ระวังโรคใหม่ "โรคไม่รู้จักความลำบาก" ของเด็กไทย...
ระวังโรคใหม่ "โรคไม่รู้จักความลำบาก" ของเด็กไทย...
เคยสังเกตบ้างไหมว่าทำไม เด็กสมัยนี้ ไม่ค่อยอดทนกับสิ่งใดเลย แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยในชีวิต ทุกวันนี้เราเห็นเด็กถือแต่สมาร์ทโฟน ไอแพดไว้เล่นเกม ครอบครัวเองก็เลี้ยงลูกตามใจ จึงทำให้เด็กไทยมีโรคใหม่ติดตัวที่ชื่อว่า โรคไม่รู้จักความลำบาก ซึ่งเป็นโรคใหม่ที่เกิดขึ้นสำหรับเด็กๆ และจะกลายเป็นปัญหาต่อการเติบโต หากพ่อแม่ไม่ได้เลือกสร้างภูมิคุ้มกันของความลำบากให้ลูก ไม่เลือกให้ลูกได้ออกไปพบเจอโลกของความจริงที่ว่า ชีวิตแม้ว่าจะรวยหรือจนก็ไม่มีใครสบายได้ตลอดไป ต้องมีความลำบาก ความทุกข์ เกิดขึ้นปะปนกัน โดยสาเหตุที่เด็กถึงเป็นโรคไม่รู้จักความลำบาก...
1.ถูกเทคโนโลยีครอบงำ
การใช้สมาร์ทโฟน แทปเล็ต ได้กลายมาเป็นสื่อที่มีบทบาทกับเด็ก ๆ ตั้งแต่ตัวเล็กในยุคดิจิตอล และมีอิทธิพลมากขึ้นกว่าในสมัยก่อน ซึ่งมีให้เลือกหลายแบบ หลายราคาที่จับต้องได้ ทำให้พ่อแม่ยุคใหม่หยิบยื่นให้ลูกใช้ง่าย ๆ ทั้งๆ ที่ยังไม่ถึงเวลาอันสมควร และไม่พยายามปฏิเสธหรือเบี่ยงเบนความสนใจให้ลูกไปทำกิจกรรมอย่างอื่น
2.อยากให้ลูกสบายเป็นผลทำร้ายลูกโดยไม่รู้ตัว
การมีพี่เลี้ยงไว้คอยดูแลลูกน้อย โดยไม่ยอมสอนลูกให้ลองทำอะไรด้วยตัวเอง จนลูกไม่สามารถทำอะไรเป็นได้ เมื่อเติบโตขึ้นในสังคม เช่น เริ่มต้นเข้าโรงเรียนก็จะกลายเป็นภาระให้กับบุคคลรอบข้างที่ต้องคอยช่วยเหลือ
3.ปกป้องลูกมากเกินไป
กังวลเกรงว่าจะเกิดอันตรายกับลูกรัก จึงไม่หาโอกาสพาลูกออกไปเปิดประสบการณ์ต่อโลกภายนอก และจำกัดที่ทางให้ลูกอยู่ภายใน cยอมให้ลูกนั่งดูทีวี เปิดยูทูป เล่นเกมในไอแพด ซึ่งเป็นการปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้กับสังคมภายนอก และไม่รู้จักกับการแยกแยะความแตกต่างระหว่างคนดีกับคนไม่ดี ขาดการสังเกตและเรียนรู้
4.ไม่ยอมปล่อยให้ลูกลำบาก เพราะพ่อแม่เคยลำบากมาก่อน
ไม่อยากให้ลูกมีชีวิตเหมือนที่ตนเองเคยเป็นมาก่อน พอฐานะดีขึ้นจึงส่งเสริมและเลี้ยงลูกด้วยวัตถุ เงินทอง ฯลฯ เหล่านี้จะทำให้เด็กกลายเป็นคนขาดความอดทน ไม่มีความมั่นคงในจิตใจ อ่อนแอ และแข็งกระด้าง
5.การใช้ชีวิตติดรูปแบบจากอิทธิพลของสื่อ
ด้วยเทคโนโลยีที่มีการนำเสนอรูปแบบการใช้ชีวิตที่ดูสวยหรูผ่านสื่อทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ หรือสื่อออนไลน์อย่างเฟซบุ๊ค อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ มีการโชว์และแชร์ถ่ายภาพ อวดของหรู ชูของสวย ด้วยอิทธิพลของสื่อเองและการเลี้ยงลูกแบบตามใจมาก่อน ทำให้เด็กเกิดความอยากได้อยากมีตามกระแสสังคม...