ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป
กรรมคือการกระทำ วิบากคือผลของกระกระทำนั้นเหมือน แอคชั่น = รีแอคชั่น
แต่การทำดีแล้วได้ดี เป็นแค่คำกล่าวลอยๆของอนุศาสนาจารย์ไทยยุคก่อนเท่านั้นเอง
ทำดีแล้วไม่ได้ดี ทำชั่วแล้วได้ดี เกิดจาก
สมบ้ติ 4 คือ
1.คติสมบัติ คือ สถานที่หรือสภาพแวดล้อมเหมาะสมเกื้อกูล
2.อุปธิสมบัติ คือ การมีบุคลดี เช่น มีรูปสวย ร่างกายสง่างาม
3.กาลสมบัติ คือการทำอะไรที่ถูกที่ถูกเวลา ถูกจังหวะ เกิดในยุคที่ดี
4.ปโยคสมบัติ คือความสมบูรณ์เรื่องที่จะทำ เช่น ทำเรื่องตรงกับเข้าที่ต้องการ
วิบัติ 4
วิบัติ 4 คือ องค์ประกอบต่างๆที่ไม่อำนวยให้ปรากฏกรรมดีชัดเจน มี 4 ประการ คือ
- คติวิบัติ คือ สถานที่หรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม ไม่เกื้อกูล
- อุปธิวิบัติ คือการบุคลิกภาพบกพร่อง เช่น ร่างกายพิการ อ่อนแอ
- กาลวิบัติ คือการทำอะไรไม่ถูกเวลา ไม่ถูกจังหวะ เกิดในยุคที่ไม่ดี
- ปโยควิบติ คือ เรื่องที่ทำบกพร่อง เช่นทำเรื่องที่เข้าไม่ต้องการ
สิ่งที่เป็นสมบัติของสิ่งหนึ่ง อาจเป็นโทษสมบัติของอีกสิ่งหนึ่งก็ได้ ไม่แน่นอนเสมอไป เขาจึงมี คุณสมบัติ โทษสมบัติ
บัณฑิตจึงเสมือนแกะดำในหมู่คนพาล
การพยายามทำความดี แต่แสนลำบากและไม่ค่อยได้ผลดีเท่าการทำอะไรบาปๆ นั่นเป็นเพราะ กาลวิบัติ เทศวิบัติ มันให้ผลอยู่ เราต้องรู้จักวิบัติและสมบัติเสียก่อนจึงทำ
อย่าได้โง่เง่าเหมือนสาวเครือฟ้า