หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ประเพณีแต่ละจังหวัดของภาคอีสาน

Share แชร์บอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้ โพสท์โดย chayen123

๑.  ประเพณีบุญข้าวจี่ (จังหวัดมหาสารคาม) 

   บุญข้าวจี่ เป็นงานบุญประเพณีของชาวอีสาน ที่กระทำกันในเดือนสาม จนเรียกว่า บุญเดือนสาม บุญข้าวจี่เป็นบุญประเพณีสำคัญที่มีกำหนดอยู่ในฮีตสิบสอง ดังรู้จักกันทั่วไปว่า เดือนสามคล้อยจั่วหัวปั้นข้าวจี่ เดือนสี่คล้อยจัวน้อยเทศน์มะที (มัทรี) บุญข้าวจี่นิยมทำกันในราวกลางเดือนหรือปลายเดือนสาม  คือ  ภายหลังการทำบุญวันมาฆบูชา  (เดือนสาม ขึ้น ๑๔ ค่ำ) แล้ว ส่วนใหญ่จะกำหนดวันแรม ๑๓ ค่ำ และ ๑๔ ค่ำ เดือนสาม บุญข้าวจี่เป็นกิจกรรมร่วมของชุมชนหลายหมู่บ้าน นั่นคือ ชาวอีสานบางหมู่บ้านเรียกงานบุญนี้ว่า บุญคุ้ม จะทำกันเป็นคุ้ม ๆ หรือ บางหมู่บ้านก็จะทำกันที่วัดประจำหมู่บ้าน ล้วนแล้วแต่เป็น บุญข้าวจี่ หรือบุญเดือนสามนั่นเอง ชาวบ้านที่เป็นเจ้าภาพก็จะบอกบุญไปยังหมู่บ้านใกล้เคียงให้มาร่วมกันทำบุญ 

๒.ประเพณีบุญผะเหวด (จังหวัดร้อยเอ็ด) 

         บุญผะเหวด หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า บุญมหาชาติ เป็นประเพณีบุญตามฮีตสิบสอง ของชาวอีสาน แต่ถ้าถือเป็นเรื่องทาน ก็เป็นประเพณีการบริจาคทานครั้งยิ่งใหญ่ ก็พอจะอนุมานได้ถึงสภาพทั่วไป ของชาวอีสานว่า ดอกจิก ดอกจาน บานราวต้นเดือน 3 พุทธศาสนิกชนจะเก็บดอกไม้เหล่านี้ มาร้อยเป็นมาลัยเพื่อตกแต่งศาลาการ เปรียญสำหรับบุญมหาชาติและในงานนี้ก็จะมีการเทศน์มหาชาติ ซึ่งถือว่าเป็นงานอันศักดิ์สิทธิผู้ใดฟังเทศน์มหาชาติจบภายในวันเดียวและบำเพ็ญคุณงามความดี จะได้อานิสงส์ไปเกิดในภพหน้า                                                                 

 

๓.ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง (จังหวัดสกลนคร) 

 งานแห่ปราสาทผึ้งในเทศกาลออกพรรษาของชาวอีสาน แม้ว่าจะมีอยู่ทั่วไปในหลายจังหวัดแต่ก็ไม่จัดใหญ่โตและปฏิบัติต่อเนื่องเช่นของเมืองสกลนครการพัฒนารูปแบบปราสาท ทรงโบราณ เป็นทรงตะลุ่มทรงหอผึ้งแบบโบราณยังไม่พัฒนาเป็นรูปทรงปราสาทผึ้ง ดังกล่าวย่อมเกิดแง่คิดในหลายประเด็น โดยเฉพาะในด้านรูปแบบและเนื้อหา ว่ามีการอนุรักษ์ประยุกต์ดัดแปลงหรือสร้างใหม่อย่างไร              

๔.การฟ้อนกลองตุ้ม (จังหวัดศรีสะเกษ) 

การฟ้อนกลองตุ้มจะไม่มีการไหว้ครู พอเริ่มก็จะฟ้อนเลย ส่วนการถ่ายทอดนั้นนักฟ้อนรุ่นก่อนจะเป็นผู้ถ่ายทอดให้รุ่นต่อ ๆ ไป .สะท้อนให้เห็นความสามัคคี..และความพร้อมเพรียงกันของชาวบ้านที่มาฟ้อนรำกลองตุ้มประกอบประเพณีบุญบั้งไฟ ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมสืบทอดต่อกันมา การที่เด็กและเยาวชนในหมู่บ้านได้แสดงออกด้วยความสนุกสนาน นับว่าเป็นกุศโลบายในการสืบทอดประเพณีอันดี 

๕.ประเพณีบุญบั้งไฟ (จังหวัดยโสธร) 

ชาวจังหวัดยโสธรร้อยละ 85 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ชาวยโสธรจึงจัดประเพณีบุญบั้งไฟเป็นการทำบุญประจำปีทุกปีในช่วงเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นช่วงก่อนฤดูกาลทำนาเป็นพิธีขอฝนจากพญาแถนให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล 

   ๖.การแข่งเรือพิมาย (จังหวัดนครราชสีมา) 

การแข่งเรือเป็นรูปแบบของการเล่นในฤดูน้ำหลากที่สร้างความสามัคคีของคนในหมู่บ้านและคนต่างหมู่บ้านได้พบปะกันเป็นการสร้างความสมานสามัคคีของสังคมได้ทางหนึ่ง 

  ๗.ประเพณีไหลเรือไฟ (จังหวัดนครพนม) 

เพื่อบูชารอยพระพุทธบาทที่ประทับไว้ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานทีในแคว้นทักษิณาบทประเทศอินเดีย,  เพื่อบูชาท้าวผกาพรหม,  เพื่อขอขมาลาโทษแม่น้ำที่เราทำให้สกปรก, เพื่อเอาไฟเผาความทุกข์ให้หมดไปแล้วลอยไปกับแม่น้ำ    

   ๘.งานเทศกาลไหม ประเพณีผูกเสี่ยว (จังหวัดขอนแก่น) 

 “ประเพณีผูกเสี่ยว” ก็เป็นประเพณีสำคัญที่จัดขึ้นพร้อมกันกับงานเทศกาลไหมโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนในท้องถิ่นและคนในชาติมีความรักใคร่กลมเกลียวสมัครสมานสามัคคีและช่วยเหลือเกื้อกูลกันคำว่า "เสี่ยว" เป็นภาษาถิ่นอีสาน แปลว่า มิตรแท้ เพื่อนแท้ เพื่อนตาย มีความผูกพัน ซื่อสัตย์ และจริงใจต่อกัน                 

    

 

๙.การเบิกน่าน้ำ (จังหวัดมุกดาหาร) 

เนื่องจากจังหวัดมุกดาหารตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง จึงมีประเพณีการแข่งขันเรือพายขึ้นในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เรียกว่า งานออกพรรษา ประเพณีการแข่งเรือถือว่าเป็นการบูชาพญานาค ๗ ตระกูล และเชื่อมความสัมพันธไมตรีระหว่างชาวมุกดาหารกับชาวสวันเขต ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประ ชาชนลาว 

๑๐.มหกรรมโปงลางแพรวา กาฬสินธุ์ (จังหวัดกาฬสินธุ์) 

          งานมหกรรมโปงลาง แพรวาและงานกาชาดจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นงานประเพณีท้องถิ่นของจังหวัดที่จัดเป็นประจำทุกปีเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายประชาชนและนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยชาวต่างประเทศต่างให้ความสนใจกับงานเทศกาลนี้ ประเพณีศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นนี้สร้างขึ้นจากคำขวัญของจังหวัดกาฬสินธุ์ที่ว่า “โปงลางเลิศล้ำ” วัฒนธรรมภูไทยผ้าไหมแพรวาผาเสวยภูพาน มหาธารลำปาว ไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปี" ที่แสดงถึงความรักสามัคคี ความพร้อมเพรียง การรวมใจเป็นหนึ่งของผู้คนที่จะช่วยกันจรรโลง เชิดชูเกียรติ ชื่อเสียงและเอกลักษณ์ของเมืองกาฬสินธุ์ให้เป็นที่รู้จักสืบไป 

๑๑.ประเพณีแห่นาคโหด(จังหวัดชัยภูมิ) 

ประเพณีแห่นาคโหด ที่บ้านโนนเสลาถือเป็นประเพณีโบราณและปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาหลายร้อยปีหลายชั่วคนที่มีแห่งเดียวในโลก เพื่อที่ชาวบ้านจะได้มาร่วมกันจัดงานอุปสมบทหมู่ให้กับคนหนุ่มบุตรหลานในหมู่บ้านที่มีอายุครบ ๒๐ ปี ถือเป็นวันขึ้น  ค่ำ แรม ๑๕ ค่ำ ของเดือนหกเป็นประจำทุกปี 

๑๒.ประเพณีแซนโฎนตาบูชาบรรพบุรุษ (จังหวัดสุรินทร์) 

           งานประเพณีแซนโฎนตา ชาวสุรินทร์ร่วมกันประกอบพิธีแซนโฏนตา บูชาบรรพบุรุษ    ยิ่งใหญ่ เพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศล ให้แก่ บรรพบุรุษ ประเพณีที่มีความสำคัญ ของชาวไทยเชื้อสายเขมร และชาวกูย ในจังหวัดสุรินทร์ ที่ถือปฏิบัติสืบทอดติดต่อกันมายาวนานนับพันปีงานประเพณีแซนโฎนตา จังหวัดสุรินทร์ 

๑๓.ประเพณีบุญบั้งไฟ (จังหวัดหนองคาย) 

เป็นประเพณีเก่าแก่ที่ได้ปฏิบัติกันมานาน เกี่ยวกับการบูชาเทวดาขอฟ้าขอฝน ตามความเชื่อและโบราณกาล เป็นงานใหญ่โตมาก มีการจัดประกวดบั้งไฟประเภทตกแต่งสวยงาม ความคิดสร้างสรรค์ ประกวดขบวนแห่ และการจุดขึ้นสูงสุด จัดทำในวันเพ็ญเดือน ๗ ของทุกปี จังหวัดหนองคายได้จัดเป็นการแสดงแสงสีเสียงตำนานบั้งไฟพญานาค เกี่ยวกับเรื่องพระพุทธเจ้าเสวยชาติเป็นพญาคันคาก (คางคก) แล้วมี เรื่องราวไม่ถูกใจกับพญาแถน (พระอินทร์) จึงสาบให้แผ่นดินแห้งแล้งจนพญาคันคาก แนะนำให้ชาวบ้านจุดบั้งไฟถวายจนฝนตกลงมาในที่สุด 

๑๔.ประเพณีฮีตสิบสอง (จังหวัดอำนาจเจริญ) 

"ฮีตสิบสอง คองสิบสี่" หมายถึงประเพณีสิบสองเดือนที่ยึดถือปฏิบัติกันมาจนถึงปัจจุบัน เป็นงานที่รวบรวมประเพณีสิบสองเดือน ของอีสานมาจำลองให้ชม เนื่องจากชาวอำนาจเจริญมีวิถีชีวิตอยู่บนพื้นฐานของประเพณีอันเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาว อีสานทั่วไป 

 

๑๕.ประเพณีแห่ผีตาโขน (จังหวัดเลย) 

 จัดเป็นส่วนหนึ่งในงานบุญประเพณีใหญ่หรือที่เรียกว่า "งานบุญหลวง" หรือ "บุญผะเหวด" ซึ่งตรงกับเดือน ๗ มีขึ้นที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และจัดเป็นการละเล่นที่ถือเป็นประเพณีทุกปี เกี่ยวโยงกับงานบุญพระเวสหรือเทศน์ มหาชาติ ประจำปีกับพระธาตุศรีสองรัก ปูชนียสถานสำคัญของชาวด่านซ้าย เป็นอีกหนึ่งประเพณีที่มีชื่อเสียงและขึ้นชื่อของจังหวัดเลย โดยมีกระบวนแห่ผีตาโขนโดยแต่งกายคล้ายผีและปีศาจใส่หน้ากากขนาดใหญ่ที่เป็นเอกลักษณ์มีลวดลายที่งดงามแตกต่างกันไป แสดงการละเล่นเต้นรำกันอย่างสนุกสนานในขบวนแห่งที่แห่ยาวไปตามท้องถนน 

๑๖.ประเพณีแห่เทียนพรรษา(จังหวัดอุบลราชธานี) 

  เป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจังหวัดอุบลราชธานี จัดให้มีขึ้นในวันอาสาฬบูชา ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือน 8 และวันเข้าพรรษา บริเวณทุ่งศรีเมืองและศาลาจตุรมุข มีการประกวดต้นเทียน 2 ประเภท คือ ประเภทติดพิมพ์และประเภทแกะสลัก โดยขบวนแห่จากคุ้มวัดต่างๆ พร้อมนางฟ้าประจำต้นเทียน จะเคลื่อนขบวนจากหน้าวัดศรีอุบลรัตนารามไปตามถนน มาสิ้นสุดขบวนที่ทุ่งศรีเมือง 

๑๗.ประเพณีโฮมพาแลงแดนผ้าหมี่ขิด (จังหวัดอุดรธานี) 

  งานประจำปีทุ่งศรีเมือง มหกรรมโฮมพาแลง แดนผ้าหมี่ขิด จัดขึ้นระหว่างวันที่   

๑-๑๕  ธันวาคม  ของทุกปี  ในเดือนธันวาคมของทุกปี จังหวัดอุดรธานีจะจัดงานกาชาดทุ่งศรีเมือง อุดรธานี ‘มหกรรมโฮมพาแลง’ แดนผ้าหมี่ขิดขึ้น คำว่า ‘โฮมพาแลง’ เป็นภาษาถิ่นอีสาน ‘โฮม’ หมายถึง รวม ‘พา’ หมายถึง ถาดหรือสำรับใส่กับข้าว และ ‘แลง’ หมายถึง เวลาเย็น ดังนั้น ‘โฮมพาแลง’ จึงหมายถึง การรับประทานอาหารเย็นร่วมกัน 

๑๘.ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง(จังหวัดบุรีรัมย์) 

ปราสาทหินพนมรุ้งเป็นศาสนสถานในลัทธิพราหมณ์และได้รับการแปลงเป็นพุทธสถานในสมัยหลัง ช่วงที่ถูกทิ้งร้างอยู่มีผู้นำพระพุทธบาทจำลองไปประดิษฐานไว้ที่ปรางค์น้อยบนเขา กลายเป็นประเพณีของชาวบ้านรอบๆ บริเวณนั้นพากันขึ้นไปนมัสการปิดทองรอยพระพุทธบาทนี้รวมทั้งไหว้พระทำบุญในวันขึ้น  

๑๕ ค่ำ เดือน ๕ ของทุกปี เนื่องจากปราสาทหินพนมรุ้งเป็นโบราณสถานที่ยี่งใหญ่สวยงามและเป็นประเพณีแต่เดิมอยู่แล้ว จังหวัดจึงได้ส่งเสริมให้มีงานประเพณีในวันเสาร์-อาทิตย์แรกของเดือนเมษายน โดยจัดกิจกรรมต่าง ๆ อันเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมโบราณ ได้แก่ ขบวนแห่ราชประเพณีขอมโบราณ การแสดงแสง-เสียงย้อนรอยอดีตพนมรุ้ง และการแสดงระเบิดภูเขาไฟจำลอง 

 

๑๙.บุญบั้งไฟ(จังหวัดบึงกาฬ) 

บุญบั้งไฟจะจัดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปีซึ่งประเพณีบุญบั้งไฟเป็นประเพณีดั้ง เดิมของชาวอำเภอบึงกาฬ โดยเป็นการส่งเสริมประเพณีศิลปะวัฒนธรรมของท้องถิ่นและช่วยส่งเสริมการท่อง เที่ยวของอำเภอบึงกาฬ โดยจะมีขบวนแห่บั้งไฟของชุมชนต่างๆ ในเทศบาลตำบลบึงกาฬ เช่น ชุมชนบึงกาฬกลาง ชุมชนบึงกาฬไต้ ชุมชนบึงกาฬเหนือ ชุมชนศรีโสภณ และชุมชนวิศิษฐ์โดยเทศบาลจัดให้มีการประกวดขบวนแห่เซิ้งบั้งไฟทุกปี  

 

๒๐.ประเพณีบุญข้าวจี่ยักษ์(จังหวัดหนองบัวลำภู) 

ประเพณีบุญข้าวจี่ยักษ์ เป็นบุญประเพณีเดือน  ๓  ซึ่งเป็นความเชื่อตามฮีตสิบสองของชาวอีสาน เป็นการทำบุญหลังจากที่ได้ข้าวใหม่  ชาวบ้านจะทำข้าวจี่โดยใช้ข้าวเหนียวใหม่นึ่งจนสุก เคล้าเกลือแล้วย่างไฟจนเกรียมหอม    ก่อนเอามาทาด้วยไข่ไก่ที่ตีไว้จนทั่ว แล้วนำไปย่างต่อจนสุก การทาไข่จะทาแล้วย่างสลับไปมาสัก ๓ ครั้ง เมื่อได้ข้าวจี่ทาไข่ที่หอมกรุ่นแล้วจะนำน้ำอ้อยมาใส่ในรูที่ถอดไม้ไผ่ออก ก็จะได้ข้าวจี่ทาไข่ที่มีรสชาติอร่อย หอมหวาน จากนั้นชาวบ้านจะนำข้าวจี่ไปรวมกันที่วัดแล้วถวายพระ ก่อนที่จะนำกลับมาแจกลูกหลานที่รออยู่บ้าน   การทำบุญข้าวจี่นี้ชาวบ้านจัดทำติดต่อกันมาทุกปี    โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่วัดถ้ำสุวรรณคูหา  ทางเทศบาลตำบลสุวรรณคูหา  ได้จัดทำข้าวจี่ยักษ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก  โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน  และยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นเป็นหลัก  จึงเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมได้ของจังหวัดหนองบัวลำภู 

โพสท์โดย: chayen123
แหล่งที่มา:
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
chayen123's profile


โพสท์โดย: chayen123
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
สตรีมเมอร์ผิวสีสุดห้าว ทำคอนเทนต์เตะเก้าอี้ที่พัทยายลโฉมความงดงามของนครวัดก๊อปเกรดเอจากฝีมือจีน อลังการไม่แพ้นครวัดของกัมพูชา!JKN ขาดทุน 2,157 ล้านบาท ครั้งแรกในรอบ 10 ปี ธุรกิจคอนเทนต์แผ่วกะเทยแทงกันบาดเจ็บสาหัส ย่านสุขุมวิท11 ซ้ำรอย! จุดที่เคยเกิดเหตุวันกะเทยผ่านศึก..อึ้ง! ลาวขุดค้นพบ "พระเจ้าแสนแซ่" องค์พระที่มีวิธีการสร้างไม่เหมือนพระพุทธรูปทั่วไป หล่อแยกเป็นชิ้นๆ?นักดื่มกระทิงแดง กำลังมองหากระป๋อง ที่มีจุดสีน้ำเงินอยู่ข้างใต้สาวสั่งอาหารผ่านแอพฯ แต่ไรเดอร์แชทบอกเธอให้เปลี่ยนร้าน เพราะร้านนี้สกปรกมาก 😌วาระแห่งชาติ! เขมรร้อนรนเร่งหาชื่อใหม่แทน สงกรานต์ หลัง UNESCO รับรองสงกรานต์ไทย
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
สิ่งก่อสร้างที่มีความสูงมากที่สุดในโลก ที่ไม่ใช่ตึกระฟ้าหรืออาคารที่อยู่อาศัย
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
suddenly: ทันใดนั้น4 วิธีเก็บพริกสด ให้ใช้ได้นาน สดใหม่อยู่เสมอมหาวิทยาลัยแห่งเดียวในประเทศไทย ที่เปิดสอนมานานกว่า 100 ปีภาพวาดที่ถูกขายในราคาแพงที่สุด ในขณะที่คนวาดยังคงมีชีวิตอยู่
ตั้งกระทู้ใหม่