เรียงลำดับความเผ็ดของพริก และมาดูประโยชน์ของพริกกัน
พริกบางชนิดของต่างประเทศเขา เราก็ไม่คุ้นหน้าคุ้นตา สาวกพริกอยากลองพริกชนิดไหนก็เชิญลองได้ตามอัธยาศัยเลย อย่างรูปข้างบน ชนิด a) ไม่เคยกินจริง ๆ ส่วนน้องเล็กกระจิ๊ดริด j) เรียกว่าพริกขี้หนูนก
พริกชี้ฟ้า vs พริกจินดา พริกชี้ฟ้า e) ใหญ่กว่าพริกจินดา f)
พริกกะเหรี่ยง vs พริกขี้หนู แน่นอนว่าพริกกะเหรี่ยงเผ็ดกว่า น้ำจิ้มสุกี้สูตรพริกกะเหรี่ยง กินไปน้ำตาไหลพราก ๆ
พริกหวาน VS พริกหยวก ที่หลายคนอาจจำสลับกันอยู่ จากรูปพริกหวาน b) ใหญ่กว่าพริกหยวก c)
(ขนมพริกหยวกระดับตำนาน)
ระดับความเผ็ด สารที่ให้ความเผ็ดมีชื่อว่าแคปไซซิน (Capsicin) ซึ่งพบในเนื้อเยื่อมากกว่าในเมล็ด มีสารเคมีอีกชนิดชื่อว่า ไฮโดรแคปไซซิน (Hydrocapsicin) ซึ่งละลายในน้ำมันได้ดี นั่นคือเหตุผลที่ทำไมเวลาเอาพริกไปคั่วกับน้ำมันถึงให้รสเผ็ดแซ่บมากขึ้น
หน่วยวัดความเผ็ด เรียกว่า สโควิลล์ (Scoville) เรียงลำดับความเผ็ดดังนี้
พริกหวาน < พริกบางช้าง < พริกหยวก < พริกฮาลาปิญโญ่ < พริกชี้ฟ้า < พริกมัน < พริกหนุ่ม < พริกขี้หนู < พริกจินดา < พริกกะเหรี่ยง <พริกขี้หนูนก ระดับความเผ็ด 100,000 สโควิลล์
มาดูความเผ็ดพริกต่างประเทศบ้าง
จะเห็นว่าพริกขี้หนูนก อันดับ 1 ของบ้านเรา(100,000 สโควิลล์) อยู่ประมาณกลาง ๆ ค่อนไปทางสูง เพราะที่เผ็ดมากเผ็ดเป็นล้าน
(หน้าตาของพริก 3 อันดับที่เผ็ดที่สุดในโลก)
- ขวาสุด BHUT JOLOKIA ความเผ็ด 1,000,000 สโควิลล์ จากอินเดีย
- อันดับ 2 MORUGA SCORPIAN รสชาติเหมือนผลไม้แต่เผ็ด
- อันดับ 1 COROLINA REAPER ซ้ายสุด รสชาติเหมือนผลไม้ + พริกไทย + อบเชย ซับซ้อนจริง ๆ
ใครอยากลองสามารถสั่งซื้อได้ทางอินเตอร์เน็ตได้ค่ะ แต่ระวังหน่อย เพราะมีคลิปคนที่กินพริกเผ็ดมากแล้วร่างกายรับไม่ไหว
ประโยชน์ของพริก (ทานแต่พอดี)
อุดมด้วยวิตามินแร่ธาตุ วิตามินเอ บีหนึ่ง บีสอง วิตามินซีสูง แมกนีเซียม โพแทสเซียม เหล็ก
- พริกขี้หนูสวนสีเขียวมีโปรตีนสูง
- พริกเหลืองมีเหล็กสูง
- พริกชี้ฟ้าแดงมีวิตามินซีสูง
คนโบราณก็เลยกินพริกเผ็ดร้อนเพื่อช่วยลดน้ำมูก บรรเทาอาการหวัด ช่วยกระตุ้นการเจริญอาหาร
- สีของพริกที่เป็นสีแดง เหลือง เขียว ก็มีเบต้าแคโรทีนซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
มีการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมยา เช่น ยาที่ช่วยลดคลอเลสเตอรอล ยาทาบรรเทาปวด ยาฉีดพ่นรักษาโรคไซนัส
(ส่วนข้างล่างต่อไปนี้แปลมาจากไซต์ต่างประเทศ)
- ช่วยในระบบเผาผลาญ ระบบย่อย ลดแก๊ส บรรเทาอาการท้องเสีย บรรเทาอาการปวดประจำเดือน
- ทำให้หัวใจแข็งแรง
- บรรเทาอาการปวดไมเกรน
- บรรเทาอาการปวด
- ช่วยลดน้ำหนักได้ เบิร์นแคลอรี่
- ทำครีมรักษาผิวหนังจากโรคสะเก็ดเงิน
- ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง
- ป้องกันหวัด
- ช่วยลดอาการปากเหม็น
- ป้องกันโรคภูมิแพ้
หมายเหตุ บริโภคแต่พอดีนะจ๊า ข้อเสียและโทษก็มี ถ้ากินมากไป เลือดสูบฉีดเยอะ เสี่ยงโรคหัวใจ โรคกระเพาะอาหาร ถ้ามีกรดมากจะทำให้แสบท้อง ปวดท้อง ท้องอืด ได้เหมือนกันจ้า