หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

หัวเว่ยแนะอัพเกรดเครือข่ายรองรับการขับขี่อัตโนมัติ

โพสท์โดย thursmds

หัวเว่ยแนะอัพเกรดเครือข่ายรองรับการขับขี่อัตโนมัติ

 

เจนีวา/ 15 พฤศจิกายน 2561 – ในงาน Ultra-Broadband Forum ครั้งที่ 5 (UBBF 2018) ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มร. เดวิด หวัง คณะกรรมการบริษัท และประธานบริหาร กลุ่มผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นของหัวเว่ย ได้กล่าวว่า “ในยุคของโลกอัจฉริยะที่ทุกสิ่งเชื่อมต่อกัน การขับขี่อัตโนมัติหรือไร้คนขับกำลังจะเกิดขึ้นจริง ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ยานยนต์ การบิน และการผลิต ก็กำลังพัฒนาสู่ความทันสมัยด้วยการนำเทคโนโลยีอัตโนมัติเข้ามาใช้”

 

มร. หวัง กล่าวต่อว่า “แต่ภาคโทรคมนาคมกลับต้องเผชิญกับปัญหาด้านโครงสร้างขนานใหญ่ เพราะเครือข่ายขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี ในขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ (OPEX) กลับพุ่งสูงขึ้นเร็วกว่ารายได้ ยิ่งไปกว่านั้น โอเปอเรเตอร์ยังต้องใช้เม็ดเงินในการดูแลเครือข่ายของตนมากกว่า OTT ถึง 100 เท่า โอเปอเรเตอร์จึงจำเป็นต้องสร้างเครือข่ายการขับเคลื่อนอัตโนมัติ”

 

มนุษย์เราไม่เคยหยุดที่จะแสวงหาสิ่งที่ดีกว่า ในปี พ.ศ. 2490 สหรัฐอเมริกาประสบความสำเร็จในการบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยไร้คนขับเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2526 เป็นครั้งแรกของโลกที่ได้เห็นรถไฟที่ขับเคลื่อนเองโดยไม่มีคนขับ ซึ่งก็คือ รถไฟสาย Métro de Lille ในฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2555 Google ได้รับใบอนุญาตขับขี่สำหรับรถขับเคลื่อนอัตโนมัติเป็นครั้งแรกของโลกที่รัฐเนวาด้า และจากข้อมูล ณ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติของ Google ได้วิ่งเป็นระยะทางรวม 8 ล้านกิโลเมตรแล้ว สะท้อนให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงทุกอย่างที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมต่าง ๆ กำลังผลักดันสังคมให้ก้าวไปสู่ยุคใหม่

 

อุตสาหกรรมโทรคมนาคมต้องเผชิญกับความซับซ้อนที่มีลักษณะจำเพาะหลายอย่าง ซึ่งแตกต่างไปจากยานยนต์อัตโนมัติ ในแง่ความหลากหลายของบริการ เครือข่ายโทรคมนาคมหนึ่งเครือข่ายประกอบไปด้วยบริการหลายประเภท เช่น บริการโทรศัพท์มือถือ บริการบรอดแบนด์ภายในบ้าน และบริการระดับองค์กร ดังนั้น ระบบขับขี่อัตโนมัติจึงต้องทำความเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายของบริการต่าง ๆ ให้ถูกต้อง เพราะสำหรับสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติการและสภาพถนน ซึ่งมีทางหลวงต่างๆ ทำหน้าที่เป็นเสมือนศูนย์ข้อมูล ถนนในเมืองหรือในชนบททำหน้าที่ให้การเข้าถึงบรอดแบนด์แก่ประชากร ดังนั้นระบบขับขี่อัตโนมัติจึงต้องสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อนซึ่งมีการผสมผสานเทคโนโลยีหลายตัวเข้าด้วยกัน ตั้งแต่เรื่องของการปฏิบัติการตลอดวงจรชีวิต บทบาทต่างๆ เช่น การวางแผน, ระบบ O&M และการจัดหาบริการนั้น ล้วนมีความท้าทายที่แตกต่างกันออกไป

 

มร. หวัง ได้กล่าวว่า “การพัฒนาสู่เครือข่ายการขับขี่อัตโนมัติจะต้องก้าวหน้าไปตามรูปแบบการใช้งาน และปฏิบัติตามหลักการสำคัญ 3 ประการ คือ 1) เราควรมุ่งเน้นประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับ OPEX 2) เราต้องเริ่มต้นจากเทคโนโลยีหนึ่ง แล้วจึงค่อยๆ ขยายไปสู่หลายๆ เทคโนโลยี จากงานเดียวไปสู่การทำหลายๆ งานพร้อมๆ กัน แล้วค่อยสร้างระบบวงจรปิด และ 3) เราต้องพัฒนารูปแบบข้อมูลจากประสบการณ์และจากบนลงล่าง รวมถึงประสิทธิภาพในการใช้งานร่วมกัน”

 

เครือข่ายการขับขี่อัตโนมัติไม่ได้ต้องการแค่นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่เป็นเรื่องของสถาปัตยกรรมระบบอันล้ำสมัยและโมเดลธุรกิจใหม่ๆ มากกว่า หัวเว่ยจึงได้เชิญชวนผู้ประกอบการทั้งหมดในอุตสาหกรรมมาร่วมกันทำงานเพื่อกำหนดมาตรฐานที่ชัดเจน แนะนำนวัตกรรมและการใช้งานด้านเทคโนโลยี สำหรับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมนั้น จากประสบการณ์ในการให้บริการและประสิทธิภาพในการดำเนินงาน หัวเว่ยได้เสนอเครือข่ายการขับขี่อัตโนมัติ 5 ระดับด้วยกัน คือ

 

ระดับ 0 – Manual O&M: ระบบนี้มีคุณสมบัติในการเฝ้าติดตาม ซึ่งต้องดำเนินงานทั้งหมดด้วยระบบแมนวล

 

ระดับ 1- Assisted O&M: ระบบจะทำงานย่อยๆ บางอย่างตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินการ

 

ระดับ 2 - Partial Autonomous Network: ระบบเครือข่ายอัตโนมัติบางส่วน ช่วยให้สามารถทำ O&M แบบวงจรปิดสำหรับบางยูนิตได้ภายใต้สภาพแวดล้อมภายนอกบางอย่าง ลดปัญหาเรื่องประสบการณ์และทักษะของพนักงาน

 

ระดับ 3 - Conditional Autonomous Network: เครือข่ายอัตโนมัติแบบมีเงื่อนไขอัพเกรดจากเครือข่ายระดับ 2 ระบบสามารถรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้แบบเรียลไทม์ และในเทคโนโลยีบางอย่าง สามารถเพิ่มหรือปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมภายนอกเพื่อให้สามารถบริหารจัดการวงจรปิดได้อย่างที่ตั้งใจ

 

ระดับ 4 - Highly Autonomous Network: พัฒนาขึ้นจากระดับ 3 ช่วยให้สามารถบริหารจัดการเครือข่ายบริการแบบคาดการณ์ล่วงหน้าหรือแบบระบบปิด รวมถึงเครือข่ายที่ขับเคลื่อนด้วยประสบการณ์ของลูกค้าได้ในสภาพแวดล้อมที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการสามารถแก้ไขข้อบกพร่องของเครือข่ายได้ก่อนที่จะได้รับการร้องเรียนจากลูกค้า ลดปัญหาการหยุดชะงักของบริการและข้อร้องเรียนของลูกค้า ทำให้ลูกค้าได้รับความพึงพอใจมากขึ้น

 

ระดับ 5 - Full Autonomous Network: เครือข่ายอัตโนมัติเต็มสูบคือเป้าหมายสูงสุดของการพัฒนาเครือข่ายโทรคมนาคม ระบบจะมีขีดความสามารถในการทำงานอัตโนมัติแบบวงจรปิด ครอบคลุมทั้งบริการและเทคโนโลยีต่างๆ ตลอดวงจรชีวิต ทำให้เป็นเครือข่ายการขับขี่อัตโนมัติอย่างแท้จริง

 

“บนเส้นทางของการพัฒนาสู่การขับขี่อัตโนมัติ เครือข่ายโทรคมนาคมต้องเผชิญกับความท้าทายมากมายรวมถึงการที่เราไม่อาจทราบถึงสถานะของเครือข่าย และการแยกระบบปฏิบัติการและบำรุงรักษาออกจากกัน" มร. หวัง กล่าว “สิ่งนี้ทำให้เราต้องปรับโครงสร้าง รังสรรค์สถาปัตยกรรมเครือข่ายและเทคโนโลยีที่สำคัญ ๆ อย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อันดับแรกคือ เราจำเป็นต้องสร้าง Edge Intelligence ขึ้นมาบนเครือข่ายทางกายภาพ เพื่อตรวจจับสถานะเครือข่ายในแบบเรียลไทม์ และลดความซับซ้อนของสถาปัตยกรรมและโปรโตคอลของระบบเครือข่าย ประการที่สองคือ เราจะใช้โมเดลแบบครบวงจรเพื่อสร้างเครือข่ายดิจิทัลแฝด ทำให้สามารถตรวจสอบและคาดการณ์สถานะของเครือข่ายได้ และเรายังสามารถนำเทคโนโลยี AI มาใช้ ณ จุดนี้ เพื่อเพิ่มคุณสมบัติด้านการคาดการณ์ให้กับ O&M และเสริมประสิทธิภาพของระบบปิดให้ได้มากที่สุด ประการที่สามคือ ต้องมีแพลตฟอร์มคลาวด์แบบเปิดเพื่อรองรับการฝึกอบรมและการเพิ่มพูนขีดความสามารถด้านอัลกอริธึ่มของ AI รวมถึงการพัฒนาแอพพลิเคชันต่าง ๆ เช่น การวางแผน การออกแบบ การจัดหาบริการ การรับประกันระบบ O&M และการเพิ่มประสิทธิภาพเครือข่าย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การดำเนินงานของเครือข่ายแบบระบบปิดดำเนินไปโดยอัตโนมัติตลอดวงจรชีวิตการใช้งาน”

 

หัวเว่ยได้สร้างนวัตกรรมและการค้นคว้าในเรื่องเครือข่ายการขับขี่อัตโนมัติอย่างจริงจัง และได้พัฒนาเครือข่าย Intent-Driven Network (IDN) และโซลูชันอื่น ๆ โซลูชันเหล่านี้ครอบคลุมลักษณะการใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การเข้าถึงบรอดแบนด์ เครือข่าย IP เครือข่ายใยแก้วนำแสง เครือข่ายศูนย์ข้อมูล และการสื่อสารความเร็วสูงส่วนบุคคลขององค์กร โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยผู้ประกอบการและองค์กรต่างๆ ปรับเปลี่ยนระบบเครือข่ายของตนให้เป็นระบบดิจิทัลที่เน้นประสบการณ์ด้านบริการ หัวเว่ยและผู้ประกอบการชั้นนำระดับโลกได้ร่วมกันเปิดตัวโครงการ NetCity เพื่อกำหนดรูปแบบทางธุรกิจและรังสรรค์นวัตกรรมต่างๆ ตามรูปแบบ DevOps เพื่อปรับใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่างรวดเร็ว

 

มร. หวัง กล่าวสรุปว่า “มันเป็นการเดินทางที่ยาวนานเพื่อก้าวไปสู่เครือข่ายการขับขี่อัตโนมัติ เพื่อทำความฝันของเราให้เป็นจริง อุตสาหกรรมต้องทำงานร่วมกันและก้าวต่อไปข้างหน้า หัวเว่ยมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาโซลูชั่นไอซีทีชั้นนำด้วยการรังสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง และจัดการความซับซ้อนด้วยตัวเราเอง เพื่อมอบความเรียบง่ายให้กับลูกค้า เมื่อผนึกกำลังร่วมกัน เราจะสามารถสร้างโลกอัจฉริยะที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างเต็มรูปแบบ”

 

-จบ-

เนื้อหาโดย: thursmds
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
thursmds's profile


โพสท์โดย: thursmds
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
AI หลุดบอกเลข งวด 16 เมษายน 2567"วงกลมลึกลับ" โผล่เหนือน้ำ..บางหลุมมีปลาอยู่ มันคืออะไรกันแน่ ?iPhone รุ่นประหยัดมาแล้ว!พลังมหัศจรรย์ของ "เกลือ" เปลี่ยนการซักผ้าให้สะอาดง่าย3 ราศีที่มีความร้ายกาจ อย่างคาดไม่ถึง!หลานโฉด เข็นศwลุงไปกู้เงินธนาคาร"เปรี๊ยอภัยมณี" วรรณคดีไทย ที่เขมรเคลมเปลี่ยนชื่อไปจาก "เรื่องพระอภัยมณี"?เคลมอีกแล้ว! อ้างมั่ว "ลิซ่า" ไม่ใช่คนไทย..แต่เป็นคนเขมรอินโดนีเซียเตือนภัยขั้นสูงสุดภูเขาไฟปะทุบนเกาะสุลาเวสี
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ประชาชนทนไม่ไหว! ป้ายรถเมล์ไม่อัพเดท..เลยเขียนเส้นทางเดินรถใหม่AI หลุดบอกเลข งวด 16 เมษายน 2567complex: ซับซ้อนทำไมมนุษย์ถึงตื่นเช้า?
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ประชาสัมพันธ์ข่าวสาร
MSC send happiness on The National Children’s Day 2024HIS MSC จัดงาน Metro Trend for Hospitality 2024Metro Connect ร่วมมือ IBM Thailand จัดงาน Exploring IBM's Newest Technology AdvancementsMetro Connect collaborated with IBM Thailand arranged Exploring IBM's Newest Technology Advancements Seminar
ตั้งกระทู้ใหม่