นิ่วในไต โรคที่พบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย แต่ผู้ชายมีโอกาสจะเป็นมากกว่าผู้หญิง3เท่า!
สภาพก้อนนิ่วในไต
นิ่วในไต คืออะไร
นิ่วในไตคือการตกผลึกของสารก่อนิ่วในไต ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผลึกแคลเซียมออกซาเลต และบางครั้งอาจเป็นแคลเซียมฟอสเฟต ยูริค หรือสารอื่นๆ นิ่วมีหลายชนิด มีขนาดที่แตกต่างกัน อาจเป็นก้อนเดียวหรือหลายก้อนก็ได้ ทั้งนี้นิ่วจะเกิดขึ้นในไตและอาจจะหลุดลงมาในท่อไตจนถึงกระเพาะปัสสาวะได้ สำหรับโรคนิ่วในไตเป็นโรคที่พบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย แต่กับผู้ชายมีโอกาสจะเป็นนิ่วมากกว่าผู้หญิงได้ประมาณสามเท่า ทั้งนี้นิ่วสามารถเกิดได้ในทุกภูมิภาคและทุกสภาวะอากาศ ในประเทศไทยจะพบได้แทบภาคของประเทศ
สาเหตุของโรคนิ่วในไต
นิ่วในไตอาจเกิดขึ้นได้จากปริมาณของเกลือ แร่ธาตุ และสสารต่าง ๆ เช่น แคลเซียม กรดออกซาลิก และกรดยูริกในปัสสาวะที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมีปริมาณมากเกินกว่าของเหลวในปัสสาวะจะละลายหรือทำให้เข้มข้นน้อยลงได้ จนเกิดการเกาะตัวเป็นก้อนนิ่วในที่สุด
การเกิดนิ่วในไตยังอาจมีปัจจัยจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารบางชนิด เช่น เกลือ น้ำตาล และ อาหารที่มีโปรตีนสูง การดื่มน้ำไม่มากพอในแต่ละวัน หรือเป็นผลมาจากโรคอื่นที่เป็นอยู่ เช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ โรคเมตาบอลิก รวมถึงการใช้ยารักษาโรคบางชนิดอย่างโรคเกาท์ ไทรอยด์ทำงานเกินปกติ เบาหวาน โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง และการรับประทานวิตามินดีเสริมมากเกินไป ทั้งนี้ สาเหตุของนิ่วในไตยังอาจแบ่งได้ตามประเภทของก้อนนิ่วที่เกิดจากสารหลัก ๆ 4 ชนิด ดังนี้
1. แคลเซียม ก้อนนิ่วจากแคลเซียมเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด และส่วนมากมักเป็นก้อนนิ่วจากแคลเซียมที่รวมกับออกซาเลต ซึ่งเป็นสารที่มักพบในอาหารและเครื่องดื่มที่นิยมดื่มกัน เช่น สตรอว์เบอร์รี่ ส้ม ถั่ว เต้าหู้ น้ำนมเต้าหู้ โซดา ชา เบียร์ กาแฟ เป็นต้น ส่วนการกินผัก ที่มีแคลเซี่ยมสูงมาก ๆ กินต่อเนื่องประจำทุกวัน อาทิเช่น ใบชะพลู ผักโขม ใบยอ สะตอ (ยกเว้นทานเป็นบางมื้อ) ส่วนก้อนนิ่วชนิดอื่นที่มารวมกับแคลเซียมอาจเป็นฟอสเฟต หรือ กรดมาลิกก็ได้
1.1 การดืมนํ้าที่ปริมาณน้อยจนเกินไป หรือ ดืมนํ้าบ่อ / ดืมนํ้าที่ไม่สะอาด
1.2 นํ้าอัดลม
2. กรดยูริก ก้อนนิ่วชนิดที่พบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง หรือพบในผู้ป่วยโรคเกาท์หรือผู้ป่วยที่กำลังเข้ารับการเคมีบำบัด (Chemotherapy) โดยก้อนนิ่วจากกรดยูริกนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อปัสสาวะมีความเป็นกรดมากเกินไป
3. สตรูไวท์ เป็นนิ่วที่ส่วนใหญ่พบในผู้หญิงที่มีการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ ก้อนนิ่วชนิดนี้เป็นก้อนนิ่วที่เกิดจากการติดเชื้อที่ไต (Kidney Infection) และอาจมีขนาดใหญ่จนไปขัดขวางทำให้การขับปัสสาวะถูกปิดกั้น (Urinary Obstruction)
4. ซีสทีน นิ่วชนิดนี้พบได้ไม่บ่อย เกิดขึ้นได้ทั้งกับเพศชายและเพศหญิงที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมของซีสทีน ซึ่งเป็นกรดที่เกิดขึ้นในร่างกายโดยธรรมชาติ และรั่วจากไตมายังปัสสาวะ
อาการของโรคนิ่วในไต
นิ่วในไตอาจจะทำให้เจ็บปวดอย่างรุนแรงหรือเจ็บปวดเล็กน้อยก็ได้ นิ่วสามารถเคลื่อนที่ไปในท่อไตก็ได้และสามารถทำให้เกิดอาการปวดได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังมีอาการปวดที่บริเวณของหลัง สีข้าง อาการปวดอาจร้าวไปท้องน้อยหรือที่ขาหนีบเป็นพักๆ ส่วนอาการอื่นๆได้แก่ การระคายเคืองเวลาปัสสาวะหรือมีอาการปัสสาวะขัด ปัสสาวะเป็นเลือด หรือ มีเม็ดทรายปนออกมากับปัสสาวะ หรือ คลื่นไส้ อาเจียน
สัญญาณอันตราย โรคนิ่วในไต
1. มีอาการปวดท้องบริเวณบั้นเอว หรือท้องน้อยที่ข้างใดข้างหนึ่งเพียงข้างเดียว
2. รู้สึกปวดบิด ๆ เกร็ง ๆ เป็นพัก ๆ คล้าย ๆ กับท้องเดิน หรือปวดประจำเดือน
3.สำหรับระยะเวลาปวด อาจปวดเป็นชั่วโมงๆ หรือ ปวดทั้งวันก็เป็นได้
4. อาจมีอาการปวดลามจากบั้นเอว ไปถึง บริเวณอัณฑะ หรือ ช่องคลอดข้างเดียวกัน
5. มีอาการใจหวิว ใจสั่น หรือ คลื่นไส้ อาเจียน
6. อาการปวดจะเป็นแบบมา ๆ ไป ๆ เป็นพัก ๆ และไม่หายขาด นาน ๆ ครั้งอาจจะเป็นที ซึ่งหากก้อนนิ่วนี้ไม่หลุดออกมา ก็จะปวดอยู่อย่างนั้นไปเรื่อย ๆ ไม่หาย
7. หากมีก้อนนิ่วหลายก้อน หรือ ก้อนนิ่วมีขนาดเล็กมาก ๆ อาจพบ เห็นก้อนนิ่วเล็ก ๆ ออกปนกับปัสสาวะ
8. เมื่อกดบริเวณที่ปวดแล้วจะไม่รู้สึกเจ็บ หรือบางครั้งอาจรู้สึกว่าสบายขึ้น
9. หากมีอาการหนัก จะปวดท้อง พร้อมกับมีไข้สูง ทานยาบรรเทาปวดแล้วยังไม่หายปวด
หากเริ่มรู้สึกว่ามีอาการปวดท้องบ่อย ๆ รบกวนการชีวิตประจำวัน หรือ ปวดมากจนทนไม่ไหว กินยาบรรเทาปวดก็เอาไม่อยู่ เพราะว่าก้อนนิ่ว อาจมีขนาดใหญ่ และอาจจะไปอุดตัน ส่วนใดส่วนหนึ่งของอวัยวะภายในร่างกายได้ จนอาจทำให้อวัยวะนั้น ๆ ถูกรบกวนการทำงาน และ อักเสบได้ ดังนั้นจึงควรจะรีบปรึกษาแพทย์ทันที
หมายเหตุ - มีหลายคนพูดว่า "นํ้าโซดา" สามารถละลายก้อนนิ่วได้ ซึ่งทางคณะแพทย์ศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช ระบุว่า เป็นความเชื่อที่ผิด ๆ สำหรับการรักษาให้หาย คือ การป้องกัน และ พบแพทย์ เท่านั้น