หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

การแสดง"โขน"รามเกียรติ์ เป็นของใคร?

โพสท์โดย อ้ายเติ่ง

การแสดง "โขน" รามเกียรติ์ เป็นของใคร ?
...

.
- อินเดีย เจ้าของวรรณกรรม ในปัจจุบัน ก็มีการแสดง รามายณะ แบบสวมหน้ากาก
- อินโด (ชวา) ในปัจจุบัน ก็มีการแสดงรามายณะ แบบสวมหน้ากาก
- พม่า ในปัจจุบัน ก็มีการแสดงโขน รามเกียรติ์ (ตามแบบโยเดีย)
- ลาว (หลวงพระบาง) ในปัจจุบัน ก็มีการแสดงโขน รามเกียรติ์ (ตามแบบไทย)
- เขมร ในปัจจุบัน ก็มี ลโคนโขล (ល្ខោនខោល) รามเกียรติ์ 
- ไทย มีการแสดงโขน รามเกียรติ์ มาตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยา


.
.
- ผู้เขียนขออนุญาต ไม่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกกาก ๆ แบบ “ชาตินิยม” จนละเลยการใช้หลักฐานชั้นต้นมาอธิบาย อันควรเป็นที่ยอมรับกันในระดับสากล
.
- ผู้เขียนขอแยกคำว่า "วรรณกรรม - คติความเชื่อ - ศิลปะ และการแสดง" ออกจากกันในการอธิบายครับ
.
.
*** "โขน" มีความหมายถึง ส่วนหัว ที่ยื่นออกมาจากตัวหรือ ส่วนหน้า อย่างการใช้คำว่า โขนเรือ (ส่วนหน้าของเรือ) ผีตาโขน (ตาถลน ใส่หัว – บ้างก็แต่งไปว่าผีตามคน) โขน - โขลนทวาร (ส่วนหน้าประตู) 
.
หลักฐานชิ้นสำคัญจากบันทึกของ “ลาลูแบร์” ในปี พ.ศ. 2231 (1688) กล่าวถึงการแสดงมหรสพชาวสยามว่า "...ตัวผู้เต้นรำนั้นสวมหน้าโขนและถือศาสตราวุธ (เทียม) ...โลดเต้นเผ่นโผนอย่างแข็งแรงและออกท่าทางพิลึกพิลั่นเกินจริง ... จะพูดอะไรไม่ได้เพราะมีหน้าโขนปิดปากบนเสีย ตัวโขนเหล่านั้นสมมุติว่าเป็นสัตว์ร้ายบ้างภูตผีบ้าง (หมายถึงลิงกับยักษ์)..."


.
ในขณะหลักฐานการแสดงมหรสพที่เก่าแก่ของราชสำนักบายนในยุคพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ราวพุทธศตวรรษที่ 18 จากภาพสลักนูนต่ำทั้งที่ปราสาทบายนและบันทายฉมาร์ ปรากฏการแสดงละครร้อง ละครใน (แสดงโดยผู้หญิง) แต่ไม่ปรากฏรูปของบุคคลใส่หัวโขนแสดงเรื่องรามายณะแต่อย่างใด


.
ในยุควัฒธรรมเขมรโบราณก่อนพุทธศตวรรษที่ 20 จึงปรากฏแต่วรรณกรรม คติความเชื่อและศิลปะ เฉพาะในเรื่อง "รามายณะ" ตามวัฒนธรรมอินเดียเท่านั้น ยังไม่ปรากฏว่ามี การแสดงใส่หัวโขนในเรื่องรามเกียรติ์แต่อย่างใด


.
สรุปก็คือ คติความเชื่อและศิลปะจากวรรณกรรมรามายณะในยุคเมืองพระนคร ไม่ใช่การแสดงโขนรามเกียรติ์ นะครับ

บันทึก "โจวต้ากว้าน" ในยุคพระเจ้าศรีนทรวรมัน พุทธศตวรรษที่ 19 ก็ไม่เคยกล่าวถึงการแสดงมหรสพใส่หน้ากากภายในราชสำนักแต่อย่างใด
.
รวมทั้งการศึกษาของ EFEO ก็ไม่ได้เคยปรากฏเรื่องราวของการแสดงโขนรามเกียรติ์ นอกเหนือไปจากการฟ้อนรำหน้าพระที่นั่งและการแสดงกายกรรม ที่ปรากฏเป็นภาพสลักนูนต่ำของปราสาทบายน เพียงเท่านั้น 
.
การแสดงโขนรามเกียรติ์จึงไม่ได้เริ่มพัฒนาขึ้นในรัฐกัมพูชา ที่ไม่ค่อยมีเสถียรภาพหลังสิ้นยุคเมืองพระนครตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 20 ครับ
.
.
*** ถ้าจะให้นับว่า “โขน” เริ่มต้นมาจากไหน คงต้องนิยามการแสดงรูปแบบการแสดงนี้ก่อนว่า โขน คือ “การแสดง” เฉพาะเรื่อง “รามเกียรติ์” (เรื่องอื่นไม่นำมาแสดง) ที่มีการนำหน้ากาก (The Mask) มาสวมใส่ เพื่อการสมมุติเป็นตัวแสดงนั้น ๆ แทนที่หรือเพิ่มเติมขึ้นจากการแต่งหน้าให้เป็นตัวละครนั้น ๆ และเป็นการแสดงที่ผู้แสดงไม่ได้ส่งเสียงเอง แต่มีการพากย์เสียงและดนตรี 
.
ซึ่งแน่นอน หากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยังไม่ปรากฏรูปสลัก รูปวาด การสวมหน้ากากหรือหัวโขน (ตัวสมมุติ) ที่เก่าแก่กว่าหลักฐานการบรรยายโดยลาลูแบร์ (พุทธศตวรรษที่ 23) ก็ยังบอกไม่ได้หรอกว่าการแสดงโขนนั้นจะมีมาก่อนกรุงศรีอยุธยา
.
.
*** แต่ในยุโรป ช่วงศตวรรษที่ 15 มีความนิยมการแสดง “ละครสวมหน้ากาก” (Masque) โดยผู้แสดงไม่มีบทพูด แต่มีบทพากย์เสียงและดนตรีประกอบกันมาแล้ว


.
โขน เป็นการแสดงละครแต่งหน้า เรื่องรามเกียรติ์ ที่รับ "รูปแบบ" มาจากศิลปะการแสดงละครหน้ากากยุคใหม่ ใช้การพากย์เล่าเรื่องมาจากยุโรป เช่นเดียวกับชวา แต่ยังไม่มีหลักฐานใดแสดงว่ากัมพูชา/พม่า/ลาว/มีการแสดงละคร (ใส่หัว) หน้ากากในช่วงเวลานี้
.
พัฒนาการของการแสดงละครใน ตามท้องเรื่อง "รามเกียรติ์" ที่แต่งขึ้นในกรุงศรีอยุธยา ไม่ใช่วรรณกรรมรามายณะของอินเดียโบราณที่ผ่านวัฒนธรรมเขมร จึงถูกดัดแปลงจากการแสดงละครร้องมาเป็นละครพากย์ เพื่อการแสดงเฉพาะในราชสำนักที่โอ่อ่าหรูหราตามแบบอย่างตะวันตก ในช่วงการติดต่อค้าขายระหว่างกัน ละครหน้ากากเฉพาะราชสำนักและคนชั้นสูงของกรุงศรีอยุธยาจึงได้กลายมาเป็นการแสดงโขนเป็นครั้งแรกครับ


.
การแสดงโขนรามเกียรติ์ จึงเป็นพัฒนาการของละครร้อง ละครนางในเก่าแก่ ที่เอาศิลปะการสวมหน้ากาก มาสมมุติตัวเองตามแบบอย่างตะวันตก
.
.
*** การกล่าวอ้างในโซเชียลมีเดีย รวมทั้งความเข้าใจผิดที่คิดว่าเลขลำดับเป็นเลขปีในรูปภาพเก่าในยุคอาณานิคมฝรั่งเศสแต่กลับนำมาประโคมความเป็นเจ้าข้าวเจ้าของ จึงเป็นเพียงการแสดงออกของความไม่เรียนรู้ ไม่เข้าใจและอคติในมายาแบบ “ชาตินิยม”

ในขณะที่นักวิชาการฝ่ายไทยก็เลือกประนีประนอม ด้วยคำว่า "วัฒนธรรมร่วม" ซึ่งหลายอย่างก็อาจร่วมรากแลกเปลี่ยนกันมาในยุคก่อนรัฐประชาชาติยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่การแสดงละครโขนเรื่องรามเกียรติ์ เป็นรูปแบบการแสดงที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ยุคที่ตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลในกรุงศรีอยุธยาแล้ว


.
ประวัติศาสตร์ของฝ่ายกัมพูชายังไม่มีหลักฐานใด ๆ ที่แสดงให้เห็นว่าเป็นผู้ริเริ่มการแสดงหน้ากากรามายณะ จากยุคนครวัด (ไม่ใช่รามเกียรติ์ นะครับ เพราะแต่งในยุคกรุงศรีอยุธยา) ก่อนใครในภูมิภาคนี้

นอกจากเรื่องเล่าของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ที่กล่าวอ้างถึง “หม่อมเจ้าฉวีวาด” จ้างเรือสำเภาขนสมบัติและผู้ติดตามหนีไปยังเขมร พร้อมคณะละครของเจ้าจอมมารดาอัมพา

 

อีกทั้งหลักฐานการฝึกหัดเจ้านายเขมรโดยคณะละครวังหน้าของเจ้าจอมมารดาเอมในสมเด็จพระปิ่นเกล้า และยังคณะละครผู้หญิงและโขนชายของเจ้าพระยาบดินทร์เดชา ที่ติดตามเข้าไปสอนยังเมืองพระตะบอง นโรดมและราชทรัพย์ในคราวศึกอันนัมสยามยุทธ์ อันเป็นจุดเริ่มต้นของการแสดงในราชสำนักหลวงของฝ่ายกัมพูชาอย่างแท้จริงครับ
.
ส่วนพม่านั้น รับเอาการแสดงละครสวมหัวหน้ากาก มาจากเชลยศึกกรุงศรีอยุธยา พัฒนาไปเป็นรูปแบบการแสดงโขนรามเกียรติ์ของตนเองในยุคหลัง


.
ถ้าอยุธยาไม่มีโขน แล้ว พม่าจะเอาการแสดงโขนมาจากชาวโยเดียได้อย่างไร


.
.
*** ในมุมมองทางมานุษยวิทยา คนโบราณที่นับถือเทพเจ้าในคติฮินดู ไม่เคยนำเอาตัวเทพเจ้าลงมาเล่นเป็นละคร ไม่ว่าจะศักดิ์สิทธิ์หรือไม่ก็ตาม ในยุคสมัยไศวะนิกาย ไวษณพนิกาย หรือวัชรยานตันตระ ไม่มียุคสมัยของกษัตริย์เทวราชาองค์ใดอนุญาตให้เอาวรรณกรรมศักดิ์สิทธิ์ ลงมาร้องเล่นเป็นการแสดง ขนาดกษัตริย์โบราณในวัฒนธรรมเขมร ยังต้องผ่านพิธีกรรมเทวราชามาก่อนครับ


.
ภาพสลักทั้งหลายในยุคพุทธศตวรรษที่ 18 -19 ในยุควัฒนธรรมฮินดู/วัชรยาน ของเขมร จึงไม่เคยปรากฏหลักฐานการแสดงแสดงมหรสพในรูปแบบการใส่หัวหน้ากากใด ๆ (ไม่อยากเรียกว่าโขน เพราะจะหลงคำกันไปอีก) 
.
การแสดงหน้ากากเรื่องรามเกียรติ์ เพิ่งเริ่มพัฒนารูปแบบการแสดงมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 21 - 22 แล้วรับอิทธิพลมาจากใครกันล่ะ ใครที่กล้าเอาเรื่องราวของเทพเจ้า แต่งตัวเป็นเทพเจ้ามาเล่นเป็นละครพากย์ เอาเรื่องราวของเทพมาสมมุติกับตัวมนุษย์จริง แล้วโลดแล่นไปตามวรรณกรรมปกรณัม โดยไม่เกรงกลัวต่อความศักดิ์สิทธิ์ คติความเชื่อในศาสนาแบบดั้งเดิม


.
การติดต่อของชาวยุโรปมาสู่กรุงศรีอยุธยาจึงอาจเป็นคำตอบได้ดีที่สุดครับ หลังพุทธศตวรรษที่ 20 (สิ้นสุดจักรวรรดิกัมพูชาโบราณ) และก่อนพุทธศตวรรษที่ 22 (ที่ปรากฏหลักฐานการบรรยายของลาลูแบร์) จึงควรเป็นช่วงเวลาของการกำเนิดการแสดงหน้ากาก (โขนเรื่องรามเกียรติ์แบบสำนวนอยุธยา) ขึ้นเป็นครั้งแรก


.
ช่วงเวลานี้ เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ อิทธิพลทางศาสนาฮินดูและเทพเจ้าในกรุงศรีอยุธยาลดลง วรรณกรรมรามายณะถูกเปลี่ยนแปลงมารับใช้สถาบันกษัตริย์ กลายมาเป็น วรรณกรรม "รามเกียรติ์" สมมุติเทพมาแทนเทวราชา เมื่อฮินดูลดความแรงในความศักดิ์สิทธิ์ลง ความเกรงกลัวในการนำตัวเอกของวรรณกรรมที่เคยมีอยู่ก็ลดลงหายไป การแสดงหน้ากากโขนโดยการสมมุติตัวแสดงขึ้นมาแทนองค์อวตารของเทพเจ้าจึงกลายมาเป็นการแสดงเพื่อประกอบพระบารมี เดชานุภาพ ประกอบในความเป็นกษัตริย์ เช่นเดียวกับเหล่าเครื่องสูง เครื่องราชกกุธภัณฑ์


.
การแสดง "โขน" ในยุคเริ่มแรก จึงไม่ได้เป็นเพียงการแสดงละครเพื่อความบันเทิงแบบในปัจจุบัน แต่เป็นเครื่องแสดงพิธีกรรม ประกอบอยู่ในความเป็นกษัตริย์ให้กับเหล่า “พระรามาธิบดี” อันเป็นพระนามของกษัตริย์ในยุคกรุงศรีอยุธยา โขนหน้ากากจึงไม่ใช่การแสดงง่าย ๆ และไม่ใช่การแสดงที่แพร่หลาย จะมีก็เฉพาะในราชสำนักที่ถือตนว่าเป็นอวตารแห่งพระราม


.

ดังนั้น การแสดงเพื่อการประกอบความเป็นพระรามาธิบดี (พระราม) จึงไม่เคยถูกใช้ที่ กัมพูชา พม่า ลาว ชวา ทั้งหมดนั้น คือรูปแบบการแสดงละครร้องเรื่องรามายณะ ที่มีการแต่งหน้าแต่งตาให้เหมือนตัวละครเท่านั้น
.
.
*** การแสดงโขนใส่หัวหน้ากากจึงไม่เคยเป็นของกัมพูชา ไม่เคยเป็น "วัฒนธรรมร่วม"ถึง วรรณกรรมรามายณะ หนังใหญ่ (สะแบกธม) การแสดงละครร้อง การรำ หรือหลายอย่าง อาจจะเป็น "วัฒนธรรมร่วม" แต่การแสดงโขนใส่หน้ากากสวมหัวนั้น เป็นเครื่องประดับพระยศพระบารมีแห่งรามาธิบดีของกรุงศรีอยุธยา แล้วกัมพูชาที่ไม่เคยมีคติความเชื่อนี้ ในยุคของอุดงมีชัยหรือพนมเปญ จะเป็นเจ้าของการแสดงโขนมาได้อย่างไร


.
วิถีวัฒนธรรมบางอย่างร่วมได้ มีความหลากหลาย แต่บางอย่างก็อย่าไปตามใจพวกวัยรุ่นไร้รากมากนัก พวกนี้แค่เอาสะใจตามกระแสชาตินิยม แต่กระแสของความออมชอมมันสูง คนไทยเราเองก็เลยยังงงอยู่ว่า "โขน" มาจากไหนกันแน่ แล้วก็หลง งงไปตามกระแสโซเชียล ที่ชอบยกเรื่องราววรรณกรรมรามายณะมาจากภาพสลักในศิลปะเขมรที่ถูกนำมาใช้ยันไว้แต่แรก ซึ่งมันเป็นภาพสลักที่อยู่ในมิติของคติความเชื่อความศรัทธา ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับมหรสพการแสดง แบบที่กล้าเอาเทพเจ้าและตัวละครอันศักดิ์สิทธิ์ในวรรณกรรมออกมาโลดแล่นเลยครับ
.
พัฒนาการของการแสดงละครต้องดูบริบทที่แวดล้อมด้วย ไม่มีรัฐไหนในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 - 22 ที่แสดงความเป็นรัฐแห่งรามาธิบดี นาม “กรุงเทพทวารวดีศรีอโยธยา" นครแห่งพระราม ได้ชัดเจนเท่ากับกรุงศรีอยุธยาอีกแล้ว


.
หากการละครใน เป็นเครื่องประดับพระยศ โขน ก็เป็นเครื่องประดับพระเกียรติยศแห่งกษัตริย์รามาธิบดี (จึงชอบพูดกันว่า โขนจะแสดงเฉพาะในพระราชสำนัก) แสดงให้กษัตริย์ทอดพระเนตร ไม่ใช่ชมเพื่อความบันเทิง แต่ชมเพื่อสร้างความศักดิ์สิทธิ์ ในความเป็นอวตารมาเป็นพระรามองค์ใหม่



สภาพบริบทแวดล้อมของอยุธยา ศาสนาพุทธและราชสำนักที่มีกลิ่นอายพราหมณ์ ดูผ่อนปรนสำหรับการลดความศักดิ์สิทธิ์ของพระราม (ในคติฮินดู) มาสมมุติเป็นตัวละครเอก ประดับพระเกียรติ ประยุกต์ หน้ากากสวมหัว (โขน) มาจากชวาหรือยุโรป ดัดแปลงเป็นการแสดงตามบทพากย์ ที่เป็นเสียงโศลกอันศักดิ์สิทธิ์ ไม่ใช่คิดจะร้องก็ร้อง

 


การแสดงโขนจึงไม่เคยเป็นของกัมพูชาจนถึงรัชกาลที่ 5 ก่อนยุคอาณานิคมฝรั่งเศส ที่มีครูนาฏศิลป์สยาม เข้าไปสอน จนปรากฏเป็นภาพถ่ายเก่าจำนวนมาก และหลังยุคสงครามภายใน ที่มีครูนาฏศิลป์ไทยเข้าไปช่วยครูนาฏศิลป์กัมพูชา ร่วมกันฟื้นฟูการแสดงโขนแบบสยามเก่าจนพัฒนาเป็น “ลโคนโขล” แบบกัมพูชา ในทุกวันนี้

.
การแสดงโขนเรื่อง “รามเกียรติ์” ไม่เคยเป็นของใคร เพราะเป็นรูปแบบการแสดงผสมตะวันตกเพื่อการ “เฉลิมพระเกียรติ์พระรามาธิบดี” มาตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยาครับ


..
.
.
วรณัย พงศาชลากร
เฟซบุค : EJeab Academy
เพราะทุกที่มีเรื่องราวและเรื่องเล่า
มิถุนายน 2559

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
อ้ายเติ่ง's profile


โพสท์โดย: อ้ายเติ่ง
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: อ้ายเติ่ง
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เจนนี่ทำเซอร์ไพรส์ใหญ่! มอบบ้านพร้อมโฉนดให้ “ลิลลี่ ได้หมดถ้าสดชื่น” ฉลองอายุครบ 20 ปี"เต๋า ทีวีพูล" ลั่น สินค้า "แอน จักรพงษ์" ขายหมดเกลี้ยง Miss Universe 2024 กระแสเกินต้านพบ 12 ศพในสำนักสงฆ์สอนหูตาทิพย์สารพิษและยา สาเหตุสำคัญที่ทำให้ตับมีปัญหาทำได้เกินกว่าที่ลูกค้าคาดหวัง ลูกค้าได้สั่งเค้กสุดพิเศษ แต่แม่ค้ากลับสู้เต็มที่ ทำให้เค้กออกมาสวยงามและอลังการอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อนรับซื้อบ้านผีสิง เรื่องจริงไม่ได้โม้..ไม่สบายใจ ปัดเป่าให้ฟรี"เปิดวาร์ป 'ราชินีเฟรนช์ฟรายส์' พนักงานสาวไวรัล อายุแค่ 20 แต่ความฮอตพุ่งปรี๊ด!"คอนเฟิร์มแล้ว! Miss Grand International 2025 จัดที่ประเทศไทย"ไม่เก็บที่นอนเป็นบาปไหม?" อ.เบียร์ คนตื่นธรรม ตอบชัด จนกลายเป็นไวรัล 4 ล้านวิว!เฉินหลงเผยถึงค่าตัว สามารถซื้อบ้านได้ทั้งหลัง! ย้อนเล่าช่วงชีวิตที่เสียดายที่สุดชายหนุ่มถ่ายเซลฟี่กับสิงโต แต่กลับโดนสิงโตทำร้าย"สภาพพังยับ! ยูทูบเบอร์สาวทำเล็บที่อินเดีย รู้ราคาแล้วอยากร้องไห้"
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ครูเต้ย ตัดพ้อแรง เหลือติดตัวแค่นี้ รถ 1 คัน น้ำมันครึ่งขีด"เต๋า ทีวีพูล" ลั่น สินค้า "แอน จักรพงษ์" ขายหมดเกลี้ยง Miss Universe 2024 กระแสเกินต้านพบเส้นทางการเงินแม่นาย ส.เสือ กว่า 100 ล้านบาท เชื่อมโยงดิไอคอนเตรียมออกหมายเรียก ฟิล์ม รัฐภูมิ ในคดีที่อ้างชื่อ หนุ่ม กรรชัย เรียกร้องค่าเสียหาย 20 ล้านบาทเจนนี่ทำเซอร์ไพรส์ใหญ่! มอบบ้านพร้อมโฉนดให้ “ลิลลี่ ได้หมดถ้าสดชื่น” ฉลองอายุครบ 20 ปี
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
สารพิษและยา สาเหตุสำคัญที่ทำให้ตับมีปัญหาผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง ตัวช่วยลดค่าตับและบำรุงตับให้แข็งแร"พาลี" สอน "สุครีพ" ว่าอย่างไร และ "พาลี" ตายด้วยสาเหตุใดบทเรียนจากอดีตของบริษัทผลิตบุหรี่ : เมื่อความต้องการ "ปกป้องผู้บริโภค" กลายเป็นภัยร้ายที่ซ่อนอยู่...สรุปไอ้สิ่งที่ทำให้ "อันตราย" กว่าเดิมไปอี๊กกก พ่อเอ๊ยย....
ตั้งกระทู้ใหม่