หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

วิจัยเผย “คนนอนตื่นยาก” ฉลาด มีความสุข แถมมีรายได้มากขึ้น

โพสท์โดย ลูกสาวอบต

 

วิจัยเผย!! คนนอนตื่นยาก เป็นคนที่ ฉลาด มีความสุข แถมมีรายได้มากขึ้นด้วย หากคุณเป็น คนนอนตื่นยาก แล้วต้องพยายามดิ้นรนลุกจากเตียงและกดปุ่มเลื่อนนาฬิกาปลุกเพื่อยืดเวลาไปเรื่อยๆ พฤติกรรมนี้อาจไม่ได้หมายความว่าคุณเป็นคนขี้เกียจ แต่ในความเป็นจริงมันอาจเป็นสัญญาณของความฉลาดในตัวคุณก็ได้นะ ได้มีการวิจัยให้เห็นว่าคนที่นอนตื่นยากในตอนเช้าอาจเป็นคนที่มีความฉลาด มีความคิดสร้างสรรค์ และมีความสุขมากกว่าคนอื่น การวิจัยได้รับการสนับสนุนโดยมหาวิทยาลัยเซาแทมป์ตัน โดยมีผู้เข้าร่วมงานวิจัยกว่า 1,229 คนทางมหาวิทยาลัยพบว่าคนที่เข้านอนเวลา 23.00 น. และไม่ตื่นจนกว่าจะ 8 โมงเช้า มีความสุขและมีรายได้ที่ดีกว่าอีกด้วย

 

 

ในขณะที่คนที่นอนตื่นยากจะจัดการนาฬิกาปลุกและกดปุ่มเลื่อนซ้ำๆ ซึ่งเป็นการปรับการนอนหลับ โดยคนเหล่านี้จะรับฟังความต้องการของร่างกายมากกว่าการตื่นเพียงเพราะนาฬิกาปลุก จึงทำให้คนกลุ่มนี้จะค้นหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตัวเอง มีความสามารถในการรับมือกับปัญหาได้ดี มีทักษะในการการวิเคราะห์ จึงส่งผลให้มีความฉลาด มีความคิดสร้างสรรค์ มีอิสระ และมีความสุขเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ดีงานวิจัยนี้ไม่ควรใช้เป็นข้อแก้ตัวสำหรับคุณที่จะนอนเล่นบนเตียงทุกเช้า เว้นแต่เป็นวันหยุดสุดสัปดาห์ ทั้งนี้ The National Sleep Foundation ได้กล่าวไว้ว่าร่างกายมนุษย์ต้องการการนอนหลับเพียง 7-9 ชั่วโมงเพื่อสุขภาพดี

แนวทางการรักษาภาวะนอนไม่หลับ ประกอบด้วย การรักษาโดยไม่ใช้ยา และการรักษาโดยใช้ยา การรักษาโดยไม่ใช้ยา (Non-pharmacologic treatment) เป็นการรักษาหลักสำหรับภาวะนอนไม่หลับ ประกอบไปด้วย การปรับให้มีสุขอนามัยการนอนที่ดี (Good sleep hygiene) เป็นการรักษาที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นพื้นฐานของการรักษาภาวะของโรคนี้ในผู้ป่วยทุกราย การมีสุขอนามัยการนอนที่ดี ทำได้โดยการปรับสภาพแวดล้อมในห้องนอนให้เหมาะสมต่อการนอนหลับ และนำหลักของการเหนี่ยวนำให้เกิดอาการง่วงนอนตามธรรมชาติมาใช้ เช่น การออกกำลังกายอย่างพอเหมาะในช่วงเย็นเพื่อให้เหนื่อยเพลีย ซึ่งเป็นการเพิ่มแรงผลักดันของระบบ Homeostasis ให้มากขึ้น หรือการเข้านอนให้เป็นเวลาและปิดไฟในห้องนอนให้มืดสนิท เพื่อช่วยให้ระบบ Circadian rhythm ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยไม่ถูกรบกวนจากปัจจัยภายนอก เป็นต้น ข้อมูลของการปรับสภาพแวดล้อมและสมดุลของร่างกายให้เหมาะสมกับการนอนหลับได้ แสดงไว้แล้วในตารางที่ 1

 

การฝึกเทคนิคการผ่อนคลาย (Progressive relaxation training) ซึ่งช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อเพื่อทำให้นอนหลับได้ดียิ่งขึ้น การรักษาด้วยความคิดและพฤติกรรมบำบัด (Cognitive-Behavioral therapy) โดยเน้นที่การปรับความคิดเพื่อนำไปสู่การปรับพฤติกรรมและอารมณ์ การรักษาวิธีนี้ได้ประโยชน์มากสำหรับผู้ที่ปัญหาที่เกิดร่วมกับ โรคทางอารมณ์และกลุ่มโรควิตกกังวล การควบคุมปัจจัยกระตุ้น (Stimulus control) การจำกัดชั่วโมงในการนอน (Sleep restriction) สำหรับรายที่มีอาการรุนแรงหรือมีโรคประจำตัวอื่นๆ ร่วมด้วย แพทย์จะให้การรักษาด้วยการปรับสุขอนามัยการนอนและการรักษาโดยการไม่ใช้ยา วิธีอื่นๆ ร่วมไปกับการรักษาด้วยยา ดังจะได้กล่าวต่อไป

ตารางที่ 1: การปรับสภาพแวดล้อมและสมดุลของร่างกายให้เหมาะสมกับการนอนหลับ

การรักษาด้วยการใช้ยา (Pharmacologic treatment) การรักษาด้วยยานั้นเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในสังคม ยาเหล่านี้มักถูกเรียกว่า “ยานอนหลับ” แต่แท้จริงแล้วยานอนหลับไม่ได้หมายถึงยาชนิดใดชนิดหนึ่ง แต่เป็นชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มของยาหลากหลายชนิดที่มีผลโดยตรงหรือมีผลข้าง เคียงทำให้เกิดอาการง่วงและทำให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น ดังนั้นยานอนหลับจึงมีหลายชนิด มีกลไกการออกฤทธิ์และผลข้างเคียงที่แตกต่างกันไป สำหรับยานอนหลับที่ออกฤทธิ์โดยตรงต่อสมองคือ กลุ่มยาเบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepines) โดยออกฤทธิ์เพิ่มการทำงานของสารสื่อประสาทชนิดยับยั้งที่เรียกว่า ‘กาบา (GABA)’ ในสมอง

 

 

เมื่อมีสารนี้เพิ่มขึ้นจะทำให้เกิดอาการนอนหลับโดยตรง นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ช่วยคลายกังวล หยุดอาการชัก และคลายกล้ามเนื้อได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามยากลุ่มนี้มีผลข้างเคียงมาก เพราะยาส่วนใหญ่ออกฤทธิ์ยาวนานกว่าการนอนหลับปกติของคนเรา ทำให้ผู้ที่รับประทานยารู้สึกง่วงนอน สะลึมสะลือในตอนเช้า ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลงและเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ นอกจากนี้ถ้าใช้ยากลุ่มนี้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้เกิดอาการติดยา และทำให้สมองดื้อยา ลดการตอบสนองต่อยา ทำให้ปริมาณยาที่ใช้ในขนาดเดิมไม่ได้ผล ต้องใช้ขนาดยาสูงขึ้นเพื่อให้ได้ผลการตอบสนองเท่าเดิม เป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงจากยาได้มากยิ่งขึ้น และมีโอกาสที่จะติดยาได้มากขึ้นด้วย

 

นอกจากนี้ถ้าหยุดยากลุ่มเบนโซไดอะซีปีนอย่างทันทีทันใดหลังจากการรับประทาน ต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานาน จะมีความเสี่ยงต่อการเกิด ‘อาการขาดยา’ เช่น มือสั่น ใจสั่น ซึมเศร้า และอาจทำให้เกิดอาการชักได้ยากลุ่มแรกที่นิยมใช้เพื่อทำให้เกิดอาการง่วง ได้แก่ยาลดน้ำมูกในกลุ่มยาแอนตี้ฮิสตามีน (Antihistamine) เนื่องจากยากลุ่มนี้มีผลข้างเคียงคือทำให้เกิดอาการง่วง แต่ผลดังกล่าวมักจะไม่มากและความรู้สึกง่วงนอนของแต่ละคนก็แตกต่างกันอีกด้วย สำหรับยานอนหลับกลุ่มอื่นมักจะเป็นกลุ่มยาที่ใช้สำหรับรักษาโรคทางระบบ ประสาทหรือโรคทางจิตเวชเป็นหลัก เช่น กลุ่มยารักษาโรคซึมเศร้า (Antidepressants) ยาเหล่านี้มักมีผลข้างเคียงมาก จึงใช้เฉพาะผู้ที่มีอาการจากโรคทางระบบประสาทหรือโรคทางจิตเวชเท่านั้น

 

 

ปัจจุบันมีการนำเมลาโทนิน (Melatonin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนตามธรรมชาติที่ช่วยส่งเสริมการนอนหลับมาใช้ในการรักษา พบว่าได้ผลดีในภาวะที่เกิดจากการเดินทางข้ามเส้นแบ่งเขตเวลาหรือ ที่รู้จักกันในชื่อว่า Jet lag หรือในรายที่ต้องทำงานเป็นกะ แต่ประสิทธิภาพในการรักษาภาวะโดยตรงยังไม่ชัดเจนและยังขาดข้อมูลการศึกษาผลของการใช้ยานี้ในระยะยาว ดังนั้นการรักษาด้วยการใช้ยานอนหลับจึงควรเลือกใช้เฉพาะรายที่จำเป็นเท่า นั้น และควรเริ่มใช้ขนาดยาที่ต่ำที่สุด ใช้ยาให้น้อยครั้งที่สุด และไม่ควรใช้ยาติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน

 

ภาพประกอบ หายไปแล้ว

 

ทั้งนี้เพื่อลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดผลอันไม่พึงประสงค์จากยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งโอกาสเสี่ยงต่อการเสียชีวิตหรือการเกิดมะเร็งจากการใช้ยา นอนหลับไม่ว่าจะใช้ปริมาณยานอนหลับมากหรือน้อยเพียงใดก็ตามก็ทำให้เกิดความ เสี่ยงเพิ่มขึ้น โดยสรุป อาการนี้เป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยทั้งในคนปกติและคนที่มีโรคประจำ ตัว นอกจกนี้อาการ อาจบ่งถึงอาการของโรคสมองและระบบประสาทได้ ความเข้าใจกลไกการนอนของมนุษย์จึงมีผลต่อการรักษา การวินิจฉัยและหาสาเหตุนั้น แพทย์จำเป็นต้องได้รับข้อมูลประวัติการนอนหลับที่ละเอียดรวมถึงประวัติการ เจ็บป่วยที่เกี่ยวข้อง

 

การตรวจการนอนหลับด้วยเครื่อง Polysomnography อาจจำเป็นสำหรับผู้ป่วยบางรายที่ยังหาสาเหตุการนอนหลับไม่ได้ชัดเจน หรือผู้ที่อาการยังไม่ดีขึ้นทั้งที่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม การรักษาหลักที่ใช้รักษา คือการปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับ การนอน การรักษาด้วยยานอนหลับจะใช้เฉพาะผู้ที่มีอาการเรื้อรังหรือมี ปัญหาโรคประจำตัวอื่นร่วมด้วยเท่านั้น การรักษาหลักที่ใช้รักษา คือการปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับ การนอน การรักษาด้วยยานอนหลับจะใช้เฉพาะผู้ที่มีอาการเรื้อรังหรือมี ปัญหาโรคประจำตัวอื่นร่วมด้วยเท่านั้น

โพสท์โดย: joo jung
แหล่งที่มา: darasod
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
ลูกสาวอบต's profile


โพสท์โดย: ลูกสาวอบต
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
10 VOTES (5/5 จาก 2 คน)
VOTED: ไปเซเว่นเอาอะไรไหม๊, zerotype
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ลูกค้าหนุ่มเศร้า หลังรีวิวชุดกีฬาที่ซื้อมา แต่ดันพลาดเห็นหนอนน้อยอิหร่านขู่ถล่มที่ตั้งนิวเคลียร์ ของอิสราเอลด้วยขีปนาวุธชาวลาวไม่ทน! หลังหนุ่มจีนโพสทิ้งเงินกีบลงในถังขยะ ทำคนลาวถึงกับไม่พอใจ?
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
สาว "เจี๊ยบ" ทำเนียนเดินรวมกับ นร.ญี่ปุ่น..ทำเอาหนุ่ม "บอย" ถึงกับแยกไม่ออกชาวลาวไม่ทน! หลังหนุ่มจีนโพสทิ้งเงินกีบลงในถังขยะ ทำคนลาวถึงกับไม่พอใจ?อิหร่านขู่ถล่มที่ตั้งนิวเคลียร์ ของอิสราเอลด้วยขีปนาวุธชวนมารู้จักลาบูบู้ มาการอง เดี๋ยวจะคุยกับเค้าไม่รู้เรื่อง
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
รีวิวหนังสือ ฉันแข็งแกร่งพอที่จะเชื่อความคิดของตัวเองtorment: ทรมาน ระทมทุกข์"Colosseum" โคลอสเซียม ณ อิตาลีenhance: เสริม ยกระดับ ทำให้มากขึ้น
ตั้งกระทู้ใหม่