ม้าป่าแห่งมองโกเลีย
ม้าป่าแห่งมองโกเลีย
ม้าป่ามองโกล (Mongolian Wild Horse) หรือ ม้าป่าเปรวาสกี้(Przewalski wild horse)(ชื่อวิทยาศาสตร์ : Equus Ferus Przewalskii) มีชื่อเรียกในภาษามองโกล ว่า ทากี (Thaki) ส่วนชื่อ ม้าป่าเปรวาสกี้ ตั้งตามนักภูมิศาสตร์ชาวรัสเซีย นิโคไล เปรวาสกี้ ซึ่งได้สำรวจและบันทึกเรื่องของม้าป่าพวกนี้เป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1881 พวกมันเป็นม้าสายพันธุ์เก่าแก่ที่สุดและใกล้เคียงกับม้าป่าในยุคดึกดำบรรพ์มากที่สุดเท่าที่ยังมีอยู่ในโลกปัจจุบัน
(ม้าป่ามองโกลมีส่วนสูงที่ไห
ม้าป่ามองโกล เป็นสายพันธุ์ย่อยของม้า โดยม้าเป็นสัตว์ที่มีเพียงชนิดเดียวในสกุล(Genus)ของมัน และถือเป็นหนึ่งในสองสายพันธุ์ย่อยของม้าป่าแท้ที่มีในโลกโดยอีกสายพันธุ์หนึ่งคือม้าป่าทาปันของยุโรปที่สูญพันธุ์ไปแล้ว
(ในฤดูหนาว ขนของม้าป่ามองโกลจะยาวขึ้น
จากการศึกษาDNA ล่าสุด ในปี ค.ศ.1918 พบว่า ม้าป่ามองโกล มีDNAที่แตกต่างจากม้าบ้านในปัจจุบัน โดยพวกมันมี DNA ใกล้เคียงกับม้าของวัฒนธรรมโบไต(Botai culture) (ตั้งชื่อตาม แหล่งขุดค้นในชุมชน โบไต ของภูมิภาค อัคมาลา (Akmala region)ในคาซัคสถาน) ซึ่งเป็นวัฒนธรรมโบราณในคาซัคสถานและเอเชียเหนือ ยุคก่อนประวัติศาสตร์เมื่อ 3700 - 3100 ปี ก่อน ค.ศ.
ภาพของม้าชนิดย่อยต่างๆ ได้แก่ ม้าบ้าน(รูปบนทางขวาของภาพ)
แต่เดิมม้าเป็นสัตว์ป่าที่ถูกล่าเพื่อเอาเนื้อเป็นอาหาร มีหลักฐานชัดเจนว่า กลุ่มชนของวัฒนธรรมโบไต เป็นชนกลุ่มแรกของโลกที่นำม้าป่ามาเป็นสัตว์เลี้ยงและใช้ประโยชน์จากเนื้อและนม เมื่อ 3500 ปีก่อน ค.ศ. หรือ 5500 ปีก่อน นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า ม้าป่ามองโกลน่าจะสืบเชื้อสายมาจากม้าของพวกโบไตที่หนีกลับเข้าไปอยู่ป่าเมื่อหัาพันกว่าปีก่อน หรืออาจเป็นได้ว่า บรรพบุรุษของม้าป่ามองโกลมีการผสมปนเปกับม้าโบไตในยุคนั้นและสืบทอดเชื้อสายลงมาเป็นม้าป่ามองโกลปัจจุบัน
(ม้าป่ามองโกลอาศัยอยู่ในทุ่
(ม้าตัวผู้กำลังต่อสู้กัน มัาป่าเพศผู้จะมีนิสัยค่อนข
ลูกม้าป่ามองโกลจะมีสีค่อนข
ปัจจุบัน ม้าป่ามองโกลจัดอยู่สถานะใก












