หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

‘แพทยสภา’ ร่วมสร้างความเข้าใจปัญหาฝุ่นจิ๋ว ภาคปชช.วอนรัฐใช้ ‘ต้นไม้’ แก้ปัญหาระยะยาว

โพสท์โดย TRUMPED

วงถกหมอร่วมสร้างความเข้าใจปัญหา PM2.5 เผยไม่ใช่เรื่องใหม่-แนะเลี่ยงเท่าที่ทำได้ ด้านเครือข่ายภาคปชช.วอนรัฐบาลใส่ใจ “ต้นไม้” ใช้ลดฝุ่นยั่งยืน

        ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้แทนราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยในเวทีเสวนาเรื่อง “ฝุ่นละออง PM2.5 กับปัญหาสุขภาพและแนวทางแก้ไข” จัดโดยแพทยสภา เมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2562 ตอนหนึ่งว่า สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจคือปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 นั้นไม่ใช่ของใหม่ และมีอยู่แล้วมานานหลายปี เพียงแต่ว่าในปัจจุบันมีฝุ่นสะสมมากขึ้น ประกอบกับมีการติดตั้งสถานีวัดค่าขยายเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายผ่านแอปพลิเคชัน ทำให้ผู้คนมีความตื่นตัวกันมากขึ้น

        ศ.นพ.เกียรติ กล่าวว่า ในส่วนของผลกระทบที่จะได้รับมากหรือน้อยนั้น ทางการทางแพทย์มีปัจจัยการประเมินด้วยปริมาณค่าฝุ่นละอองในขณะนั้น ซึ่งแบ่งตามสีต่างๆ ในดัชนีคุณภาพอากาศ ประกอบกับระยะเวลาในการสัมผัส ดังนั้นเมื่อมีข้อมูลคุณภาพอากาศแล้ว สิ่งที่ควรทำคือการเตรียมตัววางแผนว่าจะออกนอกอาคาร หรือสัมผัสพื้นที่นั้นเป็นเวลานานเพียงใด ซึ่งเคยมีการเทียบเคียง เช่น หากอยู่ในพื้นที่สีส้มทุกวันเป็นเวลา 1 ปี เทียบเท่ากับการสูบบุหรี่วันละครึ่งซองเป็นเวลา 30 ปี เป็นต้น

        “ถ้าคุณภาพอากาศเป็นสีส้ม คนธรรมดาที่ไม่มีโรคเสี่ยงก็ไม่ถึงกับต้องกลัวอะไรมาก แค่ผ่านไปให้เร็ว มีอะไรปิดจมูกได้ก็ดีทั้งนั้นไม่ต้องหวังไปลดให้ได้ 100% แต่คนที่น่าเห็นใจคือคนที่ต้องอยู่กลางแจ้ง อยู่นอกอาคารนานๆ เช่น ตำรวจ แม่ค้า คนขับรถเมล์ พวกนี้น่าเป็นห่วง เราจะช่วยเขาหรือไปแจกหน้ากากให้คนเหล่านี้อย่างไร ดังนั้นสิ่งที่ป้องกันได้ดีสุดคือไม่มีธุระอย่าออกนอกอาคาร หรือไม่ออกกำลังกลางแจ้งในช่วงเวลาดังกล่าว” ศ.นพ.เกียรติ กล่าว

        รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ อุปนายกสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในส่วนของหน้ากากอนามัยขณะนี้ประชาชนยังคงมีความเข้าใจที่สับสนกันมาก ซึ่งก่อนอื่นต้องเข้าใจหลักการว่าหน้ากากจะช่วยป้องกันไม่ให้ฝุ่นละอองขนาดเล็กเข้าไปยังระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง ที่มีความไวต่อการเกิดโรคต่างๆ หากป้องกันได้มากก็ยิ่งลดผลกระทบได้มาก ดังนั้นข้อมูลที่บอกว่าหน้ากากชนิดใดป้องกันได้หรือไม่ได้นั้น เป็นเพียงการทดสอบในห้องทดลอง ซึ่งวัดเฉพาะประสิทธิภาพของแผ่นกรองเท่านั้น อาจไม่ได้ทดสอบกับการใส่จริง หรือท่าทางการใส่

        “ตัวอย่างเช่นตอนที่มีเชื้อไวรัสซาร์สระบาด การป้องกันเชื้อทางอากาศเราให้ใช้หน้ากาก N95 เป็นหลัก เพราะเราจะยอมให้เชื้อลงไปไม่ได้เลย เพราะถึงแม้ลงไปไม่เยอะก็จะทำให้ติดเชื้อ ต่างจากฝุ่นที่ขอแค่ให้ได้รับน้อยลงก็ถือว่าได้ผล จึงไม่ใช่ว่าหน้ากากที่ลดได้น้อยจะไม่มีประโยชน์ แม้ N95 จะช่วยลดได้มากที่สุดแต่ก็ไม่ได้ขึ้นกับหน้ากากอย่างเดียว เพราะขึ้นกับความแนบสนิทในการใส่ด้วย ดังนั้นใส่หน้ากากธรรมดายังไงก็ดีกว่าไม่ใส่ ส่วนการจะใส่สองชั้นหรือใช้ทิชชู่ซ้อนก็เป็นวิธีที่ทำได้ แต่ถ้าให้ดีที่สุดคืออย่าเข้าไปในพื้นที่เสี่ยง” รศ.นพ.ฉันชาย กล่าว

        นพ.ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า สถานการณ์ในระดับโลกจากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่ามี 9 ใน 10 ของประชากรที่สัมผัสมลพิษทางอากาศเกินค่าที่ WHO แนะนำ ซึ่งมลพิษทางอากาศนี้เป็นสาเหตุอันดับสองของการเกิดโรคไม่ติดต่อ รองจากการสูบบุหรี่เท่านั้น โดยทุกปีจะทำให้มีประชากรเสียชีวิตก่อนวัยอันควรมากถึง 7 ล้านคน ขณะที่ในปี 2561 พบผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดรายใหม่ 2.1 ล้านคน หรือคิดเป็น 11.6% ของผู้ป่วยรายใหม่ทั้งหมด

        ด้าน น.ส.ช่อผกา วิริยานนท์ ผู้ร่วมก่อตั้งเครือข่ายต้นไม้ในเมือง กล่าวว่า ไม่ว่าการใส่หน้ากากอนามัยหรือการฉีดพ่นน้ำล้วนเป็นแผนระยะสั้น แต่ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กจะยังอยู่กับคนไทยไปอย่างยาวนาน และจะวนเวียนกลับมาทุกปี สืบเนื่องจากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นทุกขณะ ซึ่งต้นไม้จะเป็นหนึ่งในคำตอบระยะยาวที่ยั่งยืน ด้วยการลงทุนที่ต่ำสุดแต่ให้ประโยชน์สูงที่สุด เพราะต้นไม้ใหญ่ในเมืองจะกลายเป็นเครื่องฟอกอากาศที่ทำงานตลอดเวลาโดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้า แต่ประเทศไทยกลับไม่เคยมีนโยบายการบริหารจัดการต้นไม้ในเมืองเลย

        “มีงานวิจัยจากสหรัฐอเมริกาตีพิมพ์ในปี 2014 พบว่าต้นไม้ใหญ่ในเมืองสามารถช่วยลดการเสียชีวิตจากโรคทางเดินหายใจได้ 850 คนต่อปี ลดการป่วย 6.7 แสนคนต่อปี และอีกงานวิจัยในปี 2013 ก็พบว่าค่า PM2.5 ในเมืองใหญ่ของสหรัฐฯ ลดลงได้ด้วยต้นไม้ในเมือง ซึ่งจะเห็นได้หลายชาติให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ แต่ปัญหาของไทยโดยเฉพาะใน กทม. นอกจากจะมีต้นไม้ใหญ่ไม่เยอะแล้ว ที่มีอยู่ยังไม่ค่อยมีกิ่งก้านใบที่จะช่วยดักจับฝุ่น เพราะการตัดแต่งที่ผิดวิธี และถูกตัดไปทุกวันด้วยความเข้าใจผิดๆ” น.ส.ช่อผกา กล่าว

        น.ส.ช่อผกา กล่าวว่า ตัวอย่างประเทศสิงคโปร์มีการลงทุนหลายพันล้านกับต้นไม้ในเมือง และมีวิสัยทัศน์ที่ใช้ต้นไม้เป็นหนึ่งในเครื่องมือพัฒนาชาติ เพราะไม่แก้เฉพาะปัญหาฝุ่นแต่ยังไปถึงปัญหาสุขภาพจิตด้วย จึงมีข้อเสนอในการแก้ปัญหาฝุ่นพิษด้วยต้นไม้ในเมืองไทย ประกอบด้วย 1.หยุดตัดต้นไม้หัวกุด โดยให้ต้นไม้ที่มีได้แตกกิ่งก้านใบ 2.อบรมรุขกรทุกหน่วยงานและทุกบริษัทที่รับตัดต้นไม้ 3.ดูแลระบบรากต้นไม้ 4.วางแผนการปลูกเพิ่ม 5.เพิ่มมาตรการทางกฎหมาย ให้ต้นไม้เป็นสมบัติสาธารณะ 6.บูรณาการจัดทำแผนบริหารจัดการต้นไม้ในเมือง 7.เสนอคณะรัฐมนตรี เป็นหนึ่งในแผนระยะยาวของชาติ

โพสท์โดย: TRUMPED
แหล่งที่มา: greennews.agency
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
TRUMPED's profile


โพสท์โดย: TRUMPED
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เมล็ดพันธุ์ที่ช่วยบำรุงสมองไม่แพ้อัลมอนด์! สารอาหารที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ไขความลับนรก! มีทั้งหมดกี่ขุม และแต่ละขุมโหดร้ายแค่ไหน?รวมเลขปฏิทิน งวด 2 มกราคม 2568 เลขเด็ดเลขดัง 2/1/68เศรษฐีใจดี! แจกทิปให้แก่พนักงานจุกๆเป็นของขวัญช่วงเทศกาลสโตนเฮนจ์ ปริศนา 5,000 ปี ไขกระจ่างแล้ว! หรือนี่คือเหตุผลที่แท้จริง?10 โรคที่เป็นแล้วไม่หาย
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ข่าวสิ่งแวดล้อม
เมืองคาร์บอนต่ำ ต้นแบบสู่การลดมลพิษแบบยั่งยืนมธ.แปรอักษร มีหนึ่งวลีถึงคดีเสือดำ งานฟุตบอลประเพณีครั้งที่ 73ข่าวร้าย! การปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ทำสถิติใหม่อีกครั้งแม่วงก์ ผืนป่าแห่งความหวัง
ตั้งกระทู้ใหม่