หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

การแสดง"โขน"รามเกียรติ์ เป็นของใคร?

การแสดง "โขน" รามเกียรติ์ เป็นของใคร ?
...
การแสดง"โขน"รามเกียรติ์ เป็นของใคร?
.
- อินเดีย เจ้าของวรรณกรรม ในปัจจุบัน ก็มีการแสดง รามายณะ แบบสวมหน้ากาก
- อินโด (ชวา) ในปัจจุบัน ก็มีการแสดงรามายณะ แบบสวมหน้ากาก
- พม่า ในปัจจุบัน ก็มีการแสดงโขน รามเกียรติ์ (ตามแบบโยเดีย)
- ลาว (หลวงพระบาง) ในปัจจุบัน ก็มีการแสดงโขน รามเกียรติ์ (ตามแบบไทย)
- เขมร ในปัจจุบัน ก็มี ลโคนโขล (ល្ខោនខោល) รามเกียรติ์ 
- ไทย มีการแสดงโขน รามเกียรติ์ มาตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยา

การแสดง"โขน"รามเกียรติ์ เป็นของใคร?
.
.
- ผู้เขียนขออนุญาต ไม่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกกาก ๆ แบบ “ชาตินิยม” จนละเลยการใช้หลักฐานชั้นต้นมาอธิบาย อันควรเป็นที่ยอมรับกันในระดับสากล
.
- ผู้เขียนขอแยกคำว่า "วรรณกรรม - คติความเชื่อ - ศิลปะ และการแสดง" ออกจากกันในการอธิบายครับ
.
.
*** "โขน" มีความหมายถึง ส่วนหัว ที่ยื่นออกมาจากตัวหรือ ส่วนหน้า อย่างการใช้คำว่า โขนเรือ (ส่วนหน้าของเรือ) ผีตาโขน (ตาถลน ใส่หัว – บ้างก็แต่งไปว่าผีตามคน) โขน - โขลนทวาร (ส่วนหน้าประตู) 
.
หลักฐานชิ้นสำคัญจากบันทึกของ “ลาลูแบร์” ในปี พ.ศ. 2231 (1688) กล่าวถึงการแสดงมหรสพชาวสยามว่า "...ตัวผู้เต้นรำนั้นสวมหน้าโขนและถือศาสตราวุธ (เทียม) ...โลดเต้นเผ่นโผนอย่างแข็งแรงและออกท่าทางพิลึกพิลั่นเกินจริง ... จะพูดอะไรไม่ได้เพราะมีหน้าโขนปิดปากบนเสีย ตัวโขนเหล่านั้นสมมุติว่าเป็นสัตว์ร้ายบ้างภูตผีบ้าง (หมายถึงลิงกับยักษ์)..."

การแสดง"โขน"รามเกียรติ์ เป็นของใคร?

การแสดง"โขน"รามเกียรติ์ เป็นของใคร?
.
ในขณะหลักฐานการแสดงมหรสพที่เก่าแก่ของราชสำนักบายนในยุคพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ราวพุทธศตวรรษที่ 18 จากภาพสลักนูนต่ำทั้งที่ปราสาทบายนและบันทายฉมาร์ ปรากฏการแสดงละครร้อง ละครใน (แสดงโดยผู้หญิง) แต่ไม่ปรากฏรูปของบุคคลใส่หัวโขนแสดงเรื่องรามายณะแต่อย่างใด

การแสดง"โขน"รามเกียรติ์ เป็นของใคร?
.
ในยุควัฒธรรมเขมรโบราณก่อนพุทธศตวรรษที่ 20 จึงปรากฏแต่วรรณกรรม คติความเชื่อและศิลปะ เฉพาะในเรื่อง "รามายณะ" ตามวัฒนธรรมอินเดียเท่านั้น ยังไม่ปรากฏว่ามี การแสดงใส่หัวโขนในเรื่องรามเกียรติ์แต่อย่างใด

การแสดง"โขน"รามเกียรติ์ เป็นของใคร?
.
สรุปก็คือ คติความเชื่อและศิลปะจากวรรณกรรมรามายณะในยุคเมืองพระนคร ไม่ใช่การแสดงโขนรามเกียรติ์ นะครับ

บันทึก "โจวต้ากว้าน" ในยุคพระเจ้าศรีนทรวรมัน พุทธศตวรรษที่ 19 ก็ไม่เคยกล่าวถึงการแสดงมหรสพใส่หน้ากากภายในราชสำนักแต่อย่างใด
.
รวมทั้งการศึกษาของ EFEO ก็ไม่ได้เคยปรากฏเรื่องราวของการแสดงโขนรามเกียรติ์ นอกเหนือไปจากการฟ้อนรำหน้าพระที่นั่งและการแสดงกายกรรม ที่ปรากฏเป็นภาพสลักนูนต่ำของปราสาทบายน เพียงเท่านั้น 
.
การแสดงโขนรามเกียรติ์จึงไม่ได้เริ่มพัฒนาขึ้นในรัฐกัมพูชา ที่ไม่ค่อยมีเสถียรภาพหลังสิ้นยุคเมืองพระนครตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 20 ครับ
.
.
*** ถ้าจะให้นับว่า “โขน” เริ่มต้นมาจากไหน คงต้องนิยามการแสดงรูปแบบการแสดงนี้ก่อนว่า โขน คือ “การแสดง” เฉพาะเรื่อง “รามเกียรติ์” (เรื่องอื่นไม่นำมาแสดง) ที่มีการนำหน้ากาก (The Mask) มาสวมใส่ เพื่อการสมมุติเป็นตัวแสดงนั้น ๆ แทนที่หรือเพิ่มเติมขึ้นจากการแต่งหน้าให้เป็นตัวละครนั้น ๆ และเป็นการแสดงที่ผู้แสดงไม่ได้ส่งเสียงเอง แต่มีการพากย์เสียงและดนตรี 
.
ซึ่งแน่นอน หากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยังไม่ปรากฏรูปสลัก รูปวาด การสวมหน้ากากหรือหัวโขน (ตัวสมมุติ) ที่เก่าแก่กว่าหลักฐานการบรรยายโดยลาลูแบร์ (พุทธศตวรรษที่ 23) ก็ยังบอกไม่ได้หรอกว่าการแสดงโขนนั้นจะมีมาก่อนกรุงศรีอยุธยา
.
.
*** แต่ในยุโรป ช่วงศตวรรษที่ 15 มีความนิยมการแสดง “ละครสวมหน้ากาก” (Masque) โดยผู้แสดงไม่มีบทพูด แต่มีบทพากย์เสียงและดนตรีประกอบกันมาแล้ว

การแสดง"โขน"รามเกียรติ์ เป็นของใคร?
.
โขน เป็นการแสดงละครแต่งหน้า เรื่องรามเกียรติ์ ที่รับ "รูปแบบ" มาจากศิลปะการแสดงละครหน้ากากยุคใหม่ ใช้การพากย์เล่าเรื่องมาจากยุโรป เช่นเดียวกับชวา แต่ยังไม่มีหลักฐานใดแสดงว่ากัมพูชา/พม่า/ลาว/มีการแสดงละคร (ใส่หัว) หน้ากากในช่วงเวลานี้
.
พัฒนาการของการแสดงละครใน ตามท้องเรื่อง "รามเกียรติ์" ที่แต่งขึ้นในกรุงศรีอยุธยา ไม่ใช่วรรณกรรมรามายณะของอินเดียโบราณที่ผ่านวัฒนธรรมเขมร จึงถูกดัดแปลงจากการแสดงละครร้องมาเป็นละครพากย์ เพื่อการแสดงเฉพาะในราชสำนักที่โอ่อ่าหรูหราตามแบบอย่างตะวันตก ในช่วงการติดต่อค้าขายระหว่างกัน ละครหน้ากากเฉพาะราชสำนักและคนชั้นสูงของกรุงศรีอยุธยาจึงได้กลายมาเป็นการแสดงโขนเป็นครั้งแรกครับ

การแสดง"โขน"รามเกียรติ์ เป็นของใคร?

การแสดง"โขน"รามเกียรติ์ เป็นของใคร?

การแสดง"โขน"รามเกียรติ์ เป็นของใคร?
.
การแสดงโขนรามเกียรติ์ จึงเป็นพัฒนาการของละครร้อง ละครนางในเก่าแก่ ที่เอาศิลปะการสวมหน้ากาก มาสมมุติตัวเองตามแบบอย่างตะวันตก
.
.
*** การกล่าวอ้างในโซเชียลมีเดีย รวมทั้งความเข้าใจผิดที่คิดว่าเลขลำดับเป็นเลขปีในรูปภาพเก่าในยุคอาณานิคมฝรั่งเศสแต่กลับนำมาประโคมความเป็นเจ้าข้าวเจ้าของ จึงเป็นเพียงการแสดงออกของความไม่เรียนรู้ ไม่เข้าใจและอคติในมายาแบบ “ชาตินิยม”

การแสดง"โขน"รามเกียรติ์ เป็นของใคร?

ในขณะที่นักวิชาการฝ่ายไทยก็เลือกประนีประนอม ด้วยคำว่า "วัฒนธรรมร่วม" ซึ่งหลายอย่างก็อาจร่วมรากแลกเปลี่ยนกันมาในยุคก่อนรัฐประชาชาติยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่การแสดงละครโขนเรื่องรามเกียรติ์ เป็นรูปแบบการแสดงที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ยุคที่ตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลในกรุงศรีอยุธยาแล้ว

การแสดง"โขน"รามเกียรติ์ เป็นของใคร?
.
ประวัติศาสตร์ของฝ่ายกัมพูชายังไม่มีหลักฐานใด ๆ ที่แสดงให้เห็นว่าเป็นผู้ริเริ่มการแสดงหน้ากากรามายณะ จากยุคนครวัด (ไม่ใช่รามเกียรติ์ นะครับ เพราะแต่งในยุคกรุงศรีอยุธยา) ก่อนใครในภูมิภาคนี้

นอกจากเรื่องเล่าของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ที่กล่าวอ้างถึง “หม่อมเจ้าฉวีวาด” จ้างเรือสำเภาขนสมบัติและผู้ติดตามหนีไปยังเขมร พร้อมคณะละครของเจ้าจอมมารดาอัมพา

การแสดง"โขน"รามเกียรติ์ เป็นของใคร?

 

อีกทั้งหลักฐานการฝึกหัดเจ้านายเขมรโดยคณะละครวังหน้าของเจ้าจอมมารดาเอมในสมเด็จพระปิ่นเกล้า และยังคณะละครผู้หญิงและโขนชายของเจ้าพระยาบดินทร์เดชา ที่ติดตามเข้าไปสอนยังเมืองพระตะบอง นโรดมและราชทรัพย์ในคราวศึกอันนัมสยามยุทธ์ อันเป็นจุดเริ่มต้นของการแสดงในราชสำนักหลวงของฝ่ายกัมพูชาอย่างแท้จริงครับ
.
ส่วนพม่านั้น รับเอาการแสดงละครสวมหัวหน้ากาก มาจากเชลยศึกกรุงศรีอยุธยา พัฒนาไปเป็นรูปแบบการแสดงโขนรามเกียรติ์ของตนเองในยุคหลัง

การแสดง"โขน"รามเกียรติ์ เป็นของใคร?
.
ถ้าอยุธยาไม่มีโขน แล้ว พม่าจะเอาการแสดงโขนมาจากชาวโยเดียได้อย่างไร

การแสดง"โขน"รามเกียรติ์ เป็นของใคร?
.
.
*** ในมุมมองทางมานุษยวิทยา คนโบราณที่นับถือเทพเจ้าในคติฮินดู ไม่เคยนำเอาตัวเทพเจ้าลงมาเล่นเป็นละคร ไม่ว่าจะศักดิ์สิทธิ์หรือไม่ก็ตาม ในยุคสมัยไศวะนิกาย ไวษณพนิกาย หรือวัชรยานตันตระ ไม่มียุคสมัยของกษัตริย์เทวราชาองค์ใดอนุญาตให้เอาวรรณกรรมศักดิ์สิทธิ์ ลงมาร้องเล่นเป็นการแสดง ขนาดกษัตริย์โบราณในวัฒนธรรมเขมร ยังต้องผ่านพิธีกรรมเทวราชามาก่อนครับ

การแสดง"โขน"รามเกียรติ์ เป็นของใคร?
.
ภาพสลักทั้งหลายในยุคพุทธศตวรรษที่ 18 -19 ในยุควัฒนธรรมฮินดู/วัชรยาน ของเขมร จึงไม่เคยปรากฏหลักฐานการแสดงแสดงมหรสพในรูปแบบการใส่หัวหน้ากากใด ๆ (ไม่อยากเรียกว่าโขน เพราะจะหลงคำกันไปอีก) 
.
การแสดงหน้ากากเรื่องรามเกียรติ์ เพิ่งเริ่มพัฒนารูปแบบการแสดงมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 21 - 22 แล้วรับอิทธิพลมาจากใครกันล่ะ ใครที่กล้าเอาเรื่องราวของเทพเจ้า แต่งตัวเป็นเทพเจ้ามาเล่นเป็นละครพากย์ เอาเรื่องราวของเทพมาสมมุติกับตัวมนุษย์จริง แล้วโลดแล่นไปตามวรรณกรรมปกรณัม โดยไม่เกรงกลัวต่อความศักดิ์สิทธิ์ คติความเชื่อในศาสนาแบบดั้งเดิม

การแสดง"โขน"รามเกียรติ์ เป็นของใคร?
.
การติดต่อของชาวยุโรปมาสู่กรุงศรีอยุธยาจึงอาจเป็นคำตอบได้ดีที่สุดครับ หลังพุทธศตวรรษที่ 20 (สิ้นสุดจักรวรรดิกัมพูชาโบราณ) และก่อนพุทธศตวรรษที่ 22 (ที่ปรากฏหลักฐานการบรรยายของลาลูแบร์) จึงควรเป็นช่วงเวลาของการกำเนิดการแสดงหน้ากาก (โขนเรื่องรามเกียรติ์แบบสำนวนอยุธยา) ขึ้นเป็นครั้งแรก

การแสดง"โขน"รามเกียรติ์ เป็นของใคร?
.
ช่วงเวลานี้ เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ อิทธิพลทางศาสนาฮินดูและเทพเจ้าในกรุงศรีอยุธยาลดลง วรรณกรรมรามายณะถูกเปลี่ยนแปลงมารับใช้สถาบันกษัตริย์ กลายมาเป็น วรรณกรรม "รามเกียรติ์" สมมุติเทพมาแทนเทวราชา เมื่อฮินดูลดความแรงในความศักดิ์สิทธิ์ลง ความเกรงกลัวในการนำตัวเอกของวรรณกรรมที่เคยมีอยู่ก็ลดลงหายไป การแสดงหน้ากากโขนโดยการสมมุติตัวแสดงขึ้นมาแทนองค์อวตารของเทพเจ้าจึงกลายมาเป็นการแสดงเพื่อประกอบพระบารมี เดชานุภาพ ประกอบในความเป็นกษัตริย์ เช่นเดียวกับเหล่าเครื่องสูง เครื่องราชกกุธภัณฑ์

การแสดง"โขน"รามเกียรติ์ เป็นของใคร?
.
การแสดง "โขน" ในยุคเริ่มแรก จึงไม่ได้เป็นเพียงการแสดงละครเพื่อความบันเทิงแบบในปัจจุบัน แต่เป็นเครื่องแสดงพิธีกรรม ประกอบอยู่ในความเป็นกษัตริย์ให้กับเหล่า “พระรามาธิบดี” อันเป็นพระนามของกษัตริย์ในยุคกรุงศรีอยุธยา โขนหน้ากากจึงไม่ใช่การแสดงง่าย ๆ และไม่ใช่การแสดงที่แพร่หลาย จะมีก็เฉพาะในราชสำนักที่ถือตนว่าเป็นอวตารแห่งพระราม

การแสดง"โขน"รามเกียรติ์ เป็นของใคร?
.

ดังนั้น การแสดงเพื่อการประกอบความเป็นพระรามาธิบดี (พระราม) จึงไม่เคยถูกใช้ที่ กัมพูชา พม่า ลาว ชวา ทั้งหมดนั้น คือรูปแบบการแสดงละครร้องเรื่องรามายณะ ที่มีการแต่งหน้าแต่งตาให้เหมือนตัวละครเท่านั้น
.
.
*** การแสดงโขนใส่หัวหน้ากากจึงไม่เคยเป็นของกัมพูชา ไม่เคยเป็น "วัฒนธรรมร่วม"ถึง วรรณกรรมรามายณะ หนังใหญ่ (สะแบกธม) การแสดงละครร้อง การรำ หรือหลายอย่าง อาจจะเป็น "วัฒนธรรมร่วม" แต่การแสดงโขนใส่หน้ากากสวมหัวนั้น เป็นเครื่องประดับพระยศพระบารมีแห่งรามาธิบดีของกรุงศรีอยุธยา แล้วกัมพูชาที่ไม่เคยมีคติความเชื่อนี้ ในยุคของอุดงมีชัยหรือพนมเปญ จะเป็นเจ้าของการแสดงโขนมาได้อย่างไร

การแสดง"โขน"รามเกียรติ์ เป็นของใคร?
.
วิถีวัฒนธรรมบางอย่างร่วมได้ มีความหลากหลาย แต่บางอย่างก็อย่าไปตามใจพวกวัยรุ่นไร้รากมากนัก พวกนี้แค่เอาสะใจตามกระแสชาตินิยม แต่กระแสของความออมชอมมันสูง คนไทยเราเองก็เลยยังงงอยู่ว่า "โขน" มาจากไหนกันแน่ แล้วก็หลง งงไปตามกระแสโซเชียล ที่ชอบยกเรื่องราววรรณกรรมรามายณะมาจากภาพสลักในศิลปะเขมรที่ถูกนำมาใช้ยันไว้แต่แรก ซึ่งมันเป็นภาพสลักที่อยู่ในมิติของคติความเชื่อความศรัทธา ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับมหรสพการแสดง แบบที่กล้าเอาเทพเจ้าและตัวละครอันศักดิ์สิทธิ์ในวรรณกรรมออกมาโลดแล่นเลยครับ
.
พัฒนาการของการแสดงละครต้องดูบริบทที่แวดล้อมด้วย ไม่มีรัฐไหนในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 - 22 ที่แสดงความเป็นรัฐแห่งรามาธิบดี นาม “กรุงเทพทวารวดีศรีอโยธยา" นครแห่งพระราม ได้ชัดเจนเท่ากับกรุงศรีอยุธยาอีกแล้ว

การแสดง"โขน"รามเกียรติ์ เป็นของใคร?
.
หากการละครใน เป็นเครื่องประดับพระยศ โขน ก็เป็นเครื่องประดับพระเกียรติยศแห่งกษัตริย์รามาธิบดี (จึงชอบพูดกันว่า โขนจะแสดงเฉพาะในพระราชสำนัก) แสดงให้กษัตริย์ทอดพระเนตร ไม่ใช่ชมเพื่อความบันเทิง แต่ชมเพื่อสร้างความศักดิ์สิทธิ์ ในความเป็นอวตารมาเป็นพระรามองค์ใหม่

การแสดง"โขน"รามเกียรติ์ เป็นของใคร?

สภาพบริบทแวดล้อมของอยุธยา ศาสนาพุทธและราชสำนักที่มีกลิ่นอายพราหมณ์ ดูผ่อนปรนสำหรับการลดความศักดิ์สิทธิ์ของพระราม (ในคติฮินดู) มาสมมุติเป็นตัวละครเอก ประดับพระเกียรติ ประยุกต์ หน้ากากสวมหัว (โขน) มาจากชวาหรือยุโรป ดัดแปลงเป็นการแสดงตามบทพากย์ ที่เป็นเสียงโศลกอันศักดิ์สิทธิ์ ไม่ใช่คิดจะร้องก็ร้อง

การแสดง"โขน"รามเกียรติ์ เป็นของใคร?

การแสดง"โขน"รามเกียรติ์ เป็นของใคร?

 


การแสดงโขนจึงไม่เคยเป็นของกัมพูชาจนถึงรัชกาลที่ 5 ก่อนยุคอาณานิคมฝรั่งเศส ที่มีครูนาฏศิลป์สยาม เข้าไปสอน จนปรากฏเป็นภาพถ่ายเก่าจำนวนมาก และหลังยุคสงครามภายใน ที่มีครูนาฏศิลป์ไทยเข้าไปช่วยครูนาฏศิลป์กัมพูชา ร่วมกันฟื้นฟูการแสดงโขนแบบสยามเก่าจนพัฒนาเป็น “ลโคนโขล” แบบกัมพูชา ในทุกวันนี้

.
การแสดงโขนเรื่อง “รามเกียรติ์” ไม่เคยเป็นของใคร เพราะเป็นรูปแบบการแสดงผสมตะวันตกเพื่อการ “เฉลิมพระเกียรติ์พระรามาธิบดี” มาตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยาครับ

การแสดง"โขน"รามเกียรติ์ เป็นของใคร?
..
.
.
วรณัย พงศาชลากร
เฟซบุค : EJeab Academy
เพราะทุกที่มีเรื่องราวและเรื่องเล่า
มิถุนายน 2559

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
อ้ายเติ่ง's profile


โพสท์โดย: อ้ายเติ่ง
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: อ้ายเติ่ง
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ถ้าเราดื่มน้ำน้อย หรือมาเกินไป จะเกิดอะไรกับร่างกายของเรา?ยลโฉมความงดงามของนครวัดก๊อปเกรดเอจากฝีมือจีน อลังการไม่แพ้นครวัดของกัมพูชา!สุดอึ้ง! พบหัวแกะมัมมี่นับพันตัวและซากพระราชวังที่ค้นพบในอียิปต์รถไฟเหาะที่เร็วสุดในโลก! ประกาศปิดถาวร หลังมีคนกระดูกคอหักหลายรายยิ้มอ่อนกับเขมรรายวัน : เสี่ยโบ๊ต แห่งค่ายเพชรยินดี รับฟังความเห็นบนโลก Social ของไทย ยกเลิกการส่งนักมวยไทยชั้นดี ไปต่อยงานใหญ่กุนขแมร์แล้ว....แม่น้ำที่อันตรายที่สุดในโลกปรี๊ดเลย! "ครูไพบูลย์" โดนแซวว่าเล็ก..โต้กลับทันที "ผมเล็กหรือคุณโบ๋" กันแน่นักดื่มกระทิงแดง กำลังมองหากระป๋อง ที่มีจุดสีน้ำเงินอยู่ข้างใต้กุนขแมร์โวย! หลัง ‘เสี่ยโบ้ท‘ โพสแจ้งยกเลิกการแข่งขันทั้งหมดกับเขมรกลางดึก
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
กุนขแมร์โวย! หลัง ‘เสี่ยโบ้ท‘ โพสแจ้งยกเลิกการแข่งขันทั้งหมดกับเขมรกลางดึกโถลูก!! หนุ่มน้อยวัย 4 ขวบน้ำตารื้น เมื่อต้องแยกกับพ่อที่ทำงานต่างเมือง เพราะน้องต้องกลับไปเรียน😔ผบช.สอท. เด้ง ตำรวจ 2 นาย หลัง "ทนายตั้ม" แฉพาดพิงรับส่วย ตั้งกรรมการสอบ ยัน สอท. ไม่ใช่แหล่งรายได้ถ้าเราดื่มน้ำน้อย หรือมาเกินไป จะเกิดอะไรกับร่างกายของเรา?"ลิซ่า" จะเดบิวต์เป็นดาวติ๊กต๊อก..แต่กลับโดนแซะว่าเลียนแบบ "กามิน"
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
ถ้าเราดื่มน้ำน้อย หรือมาเกินไป จะเกิดอะไรกับร่างกายของเรา?เคล็ดลับการใช้ประโยชน์จากเปลือกส้มๆ เหลือๆ อย่าทิ้งน๊า เอามาทำประโยชน์ได้จ้า จะใช้อย่างไรนั้นมาดูกันเลย...9 วิธีเด็ดแก้ปัญหา แอร์กินไฟช่วงหน้าร้อนให้คนที่ชื่อ “เวลา” ได้ทำหน้าที่ของมันบ้าง!? #เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น
ตั้งกระทู้ใหม่