พ่อ-แม่จำเอาไปใช้ได้ ลูกชายขโมยเงินในกระเป๋า แทนที่จะด่า แม่กลับใช้ไม้เด็ด จนลูกเอาเงินมาคืน และไม่กล้าขโมยอีกเลย
โบราณว่า “ไม่อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก” ถ้าเด็กๆมีพฤติกรรมขโมยแล้วผู้ปกครองไม่แก้ไขตั้งแต่เล็กๆ โตขึ้นแล้วมันจะกลายเป็นนิสัย
ตอนที่คุณพบว่าลูกขโมยเงินครั้งแรก คุณจะทำยังไง?
“พฤติกรรมขโมยเงิน” ของเด็กเป็นปัญหาหนึ่งที่ผู้ปกครองพบบ่อยๆ จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่คลุกคลีอยู่กับผู้ปกครองและเด็กๆมาหลายปี ช่วยพวกเขาแก้ไขปัญหาเรื่องการสั่งสอนและ การเรียนรู้มามากมาย ปัญหาเด็กๆขโมยเงินเป็นปัญหาหนึ่งที่ผู้ปกครองพบกันมาก
ผู้เขียนพบว่าวิธีที่คนส่วนใหญ่ใช้แก้ไขปัญหานี้ ก็คือการดุด่าว่ากล่าว หวังให้ลูกหลานเชื่อฟังจะได้ไม่มีคราวหน้าอีก
แต่การด่าว่าไม่ใช่การแก้ปัญหา “ที่ต้นเหตุ” การใช้วิธีดุด่าสั่งสอน อาจจะไปทำร้ายความภาคภูมิใจในตัวเองของเด็กได้ เวลาผู้ปกครองอบรมบุตรหลานมักจะให้ความสำคัญกับผลการเรียน แต่ละเลยนิสัยและบุคลิกของแก
ตั้งแต่ลูกยังเล็กๆ พ่อแม่ต้องสอนให้แกรู้จักวิธีการหาเงินอย่างถูกต้อง
2 เรื่องด้านล่าง เป็นตัวอย่างของสิ่งที่ผู้ปกครองควรและไม่ควรทำเมื่อพบว่าลูกขโมยเงิน
ต่อหน้าเด็กๆ ทั้งชั้น คุณครูจับหัวขโมยออกมาประจาน… เกิดเหตุของหายขึ้นในชั้นเรียนของเด็กประถมห้องหนึ่ง คุณครูไม่ยอมให้ใครออกจากห้อง แล้วก็ค่อยๆถามทีละคนว่าขโมยของไปรึเปล่า แล้วสุดท้ายก็จับได้ว่าเป็นเด็กผู้หญิงคนหนึ่ง คุณครูชี้หน้าแกต่อหน้าเด็กทุกคนว่าแกเป็นขโมย ทุกคนในชั้นเริ่มซุบซิบกัน
แม้ว่าจะจับขโมยได้ แต่ก็เหมือนฆ่าเด็กผู้หญิงคนนั้นไปพร้อมๆกัน นับตั้งแต่วันนั้น แกไม่เพียงไม่เปลี่ยนนิสัย แต่ยังเกลียดชังคุณครูและเพื่อนๆไปด้วย แม้ว่าเงินจะได้รับคืนแล้ว แต่แกกลับได้สมญานามว่า “หัวขโมย”
วิธีการจับคนผิดแบบนี้ ดีแต่จะทำร้ายความภาคภูมิใจในตัวเองของตัวเด็ก สำหรับผู้ปกครองหรือคุณครู ต้องหลีกเลี่ยงการทำลายความน่าเชื่อถือของเด็กต่อหน้าบุคคลอื่น
คุณแม่พบว่าแบงค์ร้อยหายไปจากกระเป๋าสตางค์ 2 ใบและสงสัยว่าลูก 2 คนหยิบไป
คุณแม่ท่านนี้มีลูก 2 คน ลูกชายคนโตอายุ 12 ขวบ ลูกสาวคนเล็กอายุ 8 ขวบ
วันหนึ่งพี่ชายขโมยเงินแบงค์ร้อย 2 ใบมาจากกระเป๋าสตางค์แม่ เอา 100 นึงให้น้องสาว ส่วนอีกร้อยเก็บไว้ซื้อของเล่นให้ตัวเอง ต่อมาคุณแม่พบว่าเงินหายไป เธอเดาว่าลูกหยิบไป แต่ไม่รู้ว่าลูกคนไหน
แต่คุณแม่ก็ไม่พูดออกมาตรงๆ กลับชักแม่น้ำทั้งห้า….. ตอนที่กำลังทำอาหารมื้อเย็น คุณแม่บอกเด็กๆว่า: “แม่ว่าเงินแม่หายไป 200 ต้องมีขโมยเข้ามาในบ้านเราแน่ๆเลย แม่จะทำยังไงดี” ลูกชายก้มหน้าเงียบ ลูกสาวดูลุกลี้ลุกลน คุณแม่ก็มั่นใจว่าลูกทั้งสองคนเป็นคนเอาไป น้องสาวใจฝ่อ กลัวแม่จับได้ ก็เลยแอบเอาแบงค์ร้อยกลับไปไว้ในกระเป๋าสตางค์แม่เหมือนเดิม แม่รู้สึกว่าลูกน่าจะรู้สึกผิดเอาเงินกลับไปคืนในกระเป๋าแล้ว ก็เลยลองนับใหม่ แล้วก็หัวเราะออกมา “แม่นับผิดเอง คิดว่าหายไป 200 จริงๆแล้วหายไปแค่ 100 ต่างหาก” น้องสาวถอนหายใจ แต่พี่ชายก็ยังนิ่งเงียบเหมือนเดิม แม่ก็เลยพูดต่อว่า : “แม่ไม่คิดว่าคนในบ้านจะเป็นคนเอาไป น่าจะมีขโมยเข้ามาจริงๆ เดี๋ยวรอแม่ทำกับข้าวเสร็จแล้ว พวกเราไปแจ้งตำรวจด้วยกันดีมั้ย” น้องสาวลอบมองหน้าพี่ชาย พี่ชายฉวยโอกาสตอนที่แม่กำลังทำกับข้าว เอาเงินกลับไปคืนที่เดิม
เมื่อเห็นลูกเอาเงินมาคืน แม่ก็ดีใจ แล้วพอตอนคุยกัน คุณแม่ก็บอกว่า : “สงสัยแม่จะแก่แล้วจริงๆ เงิน 100 ไม่ได้หายไปไหนเลย แม่นับผิดเอง แม่นี่ไม่ไหวเล๊ย” พี่ชายและน้องสาวลอบยิ้มให้กัน นับจากนั้นก็ไม่เคยมีเหตุการณ์เงินหายในบ้านอีกเลย
ถ้าพบว่าลูกมีพฤติกรรมขโมยเงิน พ่อแม่สามารถทำแบบนี้ :
ห้ามใช้วิธี “หาคนผิด” เด็ดขาด ห้ามถามลูกว่าขโมยเงินหรือเปล่า หรือบีบบังคับให้แกรับผิด ใช้วิธีชักแม่น้ำทั้งห้า “เตือน” เด็กๆ ทำให้ลูกรู้ว่าพ่อแม่รู้ว่าพวกเขาทำผิด การหาคนผิด ดีแต่จะเป็นการทำลายความภาคภูมิใจของเด็ก ไม่เพียงแต่เด็กๆจะไม่กล้ายอมรับผิด ยังจะทำให้แกยิ่งต่อต้าน
หาสาเหตุที่ลูกขโมยเงินให้เจอ ถึงจะแก้พฤติกรรมขโมยของแกได้ ถ้าลูกขโมยเงินเพื่อไปซื้อของ ในขอบเขตที่เหมาะสม คุณแม่อาจจะให้เป็นรางวัล หรือถ้าไม่ใช่ของที่จำเป็น คุณแม่อาจจะ “ให้ยืมเงิน” นับว่านั่นเป็นค่าขนม แล้วให้เด็กๆค่อยๆคืน ซึ่งวิธีนี้นอกจจะเป็นการป้องกันไม่ให้เด็กๆ ขโมยแล้ว ยังเป็นการปลูกฝังนิสัยให้แกใช้เงินซื้อของอย่างระมัดระวังด้วย
พ่อแม่เป็นครูคนแรกที่ปลูกฝังนิสัยต่างๆให้ลูก วิธีการสอนของพ่อแม่ เป็นตัวตัดสินว่าลูกจะโตมาเป็นแบบไหน
คุณเผด็จการกับลูก ลูกก็จะเผด็จการกับคุณ
คุณใส่ใจดูแลลูก ลูกก็จะขอบคุณคุณ
พ่อแม่เป็นตัวอย่างและเป็นที่พึ่งพาของลูก
ในขณะที่เด็กๆ กำลังเติบโตขึ้น นอกจากการปลูกฝังที่ดีแล้ว ยังต้องไม่สร้างบาดแผลให้แกด้วย ถึงจะเป็นการอบรมสั่งสอนที่ถูกต้อง
แหล่งที่มา: https://www.pop-share.com