หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

17 วิธีเก็บเงินให้อยู่ อุดรูรายจ่ายที่รั่วไหล

โพสท์โดย TRUMPED

        ใครๆ ก็อยากมีเงินเหลือ แต่พอถึงขั้นลงมือปฏิบัติในชีวิตประจำวัน บางครั้งรู้ตัวอีกทีก็เผลอใช้เงินจนเหลือเงินเก็บนิดเดียว รายจ่ายในชีวิตประจำวันนั้นมีอยู่มากมายแบบนี้จะมีวิธีอุดรายจ่ายอย่างไร? เรามาลองมาดูกันว่าถ้าอยากมีเงินเก็บมากขึ้นเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับชีวิต มีเทคนิคอะไรที่ทำได้ในชีวิตประจำวันกันบ้าง

 

1. ตั้งต้นด้วยเงินออม

หลายคนคิดว่าเงินเก็บหรือเงินออม คือเงินที่เหลือจากการใช้จ่าย
 

รายได้ - รายจ่าย = เงินออม


ซึ่งถูกต้อง แต่ไม่ใช่แนวคิดตั้งต้นที่ดีสำหรับคนที่อยากเก็บเงินให้ได้อย่างมีวินัย

เราไม่ควรมองเงินออมเป็นเงินเหลือ แต่ควรมองเป็นเงินที่ถูก “จัดหมวดหมู่” เอาไว้ว่านี่คือเงินออมโดยเฉพาะ เช่น เราจะออมเงิน 2,000 บาท โดยเรามีเงินเดือน 20,000 บาท แปลว่าเราต้องใช้จ่ายให้ไม่เกิน 18,000 บาท เมื่อคิดในมุมนี้ สมการที่เราควรตั้งต้นไม่ควรเป็น รายได้ - รายจ่าย = เงินเหลือเพื่อการออม แต่ควรเป็น
 

รายได้ - เงินออม = รายจ่าย


หรือก็คือเราควรหักเงินออมเก็บเอาไว้ก่อน แล้วค่อยใช้จ่ายตามงบประมาณที่มีนั้นเอง
 
มีคนมากมายที่ไม่ได้วางแผนและจัดสรรการใช้เงิน สมมติว่าได้เงินมาเดือนละ 20,000 บาท ก็กะว่าไม่ควรใช้เงินเกินยอดนี้ เมื่อตัวเลขที่ตั้งไว้ในใจตรงกับรายได้ ก็ทำให้ใช้จ่ายเยอะและไม่ค่อยเหลือเงินเก็บ แต่การตั้งต้นด้วยเงินออมก่อนนั้นจะทำให้เรามองเห็นชัดเจนมากขึ้นว่าเท่าไรกันแน่ที่เราควรใช้จ่ายได้ต่อเดือน

2. งบประมาณควรแบ่งประเภทและลำดับความสำคัญ

จากข้อที่แล้วจะช่วยให้เราเห็นงบประมาณรายจ่ายทั้งหมดหลังหักเงินออมที่คาดหวัง ทั้งนี้เมื่อลงมือจริง หลายครั้งก็จ่ายไม่ได้จริงตามที่ตั้งใจเพราะมักจะจ่ายให้กับ ‘สิ่งที่ไม่สำคัญแต่เกิดขึ้นก่อน’ เช่น จ่ายให้กับค่าอาหารที่อยากทานในแต่ละวันก่อน จนลืมคิดไปว่ามีส่วนที่สำคัญที่จะตามมาในช่วงปลายเดือน เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำค่าไฟ ค่าผ่อนสินค้า เป็นต้น ทำให้ใช้เงินเยอะกว่างบประมาณ ทางที่ดีควรวางแผนรายจ่ายให้ละเอียด ตั้งงบประมาณให้กับรายจ่ายประจำที่สำคัญก่อน
 
จากผลสำรวจงบประมาณรายจ่าย (ใช้ตัวเลขอ้างอิงจากผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ) สำรวจในหัวข้อภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี 2559 พบว่าจากครัวเรือนทั่วประเทศมีค่าใช้จ่ายต่างๆ ในครัวเรือนเป็นสัดส่วนดังนี้
 

ทั้งนี้คุณสามารถปรับเปลี่ยนงบประมาณได้ตามความเหมาะสม เช่น ลดค่าอาหาร เพิ่มค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา เป็นต้น
 

3. จดบันทึกให้เป็นนิสัย

จากผลสำรวจของบริษัท YouGov ในปี 2558 ผลการสำรวจนี้พบว่าคนไทยมี “ค่าใช้จ่ายปริศนา” สูงถึง 72% ของรายจ่ายทั้งหมด ซึ่งสรุปได้ว่าคนไทยหนึ่งคนมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อสัปดาห์อยู่ที่ 1,588 บาท นั่นหมายความว่าค่าใช้จ่ายปริศนาที่ระบุไม่ได้ว่าจ่ายไปกับอะไรจะอยู่ที่ประมาณ 1,143 บาท (มากกว่าพันบาทต่อสัปดาห์เลยทีเดียว) ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เชื่อว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวน่าจะมาจากค่าอาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค ค่าขนมขบเคี้ยว หรือการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย
 
ค่าใช้จ่ายรั่วไหลกับอะไรไม่รู้...ปัญหานี้แก้ไขได้ด้วยการจดบันทึกรายรับรายจ่ายให้เป็นนิสัย ปัจจุบันมีแอปพลิเคชันรายรับรายจ่ายมากมาย ทั้ง iOS และ Android ให้คุณได้เลือกลองใช้

4. ค่าอาหาร...รายจ่ายประจำที่ลดได้

จากข้อมูลในข้อที่แล้วซึ่งพบว่าค่าอาหารเป็นหนึ่งในค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ที่สุดก้อนหนึ่งในชีวิตประจำวัน วิธีหนึ่งที่จะลดรูรายจ่ายก็คือการประหยัดค่าใช้จ่ายก้อนนี้ให้มากขึ้น สำหรับการลดรายจ่ายค่าอาหารมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย เช่น

5. ลดรายจ่ายเรื่องเสื้อผ้า

เปลี่ยนสิ่งที่ไม่ใช้แล้วเป็นเงินเข้ากระเป๋า รวมไปถึงเสื้อผ้าที่กำลังล้นตู้อยู่ หลายคนมีเสื้อผ้าเยอะมาก แต่ใส่ไปไม่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมด มีผลวิจัยเคยกล่าวไว้ว่าคนไทยซื้อเสื้อผ้ามากขึ้นร้อยละ 3 ต่อปี ไม่แปลกใจเลยที่จะล้นตู้  แนะนำว่าให้ตัดใจแล้วนำไปขายต่อ หรือลองเรียนรู้วิธี DIY เปลี่ยนชุดเก่าให้เป็นชุดเก๋ รวมถึงหากนำเสื้อผ้าที่มีมาจับคู่ดีๆ เปลี่ยนไปมาก็ดูเหมือนคุณมีเสื้อผ้าใหม่ๆ ตลอดเวลาได้เหมือนกัน
 

6. อย่าซื้อเสื้อผ้าราคาถูก

อีกจุดสำคัญที่ช่วยอุดรอยรั่วจากรายจ่ายในการซื้อเสื้อผ้าก็คือการเลือกเสื้อผ้าที่ใช้วัสดุคุณภาพดี เพราะเมื่อคุณซื้อเสื้อผ้าราคาถูกที่เนื้อผ้าไม่ดี หรือการตัดเย็บไม่ดี จะทำให้เสื้อผ้าเหล่านั้นเสื่อมสภาพเร็วหลังจากซักไปเพียงไม่กี่ครั้ง และทำให้คุณก็ต้องเสียเงินเพื่อซื้อเสื้อผ้าใหม่อีกรอบ

7. อย่าบ้าสะสม

ของสะสมเป็นของที่มีคุณค่าทางจิตใจ แต่อย่างไรก็ตาม ใครที่เป็นนักสะสมก็มักจะเต็มไปด้วยรายจ่ายที่รั่วไหล ถ้าคุณไม่หยุดตัวเองเลย เมื่อมองย้อนกลับมาอีกทีอาจพบว่ามีของสะสมอยู่เต็มบ้านไปหมด แต่เงินในบัญชีกลับว่างเปล่า มีผลสำรวจพบว่าคนไทยชอบบินไปซื้อของแบรนด์เนมจากต่างประเทศเป็นตัวเลขมูลค่ามหาศาล ลองเช็กตัวเองดูว่าคุณเป็นอีกหนึ่งคนหรือเปล่าที่ชอบเก็บแบรนด์เนมแพงๆ ไว้ในตู้โชว์  แนะนำให้สะสมบ้างและปล่อยขายบ้างเมื่อราคาสูงขึ้น เพื่อเป็นการรักษาสมดุลทางการเงิน

8. เลือกบัญชีธนาคารดอกเบี้ยดีๆ

ลองฝากประจำ หรือลงทุนในกองทุนรวมเพื่อสร้างผลตอบแทนเพิ่มขึ้นจากการฝากเงินทั่วไป แบบการเลือกหักบัญชีแบบอัตโนมัติบัญชี ก็สามารถสร้างวินัยการออมได้เหมือนกัน จะได้ไม่ต้องกังวลว่าเดือนนี้ได้ออมเงินหรือยัง ซึ่งวิธีนี้ง่ายต่อการไปถึงเป้าหมายการออมที่วางไว้ด้วย อ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความการออมและการลงทุนแบบประจำ

9. อย่ามีเฉพาะออมทรัพย์

ลองฝากประจำ หรือลงทุนแบบหักอัตโนมัติบัญชีเพื่อสร้างวินัยการออม จะได้ไม่ต้องกังวลว่าเดือนนี้ได้ออมเงินหรือฝากเงินเข้าธนาคารแล้วหรือยัง ซึ่งวิธีนี้ง่ายต่อการไปถึงเป้าหมายการออมที่วางไว้ด้วย อ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความการออมและการลงทุนแบบประจำ

10. ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ

ร้านค้าหลายร้านมักมีสิทธิพิเศษให้เมื่อเราไปช้อปปิ้ง ก็ขออย่าละเลยสิทธิพวกนี้ เพราะบางทีคุณอาจได้รับเช็คของขวัญ บัตรกำนัลดีๆ ที่ทำให้ประหยัดเงินไปได้อีกเยอะเลย นอกจากนั้นควรกดติดตามแฟนเพจ เว็บไซต์ ที่คอยอัปเดตส่วนลดบ่อยๆ  เผื่อว่าจะมีโปรโมชั่นที่น่าสนใจโผล่ขึ้นมาให้ได้ช้อป
 
ในยุคนี้ก็มี Mobile Payment หรือการชำระเงินผ่านมือถือ เป็นอีกหนึ่งช่องทางหนึ่งที่ทำให้จับจ่ายเมื่อเจอโปรโมชันดีๆ ง่ายๆซึ่งถ้าใช้อย่างมีเหตุมีผล ก็จะพบสิทธิพิเศษต่างๆ หลายเรื่อง เช่น โปรโมชันดีๆ จาก Krungsri Gift ได้ง่ายๆไม่ต้องสะสมแต้ม ก็มีสิทธิประโยชน์กลับมา

11. ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีคุณภาพ

จ่ายเยอะจ่ายยาก จ่ายน้อยจ่ายง่าย แต่น้อยๆ ที่รวมกันอาจสะสมกันเป็นเงินก้อนใหญ่ได้
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ดีจะมีอายุการใช้งานที่นาน ทำให้ไม่ต้องเสียเงินเพื่อเปลี่ยนอันใหม่บ่อยๆ เป็นสิ่งของชิ้นใหญ่ที่ควรลงทุนเพื่อความสะดวกสบาย แลควรตระหนักถึงการประหยัดพลังงานด้วย เพราะการประหยัดค่าไฟก็ช่วยคืนเงินในกระเป๋าได้

12. ยกเลิกการเป็นสมาชิกที่ไม่ได้ใช้

หากคุณต้องจ่ายเงินเพื่อเป็นสมาชิกกับหลายๆ ที่ เพราะตั้งใจว่าจะมาใช้บริการบ่อยๆ แต่นานๆ ครั้งถึงจะได้ใช้จริง อย่างฟิตเนสที่สมัครไว้เพราะอยากหุ่นดี อย่าลืมว่าคุณสามารถต่ออายุการเป็นสมาชิกในภายหลังได้ ถ้าไม่ได้ไปจริงๆ ก็ยกเลิกไปก่อนก็ได้

13. หยุดใช้บัตรเครดิต ‘จ่ายล่วงหน้าโดยที่ยังไม่มีความจำเป็น’

‘หนี้บัตรเครดิต’ เกิดขึ้นเพราะความชะล่าใจในการซื้อของ ซื้อก่อนโดยคิดว่า ‘ยังมีเวลา’ จะหาเงินมาจ่ายทีหลัง หรือมีเงินเพียงพอในธนาคาร แต่เพราะความสะดวกของบัตรเครดิตก็ทำให้ใช้เกินงบประมาณที่ตั้งไว้ จนทำให้เก็บเงินได้ไม่ถึงเป้าหมาย

เทคนิคง่ายๆ ในการยับยั้งชั่งใจ เขียนข้อความเตือนตัวเองบนกระดาษเล็กๆ แปะบนบัตรเครดิตเอาไว้เลย เป็นข้อความเตือนใจให้คิดก่อนซื้อ
 

14. สนุกกับความบันเทิงง่ายๆ

การไปเที่ยวตามห้างสรรพสินค้า หรือเที่ยวข้างนอกจะทำให้พบกับสิ่งล่อตาล่อใจมากมายจนจ่ายเงินไปในจำนวนมากกว่าที่ตั้งใจเอาไว้ ลองมีสักวันที่คุณสร้างความสุขและความบันเทิงง่ายๆ ได้ที่บ้าน อย่างฟังเพลง ดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือ (ที่เรามักจะซื้อมาแล้วอ่านไม่จบให้จบเสียก่อน) เป็นอีกเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ในการลดรายจ่ายเรื่องความบันเทิง แต่ทั้งนี้ให้คุณดูความเหมาะสมและความชอบกับคุณและครอบครัวของคุณเองด้วย

15. ใช้ระบบขนส่งสาธารณะเสียบ้าง

การโดยสารด้วยรถสาธารณะช่วยให้คุณประหยัดเงินได้มาก และยังช่วยประหยัดพลังงานแทนการขับรถยนต์ส่วนตัวด้วย หรือลองซื้อบัตรรายเดือนของรถไฟฟ้า รถเมล์ ก็จะพบว่าค่าโดยสารยิ่งราคาถูกลงไปอีก

16. อย่าเพียงแค่ประหยัดเงิน

การออมเป็นสิ่งทีดี โดยควรตั้งเป้าหมายในการออมระยะสั้น เช่น ออมให้ได้ 300 บาทหรือมากกว่านั้นต่อสัปดาห์ จะทำให้ไม่รู้สึกหนักเกินไปและมีกำลังใจในการเก็บเงิน และควรวางแผนการเกษียณให้เร็วที่สุดอย่าเพียงแค่ทำงานไปทุกๆ เดือน ทางที่ดีให้ลงทุนในกองทุนเอาไว้บ้างเพื่ออนาคต

17. ใช้กฎ 24 ชั่วโมง และการเปรียบเทียบ

เวลาที่คุณอยากซื้อของราคาสูงๆ ให้กลับบ้านไปแล้วไตร่ตรองอีกสัก 24 ชั่วโมงค่อยเวียนกลับมาซื้ออีกครั้ง เพราะถึงเวลานั้นก็อาจจะไม่อยากได้แล้ว หรือลองคำนวณราคาสิ่งของที่จะซื้อ เปรียบเทียบกับจำนวนค่าตอบแทนรายวันที่จากการทำงานของคุณ
 
เช่น รองเท้าราคา 5,000 บาท แต่คุณมีเงินเดือน 20,000 บาท ทำงานเดือนละ 22 วัน เท่ากับ 20,000/22 = 909 บาท ดังนั้น การซื้อรองเท้าคู่นี้เทียบได้กับการที่คุณต้องทำงานแลกเป็นเวลา 5.5 วัน ให้ลองเปรียบเทียบกับความคุ้มค่าดู
 
นอกจากการพยายามประหยัดเงินจากวิธีด้านบน เรายังมีบทความวิธีการบริหารและออมเงินให้อ่านเพิ่มเติมด้วย สิ่งที่สำคัญคือการ “ไม่เครียด” เพราะเวลาที่เครียดจะทำให้คุณใช้เงินเยอะขึ้นแบบไม่รู้ตัวเพื่อซื้อความสุขแบบชั่วคราว ลองทำแบบค่อยเป็นค่อยไป แล้วคุณจะพบว่าตัวเองมีเงินเหลือเยอะขึ้นอย่างแน่นอน
โพสท์โดย: TRUMPED
แหล่งที่มา: www.krungsri.com
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
TRUMPED's profile


โพสท์โดย: TRUMPED
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ไบเดน ฮึ่ม " ทุกคนต้องอยู่ใต้กฏหมายเดียวกัน ""ลุงดอนใจดี" ย้ำอาหารที่ร้านไม่แพง และยังคงขายราคาเดิมรวมความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับการอาบน้ำ บางอย่างเพื่อนๆอาจจะเข้าใจผิดอยู่ก็ได้นะลิซ่าเปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้วนะ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ฮือฮาทั้งโซเชียล พระเอกเกาหลีพูดชื่อเต็มกรุงเทพฯ ชัดมาก "Frankly Speaking พูดตรงๆ คงต้องรัก""แสวง" เลขาฯ กกต. ไม่ห้ามสื่อเสนอข่าว-จัดเวทีฯ ขู่จับตาดูผู้สมัคร ชี้ "ธนาธร" ทำได้ชวนลง สว."แจ็คแฟนฉัน" แจกพัดลมให้พี่น้องชาวไทย300ตัว"ลุงดอนใจดี" ย้ำอาหารที่ร้านไม่แพง และยังคงขายราคาเดิม
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
เงินดิจิตอล 10,000 บาท ช้อปปิ้งอะไรคุ้ม? เตรียมตัวให้พร้อมก่อนใช้Google rewardsวิธีต้มไข่แบบประหยัดไฟและน้ำ"ฉบับญี่ปุ่น"สุดอัศจรรย์! ถ้ำใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ใกล้ประเทศไทย
ตั้งกระทู้ใหม่