หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

บิดาแห่งกฎหมายไทยปูชนียบุคคลด้านเกษตร?

โพสท์โดย Conan Notkill

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์

(พ.ศ. 2417 – 2463 * นาทดลองคลองรังสิต สมัยเป็นเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ)

 

        พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 14 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระองค์ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาตลับประสูติเมื่อวันพุธ ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 11 ปีจอ จุลศักราช 1236 ตรงกับวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2417 ต่อมาทรงได้รับพระราชทานนามจากพระราชบิดาว่า "รพีพัฒนศักดิ์" เมื่อทรงพระเยาว์พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ทรงได้รับการอภิบาลจากเจ้าจอมมารดาตลับ หม่อมราชวงศ์วงศ์ พึ่งบุญ และพระยาเวียงในนฤบาล (หรั่ง เกตุทัต)
        เมื่อเจริญวัยขึ้นพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ทรงเข้าศึกษาวิชาภาษาไทยเบื้องต้นกับพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) โดยใช้เก๋งกรงนกภายในพระบรมมหาราชวังเป็นที่ทรงพระอักษร [4] เมื่อทรงศึกษาวิชาภาษาไทยจบแล้ว ก็ทรงเข้าศึกษาต่อที่สำนักของบาบู รามซามี โดยใช้โรงเรียนทหารมหาดเล็กเป็นที่ถวายพระอักษรจนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2426 ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เข้าศึกษาในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ

       ในการส่งพระราชโอรสไปศึกษายังต่างประเทศของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์เป็นพระราชโอรสกลุ่มแรกที่ทรงไปศึกษาต่อในทวีปยุโรป เมื่อ พ.ศ. 2428 พร้อมกัน 4 พระองค์ คือ
        • พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ (กรมพระจันทบุรีนฤนาถ)
        • พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ (กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์)
        • พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม (กรมหลวงปราจิณกิติบดี)
        • พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช (กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช)


        แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้ทรงแยกกันเรียน โดยพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ พระองค์โปรดเกล้าฯ เสด็จไปศึกษาที่กรุงเอดินบะระ ประเทศสกอตแลนด์ โดยให้หมอเกาวัน เป็นผู้จัดการศึกษาในการนี้เป็นเพียงการศึกษาเบื้องต้น จึงมีเพียงครูชาวต่างชาติมาถวายพระอักษรที่ตำหนักครึ่งวัน และหม่อมเจ้าเพิ่ม ลดาวัลย์ถวายการสอนภาษาไทยอีกครึ่งวัน
พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ทรงศึกษาวิชาภาษาละติน วิชาภาษาอังกฤษ และวิชาภาษาฝรั่งเศสอยู่ 2 ปี จึงเสด็จ นิวัติประเทศไทย จนถึงปี พ.ศ. 2431 จึงเสด็จไปศึกษาต่อในชั้นมัธยมอยู่ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และต่อมาปี พ.ศ. 2434 ทรงเลือกศึกษาวิชากฎหมายต่อที่วิทยาลัยไครส์ตเชิช ในมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์-ฟอร์ด จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2337 ทรงสามารถสอบไล่ได้ตามหลักสูตรชั้นปริญญาเกียรตินิยม จากนั้นจึงเสด็จกลับประเทศไทย ด้วยพระอัจฉริยภาพที่มีมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ จึงได้รับพระสมญาว่าเฉลียวฉลาดรพี

 

ทรงสร้างสถานีกสิกรรม

      เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นคลองราชสมบัติต่อจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งเสด็จสวรรคตในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 นั้น ต่อมาในพ.ศ. 2455 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ และในปีเดียวกันทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เป็น พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ระหว่างที่ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ได้ทรงจัดการเกี่ยวกับทะเบียนที่ดิน โดยทรงแก้ไขและเพิ่มเติมพระราชกำหนดกฎหมายและระเบียบการทะเบียนที่ดินให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ทรงจัดการให้มีพระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดินขึ้น 2 ฉบับ คือใน พ.ศ. 2459 และ พ.ศ. 2462 นอกจากนี้ ได้ทรงจัดการเกี่ยวกับเหมืองแร่เพราะกรมโลหกิจ สังกัดในกระทรวงเกษตราธิการ โดยทรงเปิดทำเหมืองแร่ทางหัวเมืองฝ่ายเหนือใน พ.ศ. 2458 ทรงเพิ่มพนักงานใน กรมโลหกิจ และออกพระราชบัญญัติการทำเหมืองแร่เพื่อช่วยให้การทำเหมืองแร่สะดวกขึ้น คือพระราชบัญญัติ การทำเหมืองแร่ พ.ศ. 2461 ในด้านการเพาะปลูกและการปศุสัตว์ ได้ทรงจัดสร้างสวนทดลองการเพาะปลูกขึ้น ที่จังหวัดพิษณุโลกใน พ.ศ. 2458 ต่อมา เริ่มจัดทำนาทดลองขึ้นที่คลองรังสิตใน พ.ศ. 2459 ทรงจัดตั้งโรงเรียน สัตวแพทย์ ขึ้นในกรมเพาะปลูกใน พ.ศ. 2457 และเริ่มฉีดยาป้องกันโรคระบาดสัตว์ในท้องที่ที่เกิดโรค
      นอกจากนี้ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ได้ทรงเสนอความเห็นว่าในการบำรุงการเพาะปลูก ต้องอาศัยการ ทดน้ำในทางวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยให้น้ำฝนน้ำท่าซึ่งไหลหลากผิดปรกตินั้นให้เป็นไปตามธรรมดา เมื่อพระบาทสมเด็จ-พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดทำตามโครงการได้ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ จึงทรงร่วมกับเซอร์ทอมัส วอร์ด ผู้เชี่ยวชาญการชลประทาน จัดทำโครงการทดน้ำสำหรับพื้นที่ราบตลอดขอบเขตบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อโครงการย่อยตอนต่าง ๆ ทุกโครงการในทุ่งราบภาคกลางเสร็จสมบูรณ์ จะต้องสร้างเขื่อนระบายน้ำขนาดใหญ่กั้นแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดชัยนาท เพื่อให้โครงการย่อย ๆ นั้นเชื่อมต่อกับเขื่อนระบายน้ำ ที่ จังหวัดชัยนาท ให้สามารถทดน้ำที่มีปริมาณเพียงพอไปใช้ในทุ่งนาทั้ง 2 ฝั่ง ซึ่งมีผลดีต่อการเพาะปลูก โดยการจัดทำจะแบ่งทำเป็นส่วน ๆ ไป ต่อมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมทดน้ำ (ปัจจุบันคือ กรมชลประทาน) ขึ้นใน พ.ศ. 2457 เพื่อดำเนินการตามรูปโครงการ โดยเริ่มจัดทำโครงการป่าสักใต้ ซึ่งเป็นโครงการตอนที่ 3 ก่อนใน พ.ศ. 2459 การดำเนินโครงการเพื่อการเกษตรนี้ดำเนินมาใกล้จะเป็นผลสำเร็จ แต่พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ก็ทรงพระประชวรด้วยวัณโรค
      ในปีพุทธศักราช 2458 กระทรวงเกษตราธิการได้จัดสร้างสวนทดลองการเพาะปลูก (สถานีกสิกรรม) ขึ้นแห่งหนึ่งที่อำเภอพรมพิราม จังหวัดพิษณุโลก ต่อมาในปี พ.ศ. 2459 ได้เริ่มจัดทำนาทดลองขึ้นที่คลองรังสิต โดยจะคัดเลือกและทดลองปลูกขยายพันธุข้าวที่ดีที่สุดและหาวิธีส่งเสริมการเพาะปลูกมาแนะนำให้แก่ราษฎร เช่น การเลี้ยงไหม ต่อมาในปี พ.ศ. 2462 พระองค์ทรงประชวรด้วยโรควัณโรคที่พระวักกะ (ไต) จึงได้กราบบังคมทูลลาพักราชการเพื่อรักษาพระองค์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ทรงลาพักราชการเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2462พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เสด็จไปรักษาพระองค์ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และสิ้นพระชนม์ที่กรุงปารีส เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2463 ขณะพระชันษา 47 ปี พระศพของพระองค์ได้รับการถวายพระเพลิงที่กรุงปารีส แล้วเชิญพระอัฐิกลับประเทศไทย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ มีพระโอรสธิดารวม 13 องค์ เช่น หม่อมเจ้าหญิงชวลิตโอภาส กิติยากร หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์ หม่อมเจ้าหญิงดวงทิพย์โชติแจ้งหล้า อาภากร.

 

ทรงช่วยเหลือผู้ต้ององอุทกภัย พ.ศ. 2460

 

        เมื่อ พุทธศักราช 2460 เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ พื้นที่การทำนาเสียหายประมาณ 3 ล้าน ไร่ พระบาทสมเด็จ-พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรรมการช่วยเหลือ เรียกว่า กรรมการจัดการเกื้อหนุนราษฎรที่ต้องอุทกภัย มีพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติเป็นประธานกรรมการ กรรมการได้ประชุมปรึกษาหารือกันแบ่งหน้าที่ให้กระทรวงต่าง ๆ เป็นผู้ช่วยเหลือ คือ กระทรวงพระคลัง มีหน้าที่ในการทำบัญชีทดรองข้าวกิน พันธุ์ข้าว และหาซื้อโคกระบือ กระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่แจกข้าวกิน และพันธุ์ข้าว และจัดการช่วยเหลือในเรื่องซื้อโค กระบือ และจำหน่ายให้แก่ราษฎร กระทรวงเกษตราธิการ มีหน้าที่จัดหาซื้อพันธุ์พันธุ์ข้าวส่งไปจังหวัด ๆ เพื่อจำหน่ายแก่ราษฎรที่ขาดแคลน และจัดแพทย์ไปตรวจโคกระบือที่จะซื้อมาจังหวัดต่าง ๆ ได้ขอพันธุ์ข้าวมารวม 8 จังหวัด คือ นนทบุรี มีนบุรี พระนครและ ธนบุรี ธัญญบุรี ปทุมธานี อยุธยา ลพบุรีและสระบุรี เป็นจำนวนพันธุ์ข้าวรวมทั้งสิ้น 23,817 เกวียน ซึ่งเป็นหน้าที่ของ กระทรวงเกษตราธิการจะจัดหาซื้อส่งให้ พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการได้ทําความตกลงกับกระทรวงพระคลังขอตั้งเงินงบประมาณค่าพันธุ์ข้าวไว้ 2 ล้านบาทโดยขอให้ส่งไปตั้งจ่ายทางคลังจังหวัดที่เจ้าหน้าที่จะไปจัดซื้อข้าวปลูกตามจำนวนที่จะแจงไปเป็นคราว ๆ และได้จัดตั้งกองจัดซื้อพันธุ์ข้าวมอบให้ พระพิพิธสาลี (เหล็ง จุลมกร) เจ้าพนักงานออกโฉนด เป็นหน้าจัดการ และได้จัดพนักงานทุก ๆ กรมกองให้ไปช่วยดำเนินการ เมื่อพุทธศักราช 2460
      เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2460 พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ทรงเรียกเจ้าหน้าที่ ชั้นหัวหน้า 20 คน ไปประชุมที่วัง ทรงมีพระกระแสรับสั่งแนะนำวิธีการซื้อขายและดูข้าว ตวงข้าว ชั่งสอบข้าว วิธีการขนพันธุ์ข้าวส่งให้แก่จังหวัดและวิธีที่จะติดต่อกับราษฎรผู้ขายข้าวและเจ้าหน้าที่ทางฝ่ายบ้านเมือง เพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือร่วมมือด้วยดี พระกระแสรับสั่งนี้เจ้าหน้าที่ได้บันทึกไว้และพิมพ์แจกให้เจ้าหน้าที่ ๆ จะออกไปดำเนินการทราบทุกคน และทรงมีคำสั่งวางระเบียบการต่าง ๆ อีกมาก เพื่อให้เจ้าหน้าที่ถือเป็นแนวทางปฏิบัติการดำเนินงานจัดหาซื้อพันธุ์ข้าวและจัดส่งให้แก่จังหวัดเพื่อจำหน่ายแก่ราษฎรที่ขาดแคลนพันธุ์ข้าว ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนพฤษภาคมจึงสั่งเลิกดำเนินการ เนื่องจากน้ำลดและราษฎรสามารถหาพันธุ์ข้าวมาได้เอง การจัดหาพันธุ์ข้าวและจัดส่งให้ จังหวัดต่าง ๆ ในครั้งนี้รวมทั้งสิ้น 6,444 เกวียน 50 สัด น้ำหนักรวม 11,214,569 ปอนด์ คิดเป็นเงินจำนวน 402,797 บาท

 

ทรงร่วมจัดการการชลประทานในระยะแรก 

      พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชปรารภ การทำนาเป็นสิ่งสำคัญสำหรับประเทศ โภคทรัพย์ของแผ่นดินจะสมบูรณ์มั่งคั่งได้ก็ด้วยการทำนาได้ผลดีเป็นที่ตั้งเพราะประเทศไทย มีพื้นที่กว้างขวางอยู่ใน ที่ราบเหมาะแก่การกสิกรรม และการทำนาของประเทศเรานั้น ตามปรกติแต่เดิมมา ทำกันโดยอาศัยอำนาจแห่งดินฟ้าอากาศเป็นที่ตั้ง กล่าวคือ เมื่อใดน้ำมากเกินไปหรือน้อยเกินไปก็เสียผล ทั้งนี้ก็ด้วยขาดน้ำส่งไปหล่อเลี้ยงในเวลาน้ำน้อย และเวลาน้ำมากเกินไป น้ำก็ท่วมทำให้ข้าวเสียเครื่องมือที่พอจะช่วยได้ก็มีแต่เครื่องระหัด แต่ก็ได้ผลน้อย จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ว่าจ้างชาวต่างประเทศผู้เชี่ยวชาญฝ่ายการชลประทานเข้ามาเป็นที่ปรึกษาในการที่จะคิด แก้ไขปรับปรุงให้การทำนาได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2445 ได้ตกลงจ้างนาย เย. โฮมาน วานเดอร ไฮเด วิศวกร ชาวฮอลันดา มาทำการในครั้งนั้นเจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว. หลาน กุญชร ณ อยุธยา) ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ นาย เย. โฮมาน วานเดอร ไฮเด ได้ทำการสำรวจพื้นที่และสอบสวนอยู่เป็นเวลา 8 เดือนเศษ และได้ทำรายงานโครงการสำรวจพื้นที่ราบตอนกลางของประเทศไว้แล้ว แต่มาติดขัดด้วยการเงิน จึงไม่อาจดำเนินการตามโครงการที่นาย เย. โฮมาน วานเดอร ไฮเด เสนอได้ นาย เย. โฮมาน วานเดอร ไฮเด จึงกราบถวายบังคมทูลลาออกกลับไปยังประเทศฮอลแลนด์ ทรงร่วมจัดการการชลประทานในระยะแรก
      แต่อย่างไรก็ดี แม้นาย เย. โฮมาน วานเดอร ไฮเด จะมิได้เป็นผู้ลงมือทำการชลประทาน จนเป็นผลสำเร็จ ก็ตามแต่โครงการก่อสร้างของนายโฮมาน วานเดอร ไฮเด ก็กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการซึ่งได้จัดทำในเวลาต่อมา หลังจากที่นาย เย. โฮมาน วานเดอร ไฮเด กลับไปแล้ว ประเทศไทยก็ได้ระงับเรื่องการสร้างชลประทานไว้เป็นการชั่วคราวก่อนต่อมา เมื่อพระเจ้าพี่ยา กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ได้ดำรงตำแหน่งแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ มีพระดำริว่าการชลประทานเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับความต้องการของประเทศในขณะนั้น ทั้งเกิดดินฟ้าอากาศวิปริตผันแปร การทำนาไม่ได้ผลเต็มเม็ดเต็มหน่วย ทรงพิจารณาโครงการของนาย เย. โฮมาน วานเดอร ไฮเด อีกครั้งหนึ่ง จึงทรงนำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา ในการที่จะทำนุบำรุงการเพาะปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำนาให้ได้รับผลดียิ่งขึ้นก็จำเป็นที่จะต้องอาศัยการทดน้ำ (การชลประทาน) โดยใช้หลักทางวิชาวิทยาศาสตร์เข้าช่วย เมื่อได้ทรงพิจารณาโครงการของนายเย. โฮมาน วานเดอร ไฮเด และทรงเห็นว่าเป็นโครงการที่จะอำนวยประโยชน์อย่างจริงจังแม้จะต้องการใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนมากหลายสิบล้าน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวหัว ได้ทรงพิจารณาคำกราบบังคมทูลของพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ แล้วได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมเสนาบดีอีกครั้งหนึ่ง ที่ประชุมเสนาบดี คงยืนยันข้อขัดข้องเรื่องเงินที่ จะใช้จ่ายตามโครงการอีกเช่นครั้งก่อน ในที่สุดพระเจ้า พี่ยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงรับรองต่อที่ประชุมเสนาบดีว่าพระองค์จะเป็นผู้จัดการ เรื่องเงินเอง ขอให้ที่ประชุมรับรองและลงมติให้จัดการตามโครงการนี้ก็แล้วกัน ในที่สุดที่ประชุมเสนาบดีก็อนุโลมตาม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาติให้จัดทำโครงการทดน้ำขึ้นได้ และได้ตกลงขอยืมเซอร์ โธมัส วาร์ด ซึ่งเป็นชาวอังกฤษและเป็นผู้เคยทำระบบชลประทาน เซอร์โธมัสวาร์ด ได้จัดวางโครงการชลประทานทั่วทั้งพื้นที่ราบตอนกลางและต้องสร้างเขื่อนเขื่อนระบายน้ำขนาดใหญ่กั้นแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดชัยนาท เพื่อสามารถทดน้ำให้มีปริมาณเพียงพอไปใช้ในทุ่งนาทั้ง 2 ฝั่ง และได้วางโครงการสำหรับพื้นที่ในภาคเหนืออีกด้วย เริ่มก่อสร้างการชลประทานโครงการป่าสักใต้เดิมรัฐบาลคิดว่าเงินที่จะใช้จ่ายในการก่อสร้างการชลประทานตามโครงการของ เซอร์ โธมัส วาร์ด จะได้จากเงินกู้จากต่างประเทศ แต่ในเวลานั้นได้เกิดสงครามขึ้นในยุโรป การจัดหาเงินกู้จากต่างประเทศ จึงต้องระงับไว้ชั่วคราว แต่ได้ตกลงว่าจะเริ่มเริ่มจัดการทดน้ำเพื่อบำรุงที่นาตามโครงการตอนที่ 3 ก่อน คือ ตอนที่เรียกว่า โครงการป่าสักใต้ กรมทดน้ำได้ลงมือเตรียมการขั้นต้นไว้พร้อมแล้ว รวมทั้งการทำแผนที่การวัดระดับพื้นดิน การจัดสั่งซื้อเครื่องจักรเครื่องมือ และการจัดซื้อที่ดินตามพระราชกฤษฎีกา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2458 

 

        การก่อสร้างได้เริ่มลงมือในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2459 โดยนายอาร์.ซี. อาร์. วิลสัน เป็นผู้บังคับบัญชาและและดำเนินงานพร้อมด้วยนายช่างกล ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ถึงแม้เหตุการณ์สงครามจะทำให้การงานต้องล่าช้าติดขัดไปบ้าง กรมทดน้ำก็ยังสามารถดำเนินการเป็นผลสำเร็จเรียบร้อยตลอดมา เช่น ได้เริ่มทำการขุดดินสำหรับทำประตูระบายน้ำ พร้อมกับขุดคลองส่งน้ำสายใหญ่และรวบรวมหิน ซิเมนต์ เครื่องเหล็ก เครื่องใช้อื่น ๆ พอควรสำหรับจะ ใช้งานในครั้งนั้น

        ในเดือนเมษายน พุทธศักราช 2460 ได้ลงมือวางรากสำหรับการก่อหินสร้างเขื่อนเปิดน้ำ และได้ทำสัญญากับบริษัทช่างกลสก๊อตแลนส์ในประเทศอังกฤษ ให้เป็นผู้ส่งบานประตู ส่วนเครื่องเหล็กอื่น ๆ เช่น บานประตูเหล็กสำหรับทำประตูระบายใหญ่ต้นคลองส่งน้ำบานประตูเหล็ก เคร่าเหล็ก และเครื่องสำหรับปิดเปิดบานประตูระบายอื่น ๆ ทุกประตู เครื่องเหล็กทำสะพานบานประตูน้ำทางเรือสัญจรไปมา ได้จัดประกอบในโรงงานของกรมทดน้ำที่กรุงเทพฯ ทั้งสิ้นในระหว่างที่กำลังก่อสร้างสถานที่ทำการทดน้ำระบายน้ำอยู่นั้น การขุดคลองด้วยเครื่องจักรก็ได้ดำเนินต่อมาเรื่อย ๆ มิได้หยุดชะงักเหมือนในครั้งแรกที่ต้องรอรับเครื่องจักรและขาดเชื้อเพลิง ที่ต้องหาในประเทศบ้างเป็นครั้งคราว การขุดคลองโดยมากขุดด้วยเครื่องจักรซึ่งสั่งซื้อมาจากสหรัฐอเมริกา และการขุดดินด้วยแรงคนคงใช้เฉพาะที่จำเป็นครั้งบางคราว ส่วนสะพานข้ามคลองซึ่งทำด้วยคอนกรีตและก่อรากหินนั้น ก็ได้ทำขึ้นไว้เป็นตอน ๆ มีจำนวนและระยะห่างกันพอสมควร สะพานใหญ่ที่สุดในจำนวนนี้ คือสะพานรองรับทางรถไฟสายนครราชสีมา ข้ามคลองส่งน้ำสายใหญ่ที่หลักกิโลเมตรที่ 11 นับแต่ต้นคลองไป และได้จัดการวางท่อสำหรับหรับระบายน้ำ จากทุ่งนาลอดใต้คลองส่งน้ำสายใหญ่ออกไป รวมทั้งท่อระบายน้ำลงในคลองไว้ด้วย

        ในปี พุทธศักราช 2465 การก่อสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำป่าสักและคลองต่าง ๆ ก็สำเร็จ ถึงแม้จะช้าใช้เวลาในการก่อสร้างนาน แต่ก็เป็น ประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพเพาะปลูกของราษฎรไทยอย่างยิ่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามคลองรพีพัฒน์ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ในโอกาสที่เสด็จพระราชดำเนินทรงเขื่อน เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469

      ทรงลาพักราชการเพื่อรักษาพระองค์ในปีพุทธศักราช 2462 พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ ประชวรพระโรคที่พระวักกะ ได้ขอพระราชทานกราบถวายบังคมลาพักราชการ รักษาพระองค์ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯ ให้พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงลาพักราชการจนกว่าจะหายประชวร จากนั้น พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ได้เสด็จไปรักษาพระองค์ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส พระอาการประชวรพระโรคที่พระวักกะรุนแรงขึ้น แพทย์ได้ทำการผ่าตัดรักษา และถวายโอสถอย่างเต็มความสามารถ แต่พระอาการ หาทุเลาลงไม่มีแต่ทรงกับทรุดลงทุกวันสุดกำลังความสามารถที่แพทย์จะถวายการรักษาได้ และในวันเสาร์ ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2463 เวลาประมาณ 21 นาฬิกา พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ก็สิ้นพระชนม์ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส สิริพระชันษาได้ 45 ปี 9 เดือน 17 วัน การจากไปของพระองค์ท่านนำความโศกเศร้าเสียใจมาสู่ศิษยานุศิษย์ พระบรมวงศานุวงศ์และประชาชน อย่างยิ่ง พระศพของพระองค์ท่านได้รับการประกอบพิธีถวายเพลิงพระศพ ณ กรุงปารีส และได้อัญเชิญพระอัฐิเข้ามากรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2463 สถานที่บรรจุพระอัฐิพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ คือ สุสานหลวงวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

        ที่มา : สุนทรี อาสะไวย์. “ประวัติคลองรังสิต 2431–2457” : พิมพ์ที่สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2530)

เนื้อหาโดย: Conan Notkill
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Conan Notkill's profile


โพสท์โดย: Conan Notkill
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: แสร์
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
สภาพของกระดูกคนที่เป็นมะเร็งกระดูกหลานอึ้ง จ้างแรงงานต่างด้าวมาดูแลยาย เปิดกล้องถึงกับตกใจสะเทือนอเมริกา! "พรพรรณ เกิดปราชญ์" เปิดตัวร่วมทีมออร์แลนโด วาลคิรีส์ ในลีกวอลเลย์บอลสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการหนุ่มน้อยวัย 2 ขวบหนักกว่า 26 กก. ทำชาวเน็ตอดเป็นห่วงไม่ได้ยูทูบเบอร์ชาวมาเลเซียขับ Tesla ผ่านสุสานเที่ยงคืน เซ็นเซอร์รถจับบางอย่างสุดหลอนน่ายินดีๆ กรุงเทพฯ ติดอันดับ 4 เมืองที่เป็นมิตรที่สุดในโลกจากนิตยสาร Condé Nast TravellerTikToker สาวญี่ปุ่นทำอาหารในอพาร์ตเมนต์ที่เต็มไปด้วยแมลง ถูกไล่ออกหลังค้างค่าเช่านาน 21 เดือนโรงแรมสุดล้ำ สร้างขึ้นด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ แห่งแรกของโลก ในสหรัฐอเมริกาสามีและภรรยาชาวลาว "บ่าวน้อย ปากเซ" ขอบคุณคนไทยที่ให้โอกาสได้ทำงานหวาง หมิน ท่ง (ผู้ที่หลงรักจักรพรรดิ​ผู่อี๋จนวันสุดท้าย...)หดหู่ เด็กหญิง 13 ปี โดนล่อไปชายหาด ให้เพื่อนกว่า 30 คน รุมกินโต๊ะจนสลบหญิงจีนร้องไห้หนักมาก ไปต่อแถวเข้าเซี่ยงไฮ้ดิสนีย์แลนด์ ออกไปเข้าห้องน้ำแล้วกลับมาเข้าคิวไม่ได้
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
สามีและภรรยาชาวลาว "บ่าวน้อย ปากเซ" ขอบคุณคนไทยที่ให้โอกาสได้ทำงานหนุ่มน้อยวัย 2 ขวบหนักกว่า 26 กก. ทำชาวเน็ตอดเป็นห่วงไม่ได้โรงแรมสุดล้ำ สร้างขึ้นด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ แห่งแรกของโลก ในสหรัฐอเมริกา
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
หวาง หมิน ท่ง (ผู้ที่หลงรักจักรพรรดิ​ผู่อี๋จนวันสุดท้าย...)ไวรัลเดือด ฝรั่งเมาโดนสาวไทยรุมจัดหนัก หลังลวนลามกลางพัทยา ชาวเน็ตสะใจแมงกะพรุนไข่ดาว Cotylorhiza tuberculata10 วิธี ที่จะช่วยกระตุ้นตัวเองให้ออกกำลังกายทุกวัน
ตั้งกระทู้ใหม่