หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

การรักษา-การป้องกัน อาการท้องอืด แน่นท้อง

โพสท์โดย บัส สยามเมืองยิ้ม

ท้องอืด (Bloated stomach) คือภาวะที่ท้องเกิดอาการแน่นเนื่องจากมีแก๊สในกระเพาะอาหาร จนทำให้ท้องดูมีลักษณะบวม ท้องอืดสามารถเกิดขึ้นกับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งเมื่อเกิดอาการแล้วจะส่งผลให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ไม่สะดวกเนื่องจากรู้สึกอึดอัดท้อง ทั้งนี้หากอาการเป็นต่อเนื่องนาน ๆ โดยไม่มีสาเหตุ ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย

อาการท้องอืด

อาการท้องอืด เป็นอาการที่ระบุลักษณะได้ยาก ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่มีอาการท้องอืดมักจะรู้สึกไม่สบายท้อง รู้สึกแน่น นอกจากนี้ยังอาจมีอาการปวด และมีลมในกระเพาะอาหารเป็นจำนวนมาก จนทำให้เรอ หรือผายลมบ่อย บ้างก็มีอาจได้ยินเสียงโครกครากภายในท้อง และมีอาการปวดท้องร่วมด้วย ทั้งนี้หากมีอาการผิดปกติที่รุนแรงเช่น อาเจียนไม่หยุด อาเจียนเป็นเลือด อุจจาระเป็นเลือด หมดสติ ควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที เพราะนั่นคือความผิดปกติที่อาจนำไปสู่อันตรายต่อสุขภาพได้

สาเหตุของอาการท้องอืด

ท้องอืดสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งเกิดจากการปัญหาสุขภาพ หรือเกิดจากอาการการกิน โดยสาเหตุที่ทำให้ท้องอืดมีดังนี้

  • การกลืนอากาศเข้าไปในปริมาณที่มาก การอ้าปาก พูดคุย หัวเราะ หรือแม้แต่หายใจทางปากจะทำให้ลมเข้าไปอยู่ในท้องเป็นจำนวนมาก และจะไหลไปตามระบบลำไส้ จากนั้นจะถูกปล่อยออกด้วยการผายลม ซึ่งถ้าหากลมภายในช่องท้องมีมากเกินไปอาจทำให้เกิดท้องอืดและมีอาการสะอึกร่วมด้วยได้
  • การรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีแก๊สหรือก่อให้เกิดแก๊ส อาหารเช่น ถั่ว บรอกโคลี เครื่องดื่มอัดแก๊ส หรือเบียร์ จะทำให้เกิดการสะสมแก๊สในกระเพาะอาหารจนกลายเป็นอาการท้องอืด แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพระบบย่อยอาหารของแต่ละคนด้วย
  • ท้องผูก อาการท้องผูกเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของท้องอืดที่พบได้บ่อย แต่จะไม่ก่อให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร
  • การรับประทานยาบางชนิด อาหารเสริมหลาย ๆ ชนิด ไม่ว่าจะเป็น ยาระงับอาการปวดชนิดเสพติด (Narcotic Pain Medications) วิตามิน อาหารเสริมธาตุเหล็ก หรือยารักษาอาการท้องผูกอีกหลาย ๆ ชนิด สามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียงอย่างอาการท้องอืดได้
  • การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงของผู้หญิงสามารถก่อให้เกิดภาวะก่อนมีประจำเดือน ซึ่ง 1 ในอาการของภาวะนี้จะทำให้ร่างกายมีน้ำเพิ่มขึ้น จนเป็นสาเหตุของอาการท้องอืดนั่นเอง
  • ความอ่อนแอของผนังช่องท้อง ผนังช่องท้องที่อ่อนแอเนื่องมากจากการคลอดบุตรหรือการผ่าตัดช่องท้องสามารถก่อให้เกิดอาการท้องอืดได้

ไม่เพียงเท่านั้น อาการท้องอืดยังอาจเกิดจากสาเหตุเหล่านี้ได้ เช่น

  • ตั้งครรภ์
  • โรคอ้วน
  • กรดไหลย้อน (GERD)
  • โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome)
  • การแพ้อาหารชนิดต่าง ๆ เช่น โปรตีนนม เป็นต้น
  • รับประทานอาหารมากหรือเร็วเกินไป
  • แบคทีเรียในกระเพาะอาหารเจริญเติบโตมากเกินไป
  • ความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในภาวะก่อนมีประจำเดือนของผู้หญิง
  • โรคท้องร่วงจากเชื้อเจียอาร์ไดอาซิส (Giardiasis)
  • โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
  • โรคโครห์น (Crohn's Disease)

นอกจากนี้อาการท้องอืดมีสาเหตุมาจากโรคหรือภาวะทางสุขภาพที่รุนแรงและอันตราย ได้แก่

  • ภาวะอาหารผ่านเข้าสู่กระเพาะอาหารอย่างรวดเร็ว
  • ภาวะน้ำในช่องท้อง จากโรคตับหรือโรคไต
  • เนื้องอกในช่องท้อง
  • โรคแพ้โปรตีนกลูเตน
  • โรคมะเร็ง เช่น มะเร็งลำไส้ หรือมะเร็งรังไข่ เป็นต้น

บางครั้งอาจเกิดจากความปกติกับตับอ่อนจนทำให้ไม่สามารถผลิตเอ็นไซม์ที่ใช้ในการย่อยอาหารออกมาได้ ดังนั้นจึงต้องสังเกตความถี่ของอาการ และรีบไปพบแพทย์หากเกิดอาการท้องอืดเรื้อรัง ร่วมกับความผิดปกติอื่น ๆ

การวินิจฉัยอาการท้องอืด

แพทย์จะเริ่มจากการซักประวัติในการรักษา และมีการถามคำถามเบื้องต้น เช่น อาหารที่รับประทาน ยาที่ใช้ ปัญหาสุขภาพที่มี และถามถึงอาการอื่น ๆ ที่อาจมีร่วมกับอาการท้องอืด หลังจากนั้นแพทย์จะทำการตรวจดูบริเวณท้องว่าอาการบวมของท้องนั้นเป็นอย่างไร และอาจมีการฟังเสียงการทำงานของระบบย่อยอาหาร และใช้มือกดที่บริเวณท้องเพื่อทดสอบความแข็งและอาการเจ็บปวด

จากนั้นหากแพทย์ต้องการทราบเกี่ยวกับอาการมากขึ้นก็อาจจะสั่งให้มีการตรวจอื่น ๆ เช่น

  • การจดบันทึกอาหารที่รับประทาน แพทย์จะให้ผู้ป่วยจดบันทึกอาหารที่รับประทานในแต่ละมื้อ ทุก ๆ วัน และช่วงเวลาที่เกิดอาการท้องอืด เพื่อวินิจฉัยว่าอาการท้องอืดเกิดจากสาเหตุใด
  • การตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) สำหรับผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป หรือมีครอบครัวมีประวัติป่วยด้วยโรคมะเร็งลำไส้ การตรวจลำไส้ใหญ่จะช่วยให้แพทย์เห็นภายในลำไส้ใหญ่ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของก้อนเนื้อ เนื้อเยื่อที่อักเสบ หรืออาการเลือดออก ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการท้องอืดได้ โดยแพทย์จะทำการสอดกล้องเข้าไปในลำไส้ผ่านทางช่องทวารหนักเพื่อดูลักษณะของลำไส้ใหญ่ และเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อไปตรวจเพื่อหาวิธีในการรักษาต่อไป
  • การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (Sigmoidoscopy) เป็นการตรวจส่องกล้องที่บริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนปลายและทวารหนัก ซึ่งจะช่วยให้เห็นความผิดปกติของลำไส้ได้ดียิ่งขึ้น โดยอุปกรณ์จะมีขนาดเล็กกว่าการตรวจด้วยวิธี Colonoscopy
  • การกลืนแบเรียม (Barium Swallow) การกลืนแบบเรียมเป็นหนึ่งในวิธีตรวจเช็กความผิดปกติของช่องท้อง โดยเมื่อกลืนสารแบเรียมเข้าไปแล้ว แพทย์จะนำตัวผู้ป่วยเข้าเครื่องเอกซเรย์ ผลที่ได้จะช่วยให้เห็นภาพรวมของระบบย่อยอาหารทั้งหมด และวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการท้องอืดต่อไป
  • การตรวจการตั้งครรภ์ บางครั้งการตั้งครรภ์ช่วงแรกอาจแสดงออกมาในรูปแบบของอาการท้องอืด ดังนั้นหากแพทย์สันนิษฐานว่าอาจเป็นการตั้งครรภ์ แพทย์อาจมีการสั่งตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด เพื่อระบุว่าว่าตั้งครรภ์หรือไม่

การรักษาอาการท้องอืด

การรักษาอาการท้องอืดมักจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องอืด ซึ่งโดยส่วนใหญ่แพทย์จะใช้ยาบรรเทาอาการ และให้ผู้ป่วยเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่ออาการท้องอืด เช่น

  • ลดปริมาณอากาศที่กลืนเข้าร่างกาย วิธีที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลืนอากาศเข้าไปทางปากก็คือ การเคี้ยวอาหารให้ช้าลง หลีกเลี่ยงการเคี้ยวหมากฝรั่ง และห้ามใช้หลอดในการดูดเครื่องดื่มเป็นต้น
  • จำกัดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มอัดแก๊ส และมีน้ำตาลสูง เช่น น้ำอัดลม โซดา น้ำผลไม้ที่มีน้ำตาลมาก ๆ เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร เช่น ถั่วชนิดต่าง ๆ และผักที่มีลักษณะเป็นหัว สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการท้องอืดจากการแพ้โปรตีนกลูเตน ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของข้าวสาลีทุกชนิด หากแพ้น้ำตาลแลกโตสก็ควรงดผลิตภัณฑ์จากนมเช่นกัน
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของสารให้ความหวานแทนน้ำตาล โดยสารให้ความหวานที่ควรงดคือ ซอลบิทอล (Sorbitol) เพราะผลิตจากน้ำตาลฟรุกโตสที่เป็นสาเหตุของอาการท้องอืด
  • งดสูบบุหรี่ การเลิกสูบบุหรี่จะช่วยลดการกลืนอากาศเข้าร่างกายมากเกินไป อีกทั้งยังช่วยให้อาการท้องอืดหายไปได้

นอกจากนี้ เพื่อบรรเทาอาการท้องอืดและแก๊สในกระเพาะอาหาร แพทย์มักจะสั่งยาไซเมทิโคน (Simethicone) ซึ่งเป็นยาลดกรดและแก๊สในกระเพาอาหาร สามารถช่วยลดอาการท้องอืด และอาการอึดอัดในช่องท้องได้ โดยยาดังกล่าวจะเข้าไปผลักให้แก๊สเคลื่อนตัวไปตามระบบทางเดินอาหาร

ภาวะแทรกซ้อนของอาการท้องอืด

ภาวะแทรกซ้อนของอาการท้องอืด อาจเกิดขึ้นได้ในขณะที่รู้สึกท้องอืด โดยอาการที่พบ ได้แก่ มีอาการเรอ หรือมีเสียงโครกครากภายในท้อง นอกจากนี้ยังอาจมีการผายลมมากขึ้น และความอยากอาหารลดลง รวมทั้งมีอาการอาหารไม่ย่อยอีกด้วย ทว่าในบางรายอาการท้องอืดที่มีสาเหตุมาจากความผิดของโรคซ่อนอยู่อาจนำไปสู่อาการที่รุนแรงมากขึ้น เช่น อาการหัวใจวาย เป็นต้น

การป้องกันอาการท้องอืด

การป้องกันอาการท้องอืดสามารถทำได้ตั้งแต่การเลือกรับประทานอาหาร โดยควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดอาการท้องอืด รวมทั้งหลีกเลี่ยงการเคี้ยวหมากฝรั่งบ่อย ๆ เพื่อไม่ให้ตัวเองกลืนอากาศเข้าไปมากจนผิดปกติ หากมีอาการท้องอืดบ่อย ๆ เนื่องจากรับประทานอาหารมากเกินไป ควรลดปริมาณอาหารลง หรือย่อยมื้ออาหารจาก 3 มื้อ เป็น 5-6 มื้อ เพื่อให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างเป็นปกติ นอกจากนี้ยังควรสำรวจความผิดปกติของร่างกายอย่างสม่ำเสมอ และควรรีบปรึกษาแพทย์หากมีอาการท้องอืดที่ผิดปกติ

โพสท์โดย: บัส สยามเมืองยิ้ม
แหล่งที่มา: Cr.หมอชาวบ้าน
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
10 VOTES (5/5 จาก 2 คน)
VOTED: zerotype, บัส สยามเมืองยิ้ม
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
นักท่องเที่ยวถูกขโมยกระเป๋าในห้างไทย ต้องตามคนร้ายจากสัญญาณไอพอด ก่อนตำรวจจะจับตัวได้ พบเป็นชาวอินโดฯ ที่มาทำงานในไทย 😏เงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 3 มาแน่! คนทั่วไปรับผ่านดิจิทัลวอลเล็ต กระตุ้นเศรษฐกิจปี 2568เภสัชกรเผย!..อาหารเสริมวิตามิน 3 ชนิดที่คุณควรหยุดกิน!เคล็ดลับ บำรุงผิวหน้าหนาว แก้ปัญหา “ผิวแตก” ดูแลผิวให้ชุ่มชื้นตลอดวันผักที่มีแคลเซียมมากกว่านม 4 เท่า! ค้นพบแหล่งแคลเซียมธรรมชาติที่ขายดีตามตลาดแต่ยังน้อยคนรู้จัก10 ฉายาดารา 2567 เชยจนต้องขยี้ตา หรือเสน่ห์ย้อนยุคที่ยากจะปฏิเสธ?น้ำแข็งใสราวกระจกแห่งไบคาล : ความมหัศจรรย์ของธรรมชาติที่น่าทึ่ง
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
“มนุษย์เกิดมาทำไม?” คำถามที่ปลดล็อกความหมายของการมีชีวิต
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
50 ข้อแนะนำ!! เพื่อชีวิต "ราบรื่น" ในปี 2025สุดยอดสายรุ้ง 360 องศา มหัศจรรย์จากธรรมชาติที่คุณอาจไม่เคยเห็น4 ช่องทางโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ไม่จำเป็นต้องมีเซ็กส์ก็ติดได้วิธีทำให้ถุงร้อน ร้อนเร็วขึ้น
ตั้งกระทู้ใหม่