,000 ในปี พ.ศ. 2503 ใช้หน่วยของแผนที่ดิน (map unit) เป็นชื่อชุดดิน (soil series) ประกอบกับลักษณะของดินบน (soil type) ตัวอย่างเช่น ดินโคราชร่วนปนทรายละเอียด (korat fine sandy loam) ดินเหนียวบางกอก (Bangkok clay) ดินเชียงใหม่ร่วน (Chiangmal loam) ดินกระบินทร์ร่วนปนกรวด (Kabin gravelly loam) เป็นต้น ภายหลังเมื่อทำการศึกษาดินแต่ละหน่วยที่แสดงไว้บนแผนที่ปรากฏว่า หน่วยแผนที่ ที่จัดอยู่ในระดับชุดดินมีน้อย ส่วนใหญ่หน่วยแผนที่ดินจะกว้างและมีลักษณะครอบคลุมเทียบเท่ากับกลุ่มดินหลัก (great soil group) หรือหน่วยดินสัมพันธ์ของกลุ่มดินหลัก (association of great soil group) ทั้งนี้เป็นผลมาจากแผนที่ดินที่ผลิตมีมาตราส่วนเล็กเกินไป และการตรวจสอบในสนามทำได้ไม่ทั่วถึง ผู้ทำแผนที่จึงได้รวมเอาดินหลายๆ ชุดดินไว้ในหน่วยแผนที่เดียวกัน แต่ก็นับได้ว่าเป็นแผนที่ดินฉบับแรกของประเทศไทยที่ได้ผลิตออกมาและได้ใช้เป็นแนวทางในการศึกษาและจำแนกดินในเวลาต่อมา หลังจากปี พ.ศ. 2485 ดร. เพนเดิลตัน ได้เดินทางกลับไปสหรัฐอเมริกาและกลับมาประเทศไทยสองสามครั้ง ในช่วงนี้ ดร.สาโรช มนตระกูล ได้ดำเนินงานด้านการสำรวจดินต่อ แต่เป็นการทำแผนที่ดินในโครงการที่ละเอียดกว่า เพื่อจะใช้เป็นข้อมูลปรับปรุงแผนที่ดินของประเทศไทยให้ถูกต้องยิ่งขึ้น แผนที่ดินที่ผลิตออกมีมาตราส่วนใหญ่ขึ้นคือ มี มาตราส่วน 1:40,000-1:50,000 ตามมาตราส่วนของภาพถ่ายทางอากาศและแผนที่ภูมิประเทศ 

ในช่วงนี้เองส่วนราชการต่างๆ ได้มองเห็นความสำคัญของแผนที่ดินละได้นำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนพัฒนาโครงการต่าง ๆ ดร.เพนเดิลตัน กลับมาประเทศไทยครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. 2499 และได้ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2500
ตั้งแต่ พ.ศ.2491 – 2496 เป็นเวลาที่ยังมิได้จัดตั้งกรมการข้าว และการบำรุงพันธุ์ข้าว ยังเป็นหน้าที่ของกรมเกษตร ซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนนามเป็นกรมกสิกรรมนั้น ได้เปิดการขยายพันธุ์ข้าวที่ดี เพิ่มขึ้น 4 แห่ง คือ ที่สถานีกสิกรรมบางเขน, สถานีกสิกรรม 1 (รังสิต), กิ่งสถานีคลอง 1 (ธัญญบุรี) และที่ตำบลหันตรา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในด้านการบำรุงพันธุ์ ได้รับความร่วมมือจาก องค์การบริหารความมั่นคงร่วมกัน (MSA) ซึ่งในปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น องค์การบริหารความร่วมมือกับต่างประเทศ (ICA) โดยจัดส่งผู้เชี่ยวชาญ มาช่วยวางโครงการคัดพันธุ์ข้าว เพื่อผสมพันธุ์ และยังส่งปุ๋ยเคมีมาให้ทดลองใส่ในนาเพื่อบำรุงดินตามสถานีกสิกรรมและในนาข้าวของราษฎรทุกภาค การคัดพันธุ์ข้าว และการทดลองใช้ปุ๋ยในนาข้าวได้ดำเนินการเรื่อยมา จนในปีพ.ศ.2491 ประเทศไทย ได้รับความช่วยเหลือทางวิชาการจากองค์การต่างประเทศ คือ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โดยได้จัดส่งคณะผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยงาน และหนึ่งในนั้นมี ศาสตราจารย์ เครา เมียห์ ซึ่งเป็นผู้อำนวยการสถาบันค้นคว้ากลางเรื่องข้าวของประเทศอินเดีย ท่านผู้นี้ มีความสนใจในเรื่องการเพิ่มผลผลิตข้าว ด้วยการใช้ปุ๋ยเคมี แต่เนื่องจากการใช้ปุ๋ยเคมีเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย ในสมัยนั้นจึงมีการมอบหมายให้ ดร.ครุยซ์ บุณสิงห์ ซึ่งในขณะนั้นเพิ่งเดินทางกลับมาจากสหรัฐอเมริกาใหม่ ๆ เป็นผู้วางแผนการทดลองปุ๋ย เป็นครั้งแรกในท้องที่จังหวัดต่าง ๆ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตข้าวรวม 200 แห่ง จากผลของการทดลองปุ๋ยครั้งนี้ ปรากฏว่าได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจถึง 80 แห่ง ผลของการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่า สำหรับนาที่ได้ผลผลิตต่ำกว่าร้อยละ 30 ถัง การใช้ปุ๋ยให้คุ้มค่า คือให้ผลผลิตเพิ่มตั้งแต่ไร่ละ 12 ถัง ขึ้นไป แต่ที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือ ชาวนาเริ่มสนใจละเกิดความไหวตัวเมื่อเห็นต้นข้าวในนาทดลองปุ๋ย ได้ผลดี จึงทำให้มองเห็นความสำเร็จในการดำเนินงานขั้นต่อไป ถ้าหากได้เปิดการศึกษาอบรมเจ้าหน้าที่ ๆ ที่ประจำอยู่ในส่วนภูมิภาค ให้มีความชำนิชำนาญในวิธีการทดลองให้ดีพอ การทดลองและส่งเสริมตามท้องถิ่นในโอกาสต่อไปก็คงจะบังเกิดผลดีสมความมุ่งหมายยิ่งขึ้น โดยในปี พ.ศ.2492 จัดให้พนักงานตามท้องถิ่นต่าง ๆ ทำแปลงเปรียบเทียบพันธุ์ข้าวรวม 40 พันธุ์ ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวมาตรฐานของสถานีทดลอง ปลูกเปรียบเทียบกับพันธุ์ข้าวพื้นเมือง ว่าข้าวพันธุ์ใดเหมาะแก่พื้นที่ในถิ่นใด เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับวางแผนดำเนินการส่งเสริมให้ชาวนาในถิ่นนั้น ๆ ใช้เป็นพันธุ์ให้แพร่หลายต่อไป
ในปี พ.ศ.2493 โดยผลแห่งความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ดังกล่าวข้างต้น องค์การบริหารความมั่นคงร่วมกัน (MSA) ณ กรุงวอชิงตัน ได้ส่ง ดร.อาร์ แอล เพนเดิลตัน (Dr. R.L. Pendleton) ผู้เชี่ยวชาญเรื่องดินในประเทศร้อน จากมหาวิทยาลัย จอนส์ ฮอบกินส์ และ ดร. เอช เอช เลิฟ (Dr. H.H. Love) ผู้เชี่ยวชาญทางคัดและผสมพันธุ์พืช จากมหาวิทยาลัยคอนแนลล์ มาช่วยเหลือในเรื่องการบำรุงข้าว ตามโครงการร่วมกับเจ้าหน้าฝ่ายไทย ในขั้นแรกได้เรียกพนักงานจากท้องถิ่นต่าง ๆ เข้ารับการอบรมเรื่องการบำรุงพันธุ์ เรื่องดินและเรื่องปุ๋ย แล้วให้กลับไปปฏิบัติงานทดลองเรื่องพันธุ์ข้าว และทดลองปุ๋ยยังท้องถิ่นที่ประจำอยู่ พนักงานที่ได้รับการอบรมในรุ่นแรก จำนวน 77 คน จาก 35 อำเภอ ได้แสดงความสามารถทันที่ที่กลับไปถึงท้องถิ่น และมีการรวบรวมพันธุ์ข้าว จากนา 938 แห่ง 35 อำเภอ เป็นจำนวนกว่า 120,000 รวงหลายสายพันธุ์ เพื่อส่งมาทำการคัดพันธุ์ ตามสถานีทดลองต่าง ๆ และในปี พ.ศ.2494 – 2496 ได้มีการขยายการทดลองเรื่องพันธุ์ข้าวและปุ๋ยให้เผยแพร่ออกไปจนทั่วประเทศ และพนักงานตามท้องถิ่นได้รับการอบรมเพิ่มขั้นอีกกว่า 150 คน งานที่ ดร.อาร์ แอล เพนเดิลตัน (Dr. R.L. Pendleton) และ ดร. เอช เอช เลิฟ (Dr. H.H. Love) วางแนวไว้จึงสามารถขยายกิจการออกไปอย่างกว้างขวาง เป็นโครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวและการใช้ปุ๋ยในนา ซึ่งเป็นโครงการที่รู้จักกันแพร่หลายทั่วโลก
วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2496 ได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2496 มีการจัดตั้งกรมการข้าวขึ้นภายในกระทรวงเกษตร ทำให้งานวิจัยทางด้านข้าว ได้รับงบประมาณมากขึ้น สามารถขยายขอบข่ายไปทั่วประเทศ ซึ่งการจัดตั้งกรมการข้าวในครั้งนี้ เกิดจากผลงานของ ดร.อาร์ แอล เพนเดิลตัน (Dr. R.L. Pendleton) และ ดร. เอช เอช เลิฟ (Dr. H.H. Love) ที่ได้จัดตั้งโครงการปรับปรุงพันธุ์ข้าวและการใช้ปุ๋ยในนาข้าวเมื่อ พ.ศ. 2495 ซึ่งเป็นโครงการร่วมมือระหว่าง องค์การรักษาความมั่นคงร่วมกันของประเทศสหรัฐอเมริกา และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ของประเทศไทย โครงการดังกล่าวประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานีทดลองคลองรังสิต
ต่อมาในปี 2504 Dr. F.R. Moormann ชาวเนเธอแลนด์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญขององค์การอาหารและเกษตร แห่งสหประชาชาติได้เข้ามาปฏิบัติงานในประเทศไทยในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญการสำรวจดิน และได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยจากกรมการข้าวและกรมกสิกรรม คือ ดร.สาโรช มนตระกูล และ ดร. สมาน พาณิชย์-พงส์ ทำการศึกษาและปรับปรุงการจำแนกดินของประเทศไทย โดยอาศัยแผนที่ดินที่ Dr. Pendleton ได้จัดทำไว้เป็นหลัก และได้เริ่มโครงการสำรวจจำแนกและทำแผนที่ดินเป็นรายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางก่อน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2506 ได้มีการจัดตั้งกรมพัฒนาที่ดินขึ้น ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ

เนื้อหาโดย: Conan Notkill
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Conan Notkill's profile


โพสท์โดย: Conan Notkill
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: Conan Notkill
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
หดหู่ เด็กหญิง 13 ปี โดนล่อไปชายหาด ให้เพื่อนกว่า 30 คน รุมกินโต๊ะจนสลบครอบครัวซัมมิตไม่ยอมขายที่ดิน เพราะมีคุณค่าทางจิตใจ จนราคาทะลุ 13 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลียหลานอึ้ง จ้างแรงงานต่างด้าวมาดูแลยาย เปิดกล้องถึงกับตกใจหนุ่มน้อยวัย 2 ขวบหนักกว่า 26 กก. ทำชาวเน็ตอดเป็นห่วงไม่ได้โรงแรมสุดล้ำ สร้างขึ้นด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ แห่งแรกของโลก ในสหรัฐอเมริกาเด่นคุณ เปิดใจครั้งแรก สาเหตุเลิก แกรนด์ เดอะสตาร์ รักมาก แต่ต้องจบเพราะอะไร?สามีและภรรยาชาวลาว "บ่าวน้อย ปากเซ" ขอบคุณคนไทยที่ให้โอกาสได้ทำงานสภาพของกระดูกคนที่เป็นมะเร็งกระดูกน้ำท่วมเชียงใหม่ โรงแรมแชงกรี-ลา เชียงใหม่ไม่ท่วมเพราะอะไรว่าที่ ผบ.ตร. คนที่ 15TikToker สาวญี่ปุ่นทำอาหารในอพาร์ตเมนต์ที่เต็มไปด้วยแมลง ถูกไล่ออกหลังค้างค่าเช่านาน 21 เดือนGoogle ยอมจ่าย 2.7 พันล้านดอลลาร์เพื่อดึงตัวอัจฉริยะด้าน AI วัย 48 ปี โนอาห์ ชาเซียร์ กลับมาทำงาน
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
สามีและภรรยาชาวลาว "บ่าวน้อย ปากเซ" ขอบคุณคนไทยที่ให้โอกาสได้ทำงานหนุ่มน้อยวัย 2 ขวบหนักกว่า 26 กก. ทำชาวเน็ตอดเป็นห่วงไม่ได้โรงแรมสุดล้ำ สร้างขึ้นด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ แห่งแรกของโลก ในสหรัฐอเมริกา
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
หวาง หมิน ท่ง (ผู้ที่หลงรักจักรพรรดิ​ผู่อี๋จนวันสุดท้าย...)ไวรัลเดือด ฝรั่งเมาโดนสาวไทยรุมจัดหนัก หลังลวนลามกลางพัทยา ชาวเน็ตสะใจแมงกะพรุนไข่ดาว Cotylorhiza tuberculata10 วิธี ที่จะช่วยกระตุ้นตัวเองให้ออกกำลังกายทุกวัน
ตั้งกระทู้ใหม่