อย่าสอนให้คนเสพสุข
(บทความนี้เป็นความเห็นส่วนตัวของ ดร.โสภณ)
ผม. โสภณ พรโชคชัย อยากบอกว่า ข้อความใน Line ต่อไปนี้ ไม่รู้ "ไอ้บ้า" (ขอประณาม) ที่ไหนเขียน แต่นี่คือ ลัทธิชั่วช้าแสนอุบาทว์ สอนให้คนเสพสุข แถมชักจูงให้คนส่งต่ออีก เขาส่งต่อๆ กันมา ดังนี้:
"เขียนได้ดีมาก........ คนอยู่บนสวรรค์ เงินอยู่ในธนาคาร คนเราตอนมีชีวิตอยู่มีเงินก็ไม่ใช้ ตายแล้วก็ยังใช้เงินไม่หมด หวางจวินเหยา นักธุรกิจผู้ยิ่งใหญ่ ในเจ้อเจียง เสียชีวิตในขณะที่อายุยังไม่มาก เหลือเงินฝากไว้ให้ภรรยา 1,900,000,000 และภรรยาได้แต่งงานใหม่ กับคนขับรถของคุณหวาง. . . ในขณะที่คนขับรถคนนั้นใช้ชีวิตอย่างมีความสุข เขาก็คิดว่า แต่ก่อน "เรานึกว่าเราเป็นคนทำงานให้เจ้านาย ตอนนี้เราเพิ่งเข้าใจแล้วว่าเจ้านายทำงานให้เรามาตลอด" ความจริงที่โหดร้ายนี้เป็นตัวแสดงว่า มีชีวิตที่ยืนยาว สำคัญกว่าความรวยความหล่อ ขอให้ทุกคนหมั่นออกกำลังกาย ระวังสุขภาพ ใครเป็นฝ่ายทำงานให้ใครนั้นพูดยาก"
"โทรศัพท์ที่ทันสมัย 1 เครื่อง, 70%ของฟังก์ชั่นในโทรศัพท์นั้นไม่มีประโยชน์ รถหรูๆ 1 คัน , 70%ของความเร็วนั้นเหลือใช้ บ้านหรูๆ 1 หลัง, 70%ของพื้นที่นั้นว่างเปล่า. . . เงินที่หามาทั้งชีวิต , 70% ก็ทิ้งไว้ให้ผู้อื่นใช้ สรุป: ชีวิตที่เรียบง่าย ให้สนุกกับการใช้ชีวิต 30% ที่เป็นของคุณ ไม่เจ็บปวดแต่ก็ต้องบำรุง ไม่กระหายแต่ก็ต้องดื่มน้ำ. . . หมั่นเตือนตน: ชีวิตนี้สั้นนัก หากเวลาของคุณยังมีเหลือเฟือ ส่งต่อข้อความเหล่านี้ต่อให้เพื่อนของคุณ ให้เพื่อนได้อ่านบ้าง เพื่อจะได้ใส่ใจตัวเองบ้าง ดังนั้น อยากกิน...กิน, อยากเที่ยว....เที่ยว. . . ถ้าคุณจิตใจคับแคบก็ไม่ต้องส่งให้ใครอ่านก็ได้"
ผม. โสภณ พรโชคชัย เห็นต่างและไม่ส่งต่อหรอกครับ เพราะนี่เป็นการแพร่ลัทธิร้ายที่แสนอุบาทว์ เน้นให้คนเสพสุข นิทานเรื่องนายหวางอาจเป็นเพียงหนึ่งในล้านของคนจีนกระมัง อาจมีคนอย่างนายหวาง 1,300 คนจากคน 1,300 ล้านทั่วประเทศจีน แต่คนที่หาเงินแล้วให้ลูกหลานได้ใช้ มีนับร้อยๆล้านคน คนเราเกิดมาต้องทำงาน เป็นเสมือน "วัวงาน" ดั่งคำของกวีเอกจีน "หลู่ซิ่น" (https://bit.ly/2kE4I7z) เพื่อสร้างสรรค์ครอบครัวและสังคม ตรองให้ดีๆ เราต้องทำงานให้คนอื่นใช้ จึงจะถูก จึงจะมีเกียรติ ไม่เป็นสวะลอยน้ำไปวันๆ
ถ้ามอมเมาให้คนส่วนใหญ่เสพสุขได้ ชาติก็วิบัติแล้วครับผม
แม้คนพันบัญชาชี้หน้าเย้ย
จงขวางคิ้วเย็นชาเฉยเถิดสหาย
ต่อผองเหล่านวชนเกิดกล่นราย
จงน้อมกายก้มหัวเป็นงัวงาน
หลู่ซิน เขียน | จิตร ภูมิศักดิ์ แปล
ที่มา: http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/05/K7865414/K7865414.html
ที่มา http://bit.ly/2slA076