ลาออกจากงาน เบื่องาน หรือ "เบื่อคน" กันแน่ !
ช่วงนี้ได้ข่าวคนรู้จักกัน “ลาออก” เยอะมาก โดยเฉพาะคนที่ อายุเกิน 50 ปี ลูกเรียนจบมีงานทำแล้ว หมดภาระหนี้สินก้อนใหญ่ ไม่ใช่คนเหล่านี้จะตัดช่องน้อยแต่พอตัว แต่ส่วนใหญ่เท่าที่สนทนากัน คือ “เบื่อ”
เบื่อ ระบบ มีแต่ “ตัวชี้วัด”
มากมายมากดดัน ทั้งๆเหตุผล ผลลัพธ์ปลายทางเห็นกันจะๆ สร้างตึกเท่าไหร่ไม่เคยพอ คนไข้ ยังล้นเหมือนเดิม แสดงว่าภาวะสุขภาพไม่ได้ดีขึ้น เหมือนภาพที่สร้าง แต่เงินกับคนดันจำกัดมีแต่น้อยลง แล้วก็แค่สั่งด้วยประโยคอุดมการณ์ขั้นสูงสุดเท่ห์ๆแต่กินไม่ได้”ทำงานห้ามพูดถึงเรื่องเงิน”
เบื่อ คนร่วมงาน วุฒิภาวะไม่มี
อาวุโสไม่สน บางคน แค่หัวโขนในวิชาชีพ นึกว่าจะด่า จะโวยยังไงก็ได้ ขอถ่ายทอดคำพูดจริงๆให้ฟังละกัน “มึงจ่ายเงินเดือนให้กูเหรอ? ถึงมาวีนอย่างกะนายจ้าง นึกว่าตัวเองใหญ่กว่า .38 เหรอ?(สักวันเกิดแน่ กรณีนี้)”
เบื่อ ความยุติธรรม
ต่อให้คิดมาเถอะระบบสุดยอด เกณฑ์ชัดเจน สุดท้ายก็อีหรอบเดิม คือ กลายเป็นซับซ้อนซ่อนเงื่อน เพื่อน/เจ้านายทรยศ รักใครชอบใครก็ให้คนนั้นเยอะอยู่ดี
เบื่อความเหลื่อมล้ำ
เยียวยากันเข้าไป กลัวเด็กใหม่ลาออก ไม่ต้องสนใจตรรกะ ทำไมคนมาทีหลังเงินเดือนเกินคนทำงานมาเป็นสิบปี? พอเงินมันล้ำหน้ากว่า เด็กมันไม่สนหรอกคำว่า “ประสบการณ์” มันคิดว่ามันแน่ สอนยังไงเรื่องอะไรมันจำเป็นต้องฟัง ทีคนเก่านี่จะไปไหนก็ช่างใช่ไหม? ถ้าไม่พอใจก็ออกไปสิ จะได้ไม่ต้องจ่ายค่า เออรี่ รีไทน์ เสียดายฝีไม้ ลายมือ ประสบการณ์หลายๆคนที่ยังเป็นประโยชน์ต่อระบบราชการเยอะ
https://www.facebook.com/ismeth12