MIT สร้างต้นไม้ที่สามารถเรืองแสงได้เหมือนหลอดไฟ แถมยังใช้แทนแสงไฟส่องถนนได้ด้วย
ท้องถนนยามค่ำคืนในโลกยุคอนาคตอาจส่องสว่างด้วยแสงไฟที่เรืองออกมาจากต้นไม้ ต้องขอบคุณความก้าวหน้าในการสร้างสรรค์พืชสายพันธุ์ใหม่ที่สามารถเรืองแสงได้ (Bioluminescent plants) โดยผู้เชี่ยวชาญทำการใส่อนุภาคระดับนาโนเข้าไปในใบไม้ของต้นแพงพวย ทำให้มันเรืองแสงได้เป็นเวลานาน 4 ชั่วโมง ทำให้เกิดไอเดียใหม่ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้มากมาย
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเคมีนี้ สามารภสร้างแสงสว่างได้เพียงพอสำหรับการอ่านหนังสือ ซึ่งเป็นเทคนิคเดียวกับการสร้างแสงสว่างของหิ่งห้อย และเพื่อการสร้างต้นไม้ที่สามารถเรืองแสงได้ วิศวกรจากสถานบัน MIT (Massachusetts Institute of Technology) พวกเขาเลือกใช้เอนไซม์ที่มีชื่อว่า Luciferase (เอนไซม์ลูซิเฟอเรส) ที่ทำปฏิกิริยากับโมเลกุล Luciferin เพื่อทำให้เกิดการเรืองแสง อนุภาคระดับนาโนช่วยนำพาเอนไซม์เข้าไปยังส่วนที่ถูกต้องของต้นไม้ และช่วยป้องกันไม่ให้กระบวนการสร้างแสงนั้นเกิดความเป็นพิษกับต้นไม้ ผลของการทำแบบนี้คือ ต้นแพงพวยสามารถเรืองแสงได้เหมือนกับโคมไฟอ่านหนังสือเลย ทีมวิจัยเชื่อว่าพวกเขาจะสามารถพัฒนาเทคโนโลยีนี้จนถึงขั้นที่สามารถให้แสงสว่างได้เพียงพอสำหรับห้องทำงานในสำนักงาน หรือแม้กระทั่งส่องสว่างถนนยามค่ำคืน ให่ความสว่างในระดับเทียบเท่าหลอดไฟที่มีกำลังวัตต์ต่ำๆ
คุณ Michael Strano ศาสตราจารย์ด้านเคมีแห่ง MIT และผู้เขียนรายงานวิจัยกล่าวว่า "จุดประสงค์ของงานวิจัยนี้คือการสร้างพืชที่สามารถเรืองแสงได้เหมือนโคมไฟตั้งโต๊ะ โคมไฟที่ไม่ต้องเสียงปลั๊ก และโคมไฟนี้ใช้แหล่งพลังงานจากกระบวนการเผาผลาญอาหารของพืช งานของเราเป็นความจริงจังที่จะสร้างระบบไฟส่องถนนที่ไม่ต้องการอะไรเลยนอกจากต้นไม้ และแถมยังเหมาะจะใช้เป็นแสงสว่างส่องรอบๆ บ้านยามค่ำคืนด้วย"
ทีมของ MIT เชื่อว่าพวกเขาสามารถเพิ่มความสว่างของแสง และเพิ่มระยะเวลาในการส่องแสง โดยการปรับระดับความเข้มข้นของสารเคมี และในอนาคตจะสามารถพัฒนาถึงจุดที่สามารถทา หรือพ่นอนุภาคนาโนลงไปบนใบ้ไม้ ทำให้สามารถเปลี่ยนต้นไม้ขนาดใหญ่ให้เป็นแสงไฟส่องสว่างยามค่ำคืนได้อย่างง่ายดาย
นอกจากนี้ทีมวิจัยยังแสดงให้เห็นว่า สามารถทำให้แสงสว่างที่เรืองออกมาจากต้นไม้นั้นดับลงโดยอัตโนมัติ เมื่อมันเจอกับแสงแดด ด้วยการเติมอนุภาคนาโนที่มีความสามารถในการยับยั้งการส่องสว่าง เรียกได้ว่าทำงานได้เหมือนโคมไฟอัตโนมัติ ที่ติดสว่างตอนมืด แล้วดับลงในตอนเช้าเลยหล่ะ โดยผลงานวิจัยนี้มีการเผยแพร่ผ่านสาร Nano Letters ซึ่งเป็นของสมาคม American Chemical Society
By Klongthomtech.com