หัวเว่ยเปิดตัวโซลูชั่น Safe City Compact สร้างความปลอดภัยให้เมืองขนาดกลางและขนาดย่อม
กรุงเทพฯ – หัวเว่ยเตรียมจัดงานประชุม Global Safe City Summit ขึ้นในกรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 30 – 31 สิงหาคม นี้ ภายใต้แนวคิด "Leading New ICT, The Road To Collaborative Public Safety" พร้อมเปิดตัวโซลูชั่นเมืองปลอดภัย Safe City Compact สำหรับเมืองขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อแก้ไขปัญหาด้านภัยคุกคามและปกป้องประชาชนให้ปลอดภัย และแชร์ประสบการณ์แนวทางที่ดีที่สุด โดยเฉพาะโซลูชั่นเมืองปลอดภัย C-C4ISR ของหัวเว่ยที่ช่วยสร้างความปลอดภัยสาธารณะอย่างกว้างขวางในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก อาทิ เคนยา เยอรมนี มอริเชียส และเซอร์เบีย
โซลูชั่น “Safe City Compact” ยกระดับความปลอดภัยให้เมืองขนาดกลางและขนาดย่อม
จากระดับการก่ออาชญากรรม การก่อการร้ายและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เพิ่มสูงขึ้น ปัญหาด้านความปลอดภัยได้กลายมาเป็นประเด็นสำคัญของเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงเมืองขนาดกลางและขนาดย่อม การปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจึงหมายรวมถึงการเสริมสร้างระบบเมืองปลอดภัยให้พร้อมรับมือกับความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาความท้าทายในด้านความปลอดภัยหลาย ๆ อย่างเช่นเดียวกับเมืองใหญ่ในปัจจุบัน เมืองขนาดเล็กและขนาดกลางจึงต้องพยายามเพิ่มความมั่นคงและปลอดภัยให้มากขึ้นด้วยทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด
เพื่อรับมือกับปัญหาเหล่านี้ หัวเว่ยจึงได้พัฒนาโซลูชั่น Safe City Compact ขึ้นเพื่อช่วยเมืองต่างๆ ที่มีประชากรตั้งแต่ 100,000 ถึง 500,000 คน ให้สามารถสร้างระบบแวดล้อมที่มีความปลอดภัยได้อย่างรวดเร็ว และก้าวทันภัยคุกคามที่กำลังเพิ่มขึ้น โซลูชั่นอัจฉริยะขนาดกะทัดรัดและผสานการใช้งานที่ลงตัวนี้ใช้สถาปัตยกรรมแบบคลาวด์ มีคุณสมบัติหลัก ๆ ที่เสริมสร้างเมืองปลอดภัยหลายประการด้วยกัน อาทิ การสั่งการแบบรวมศูนย์และภาพมอง (Converged & Visualized Command), วิดีโอคลาวด์อัจฉริยะ (Intelligent Video Cloud) และการสื่อสารแบบมัลติมีเดียในสถานการณ์คับขัน (Multimedia Critical Communication) ด้วยรูปแบบที่เป็นโมดูล โซลูชั่นดังกล่าวจึงสามารถรองรับการประกอบและแยกส่วน ผสานการทำงานเข้ากับซอฟต์แวร์ได้อย่างง่ายดาย เปรียบได้กับ “ Plug & Play” เสมือนเพียงเสียบปลั๊กและใช้งานได้ทันที โซลูชั่นนี้มีการติดตั้งใช้งานทั้งในประเทศชิลี โคลอมเบีย และฟิลิปปินส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างเมืองอัจริยะและปลอดภัยให้กับประเทศไทยในยุคดิจิทัล
จากความมุ่งมั่นของหัวเว่ยที่จะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสู่การใช้งานทุกระดับเพื่อทุกผู้คน ทุกครัวเรือน และทุกองค์กร เพื่อขับเคลื่อนโลกอัจฉริยะที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างเต็มรูปแบบ บริษัทได้ร่วมมือกับพันธมิตรในประเทศ เพื่อเร่งให้ประเทศเดินหน้าไปสู่การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคอุตสาหกรรมดิจิทัล และช่วยให้คนไทยได้ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อยกระดับชีวิตของพวกเขา หัวเว่ยจึงได้ทำงานร่วมมือกับพันธมิตรเหล่านี้อย่างใกล้ชิดเพื่อนำนวัตกรรมเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก ผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง และโซลูชั่นไอซีทีครบวงจร เพื่อสร้างเมืองปลอดภัยที่ทุกคนสามารถใช้ชีวิตอยู่อย่างมีความสุขสงบ
เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา หัวเว่ยได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือทีมนักฟุตบอลเยาวชนและโค้ช ซึ่งติดอยู่ในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จ. เชียงราย ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ภูเขาห่างไกล สัญญาณโทรศัพท์มือถือครอบคลุมจำกัด และมีความท้าทายอย่างยิ่งยวดในการติดต่อสื่อสาร หัวเว่ยจึงได้สนับสนุนระบบ eLTE ความเร็วสูง เพื่อใช้เป็นเครือข่ายการติดต่อสื่อสารชั่วคราว ที่มีทั้งความเสถียรและปลอดภัย เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของทุกฝ่าย โซลูชั่นดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโซลูชั่นเมืองปลอดภัยรุ่น C-C4ISR ของหัวเว่ยที่ใช้งานง่าย สามารถติดตั้งได้เร็ว เหมาะกับภารกิจกู้ภัยที่ระบบการติดต่อสื่อสารมีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จของการปฏิบัติภารกิจ
“เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาประเทศไทย 4.0 เราพร้อมจะเป็นพันธมิตรที่ดีในการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีที และเป็นผู้ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมแนวตั้ง ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาบุคลากรด้านไอซีที” มร. เมิ่ง เฉียง หัวหน้ากลุ่มธุรกิจเอ็นเตอร์ไพรส์ของหัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) กล่าว “หัวเว่ยเห็นถึงความสำคัญด้านความปลอดภัยของทุกคนในเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก เราจึงมุ่งมั่นพัฒนาโซลูชั่นและเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อยกระดับความปลอดภัยให้กับทุกชีวิตเสมือนเป็นอีกหนึ่งสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น โดยเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมมาตรการด้านการรักษาความปลอดภัยได้อีกทางหนึ่งด้วย”
การใช้งานระบบความปลอดภัยสาธารณะทั่วโลก
โซลูชั่น Safe City Compact รุ่นใหม่ของหัวเว่ยพัฒนาขึ้นหลังจากโซลูชั่นเมืองปลอดภัย C-C4ISR สำหรับสร้างความปลอดภัยสาธารณะร่วมกันที่เปิดตัวไปเมื่อปี 2560 ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก โซลูชั่นนี้ซึ่งสามารถใช้งานแอพพลิเคชั่นต่างๆ ได้ เช่น ศูนย์สั่งการแบบรวมศูนย์ วิดีโอคลาวด์และการสื่อสารแบบมัลติมีเดียในสถานการณ์คับขัน ได้รับการติดตั้งใช้งานเรียบร้อยแล้วใน 230 เมืองในกว่า 90 ประเทศทั่วทุกภูมิภาค รองรับผู้ใช้บริการเกือบ 1 พันล้านคน โดยมีเมืองต่างๆ ที่ติดตั้งใช้งานโซลูชั่นนี้ อาทิ
- ในปากีสถาน รัฐบาลแห่งแคว้นปัญจาบได้ตั้งคณะเจ้าหน้าที่ด้านเมืองปลอดภัยประจำแคว้นปัญจาบ (Punjab Safe Cities Authority: PSCA) ขึ้นมาเมื่อปี 2558 โดยโครงการแรกของ PSCA คือ การร่วมกับ
หัวเว่ยวางระบบ Smart & Safe City ให้กับเมืองลาฮอร์ คณะ PSCA ยังได้จัดตั้งศูนย์ Safe City Integrated Command & Communication Centre (IC3) บนพื้นที่ 76,000 ตารางฟุต (7,060 ตร.ม.) โดยใช้เทคโนโลยี
ไอซีทีที่ล้ำสมัย อาทิ คลาวด์และบิ๊กดาต้า โดยศูนย์เมืองปลอดภัยของที่นี่มีสถาปัตยกรรมด้านเมืองปลอดภัยที่ครบวงจรและใหญ่ที่สุดในโลก
- ในเยอรมนี หัวเว่ยร่วมกับ DVV สร้างระบบคลาวด์สำหรับภาครัฐ สำหรับนำไปใช้ในบริการสาธารณะด้านต่าง ๆ เช่น การศึกษา การดูแลสุขภาพ การคมนาคมขนส่ง และระบบประกันสังคม
- ในปี 2560 หัวเว่ยได้ลงนามร่วมกับกระทรวงกิจการภายในของประเทศเซอร์เบียในสัญญาว่าด้วยความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ด้านเมืองปลอดภัย โดยโครงการเฟสแรกเป็นการยกระดับศูนย์ควบคุมและศูนย์ข้อมูล (Command Center and Data Center) ในกรุงเบลเกรด และการใช้งานระบบบริหารจัดการเนื้อหาวิดีโอ นับตั้งแต่ดำเนินการมาเป็นเวลา 5 เดือน โครงการนี้ได้ช่วยให้กรมตำรวจป้องปรามการก่ออาชญากรรมร้ายแรงหลายคดี และยังช่วยเสริมสร้างความปลอดภัยในช่วงที่มีการจัดกิจกรรมการแข่งขันกีฬาใหญ่ ๆ ด้วย
- ในประเทศมอริเชียส หัวเว่ยช่วยรัฐบาลมอริเชียสสร้างระบบออล-คลาวด์เซฟซิตี้ โครงการ "One Cloud, One Pool” จะช่วยให้ตำรวจท้องที่ลดเวลาตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินในเวลาไม่ถึง 15 นาที และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเหตุฉุกเฉินได้ราวร้อยละ 60
มร. เกา ฮง-เอ็ง หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ด้านความปลอดภัยสาธารณะระดับโลกของหัวเว่ยกล่าวว่า "หัวเว่ยทำงานร่วมกับพันธมิตรชั้นนำระดับโลกทางด้านความปลอดภัยสาธารณะ เราผนวกเทคโนโลยีด้านไอซีทีใหม่ ๆ เช่น คลาวด์คอมพิวติ้ง, บิ๊กดาต้า, บรอดแบนด์ทรังค์, IoT และปัญญาประดิษฐ์ เพื่อพัฒนาโซลูชั่นอัจฉริยะในระบบภาพ ให้สามารถใช้งานร่วมกันได้และเปิดกว้าง ทำให้เมืองมีความปลอดภัยและน่าอยู่อาศัยมากยิ่งขึ้น"
งาน Huawei Global Safe City Summit 2018 จะมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 500 คน ทั้งเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยสาธารณะ ผู้ให้บริการโซลูชั่นและนักวิเคราะห์อุตสาหกรรมจากทั่วโลก เพื่อร่วมกันหารือเกี่ยวกับวิธีการใช้แนวคิดเรื่องความปลอดภัยสาธารณะร่วมกันและโซลูชั่น ICT ขั้นสูงเพื่อสร้างเมืองที่ปลอดภัยและมีความชาญฉลาดทั่วโลก
C-C4ISR: Collaborative-Command, Control, Communication, Cloud, Intelligence, Surveillance and Reconnaissance (การสั่งการร่วมกัน, การควบคุม, การสื่อสาร, คลาวด์, ความชาญฉลาด, การเฝ้าระวัง และการจดจำ)
-จบ-