เพนิซิลลิน ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียตัวแรกของมนุษย์
เพนิซิลลิน (อังกฤษ: penicillin) หรือ ฟีนอกซิลเมตทิลเพนิซิลลิน (Phenoxymethylpenicillin-Penicillin V) คือชื่อยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียตัวแรกของโลกที่ค้นพบโดย Alexander Fleming เริ่มใช้กันในปี ค.ศ.1942 โดยออกฤทธิ์ผ่านโครงสร้างทางเคมีที่มีชื่อว่า เบต้า เบต้า-แลคแตม (Beta-lactam antibiotics) ยับยั้งการเกิด cross link ระหว่างสายของเปปติโดไกลแคนส่งผลให้ผนังเซลล์ของแบคทีเรียอ่อนแอ และถูกทำลาย เมื่อแบคทีเรียไม่มีผนังเซลล์ แบคทีเรียก็จะตายในที่สุด
เมื่อมีการวิจัยมากขึ้นทำให้มีการพัฒนายาที่คล้ายเพนิซิลลินขึ้นมาอีกหลายชนิดทำให้เกิดเป็นกลุ่มยาที่มีโครงสร้างทางเคมีคล้ายๆกัน ทางการแพทย์จึงได้จัดหมวดหมู่ยากลุ่มนี้และเรียกชื่อตามยาตัวแรกในกลุ่มนั่นก็คือ เพนิซิลลิน ดังนั้นนอกจากเพนิซิลลินจะเป็นชื่อยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียตัวแรกของโลก ยังเป็นชื่อของกลุ่มยาด้วยโดยจัดแบ่งตามประเภทได้ดังนี้
1.อะมิโนเพนิซิลลิน-aminopenicillins ยาในกลุ่มนี้ได้รับการออกแบบมาให้ฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้กว้างกว่าเพนิซิลลินดั้งเดิม และสามารถทนต่อกรดในกระเพาะอาหารได้(ยานี้จึงกินหลังอาหารได้) เช่นยา อะม๊อกซี่ซินลิน(amoxicillin), แอมพิซิลลิน(ampicillin)
2.แอนตี้ซูโดโมนอลเพนิซิลลิน-antipsudo penicillins เป็นยาที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า ซูโดโมนาส(pseudomanas), เอนเทอโรค็อกคัส(enterococcus) และเคลบซิลลา เช่นยา
2.1 พิเพอราซิลลิน(piperacillin)
2.2ไทคาร์ซิลิน(ticarcillin)
3.สารยับยั้งเบต้าแลคแทม-beta lactamase inhibitors เป็นสารที่ใช้ผสมกับยากลุ่มเพนิซิลลินเพื่อทำให้ยาเพนิซิลลินไม่ถูกทำลายโดยแบคทีเรียบางตัว
4.เพนิซิลลินที่ได้จากธรรมชาติ
เช่น
4.1เพนิซิลลิน จีเริ่มแรกยาตัวนี้มีทั้งรูปแบบกิน, ฉีดเข้าเส้นเลือดดำ และฉีดเข้ากล้ามเนื้อ แต่โดนยกเลิกการใช้ไปหลายตัวแล้วคงเหลือแต่รูปแบบฉีดเท่านั้นเนื่องจากแบบกินมีประสิทธิภาพน้อยเกินไป
4.2เพนิซิลลิน วี มีรูปแบบกิน
4.3เพนิซิลลิน จี โปรเคน มีรูปแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
4.4เพนิซิลลิน จี เบนซาทีน มีชนิดฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
5.เพนิซิลลินที่ทนทานต่อการถูกทำลายโดยสารจากแบทึเรีย
คือยาที่ทนต่อเอนไซด์ของแบคทีเรียทำให้ยาสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ดีขึ้นเช่นยาชื่อ คลอกซาซิลลิน ,ไดคลอกซาซิลลิน
ตัวอย่างยี้ห้อยาเพนิซิลลินที่มีขายในประเทศไทย
1.Phenoxymethyl Penicillin (ฟีนอกซีเม็ทธิว เพนิซิลลิน)
2.Suveelin (ซูวีลิน)
3.Pen V General Drugs House (เพน วี เจเนอรอล ดรักซ์ เฮ้า)
4.Pen V-Oral Four (เพน วี ออรอล โฟร์)
5.Pen V-Oral Two (เพน วี ออรอล ทู)
6.Pen V Atlantic (เพน วี แอตแลนติก)
7.Procaine Penicillin G in Oil (โปรเคน เพนิซิลลิน จี ในน้ำมัน)
8.Penveno (เพนวีโน)
ข้อบ่งใช้
-รักษาโรคติดเชื้อที่ผิวหนังบางชนิด เช่นฝี กินครั้งละ 4 แสนไอยู วันละ 3 ครั้งก่อนอาหาร
-โรคติดเชื้อที่คอ, ต่อมทอนซิน จนมีไข้ เจ็บคอมาก คอแดงจัดหรือมีตุ่มหนองด้วย กินครั้งละ 4 แสนยูนิต วันละ 3ครั้ง
-โรคติดเชื้อที่โพรงจมูกจากเชื้อสเตรปโตค๊อกคัส มีอาการน้ำมูกสีเหลืองเขียวมีไข้สูง
-ป้องกันไข้รูห์มาติก
-ใช้เพื่อรักษาโรคหรืออาการอื่น ๆ ได้
-รักษาโรคคุดทะราด
ขนาดยาที่ใช้รักษาโรค
เนื่องจากแต่ละโรค มีขนาดยาที่แตกต่างกัน และขึ้นกับยุคสมัยด้วยเนื่องจากยานี้มีโอกาสที่เชื้อจะดื้อยาได้ง่ายทำให้ขนาดยาไม่เท่ากันดังนั้นการใช้ยาเพนิซิลลินจึงขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์
สิ่งที่ต้องแจ้งแพทย์และเภสัชกรก่อนใช้ยานี้
-ประวัติแพ้ยาทุกชนิด
-โรคประจำตัวเช่นผู้ป่วยโรคไต
-ประวัติการใช้ยาอื่นๆ เช่นยารักษาโรคมะเร็ง เพราะยาเพนิซิลลินอาจทำให้ระดับยารักษามะเร็งเปลี่ยแปลงได้ หรือยาคุมกำเนิดชนิดกิน
อาการข้างเคียง
เช่นผื่นคัน, หายใจลำบาก, ปวดตามข้อ, ตะคริวที่ท้อง, ชัก, ปัสสาวะน้อย
ฯลฯ หากท่านพบผลข้างเคียงหลังกินยาไปไม่นานโปรดแจ้งแพทย์และเภสัชกร
ข้อควรระวังในการใช้ยาเพนิซิลลิน
1.ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่แพ้ยานี้
2.เมื่อพบว่าหลังใช้ยานี้มีอาการผื่นคัน หรือ หายใจลำบาก ปวดท้อง ท้องเสีย อย่างรุนแรง ควรหยุดยาทันทีและรีบพบแทย์ เพื่อรักษาอาการแพ้ยา และปรับเปลี่ยนการใช้ยาต่อไป
3.ระวังการใช้ยานี้ในคนไข้ที่เป็นโรคภาวะเกลือโซเดียมในกระแสเลือดผิดปกติ
4.ยาเพนิซิลลินอาจส่งผลต่อการตรวจน้ำตาลทางปัสสาวะดังนั้นก่อนรับการตรวจน้ำตาลควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ
5.ห้ามใช้ยานี้ร่วมกับผู้อื่น
6.ห้ามใช้ยาหมดอายุแล้ว
7.ใช้ยาตามที่แพทย์กำหนดอย่างครบถ้วนเนื่องจากยาเพนิซิลลินมีอุบัติการเชื้อดื้อยาสูง
ปัญหาเชื้อแบทีเรียดื้อยา
หลังจากมีการใช้ยาปฎิชีวนะมานานทำให้มีเชื้อแบคทีเรียหลายสายพันธ์พัฒนาตัวเองจนสามารถดื้อต่อยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้หลายๆกลุ่มแล้วหนึ่งในนั้นคือเพนนิซิลลิน โดยกลไกการดื้อยาคือ
แบคทีเรียสร้างเอนไซม์ เบตาแลคแทมเมสออกมาทำลายวงเบต้า แลคแทม ทำให้ยากลุ่มเพนิซิลลินออกฤทธิ์ทำลายผนังเซลล์ได้ลดลง
เพนิซิลลินมีผลต่อยาอื่นอย่างไรเมื่อใช้ร่วมกัน
1.การใช้ยาเพนิซิลลินร่วมกับยาคุมกำเนิดที่มีตัวยา ethinyl estradiol อาจทำให้ผลการคุมกำเนิดของยาคุมลดน้อยลงดังนั้นหากต้องใช้ยาคู่กันควรหาวิธีการคุมกำเนิดอื่นๆร่วมด้วยเช่นการใช้ถุงยางอนามัย
2.การใช้ยาเพนิซิลลินร่วมกับยารักษามะเร็ง methotrexate เนื่องจากยาเพนิซิลลินสามารถทำให้ระดับยา methotrexate ในเลือดสูงขึ้นได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีโอกาสเจอกับผลข้างเคียงของยารักษามะเร็งได้ง่ายขึ้น
3.การใช้ยา เพนิซิลลินร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือดเช่น warfarin ทำให้เกิดภาวะเลือดออกได้ง่ายขึ้น
การเก็บรักษายานี้
1.ยาชนิดฉีดควรเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลลเซียสตลอดเวลา
2.ชนิดกินเก็บในบริเวณที่มีอุณหภูมิไม่เกิน 30องศาเซลเซียส
3.ห้ามเก็บยาเพนิซิลลินทุกรูปแบบในช่องแช่แข็ง
4.ควรเก็บยาเพนิซิลลินให้พ้นแส่งแดด ความร้อน ความชื่น และเก็บให้พ้นมือเด็ก
ยาเพนนิซิลลินจัดอยู่ในกลุ่มยา”อันตราย”ตาม พรบ.ยา ดังนั้นการได้รับยานี้ควรรับจากแพทย์และเภสัชกรเท่านั้น ไม่แนะนำให้ซื้อเองตามร้านสะดวกซื้อ หรือทางออนไลน์ เนื่องจากอาจทำให้ผู้ใช้พบกับผลข้างเคียงที่อันตรายได้
แหล่งที่มา: http://mims.com/thailand/drug/info/pen v general drugs house/?type=brief
https://th.wikipedia.org/wiki/ไข้รูมาติก