หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ไอแซนด์ลวานา ละเลงเลือดศึกซูลู

โพสท์โดย warrior B

การยุทธ์แห่งไอแซนด์ลวานา เป็นการรบใหญ่ครั้งแรกในสงครามแองโกล-ซูลู ซึ่งเป็นสงครามระหว่างจักรวรรดิอังกฤษกับอาณาจักรซูลู ในแอฟริกาใต้ ซึ่งเกิดใน ปี ค.ศ. 1879 ศึกนี้ เป็นบทพิสูจน์ว่า อาวุธที่เหนือกว่า ก็ใช่ว่าจะทำให้ได้ชัยชนะเสมอไป

หลังการจัดตั้งสมาพันธรัฐในแคนาดาผ่านพระราชบัญญัติบริติชนอร์ทอเมริกาปี ค.ศ.1867 แล้ว ทางจักรวรรดิอังกฤษได้มีแผนการแบบเดียวกันเพื่อรวบรวมดินแดนในแอฟริกาใต้

โดยในปี ค.ศ.1877 เซอร์เฮนรี่ บาร์เทิล เฟรียร์ ได้รับแต่งตั้งเป็นข้าหลวงใหญ่ประจำแอฟริกาใต้เพื่อดำเนินงานตามแผนดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ในการผนวกรวมดินแดนทั้งหมดของแอฟริกาใต้นั้น ยังมีอุปสรรคอยู่ที่รัฐอิสระอันประกอบด้วยสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ของชาวบัวร์ (หรือพวกเนเธอแลนด์ที่ตั้งรกรากในแอฟริกาใต้) และราชอาณาจักรซูลู ซึ่งจักรวรรดิอังกฤษมีความพยายามที่จะพิชิตรัฐทั้งสองนี้ด้วยกำลังทหาร

ราชอาณาจักรซูลูเป็นดินแดนของคนพื้นเมืองเชื้อสายงูนิ ที่ก่อตั้งขึ้นโดยกษัตริย์ชาก้า ผู้ยิ่งใหญ่ซึ่งพิชิตชนเผ่าต่างๆ ในแอฟริกาใต้และสร้างอาณาจักรที่กว้างใหญ่ไพศาลนับแสนตารางไมล์ โดยความสำเร็จของอาณาจักรซูลูมาจากกองทัพที่แข็งแกร่งและมีวินัยเป็นเยี่ยม ซึ่งเทียบได้กับกองทหารโรมัน

หลังจากกษัตริย์ชาก้าถูกอนุชาทั้งสองคือ ดิงกาอัน และ อุมฮลันกานา ลอบปลงพระชนม์ เจ้าชายดิงกาอันก็ได้ปลงพระชนม์เจ้าชายอุมฮลันกานาและขึ้นครองบัลลังก์ จากนั้นได้ทำสงครามกับพวกบัวร์และพ่ายแพ้ กษัตริย์ดิงกาอันถูกอนุชาอีกพระองค์หนึ่งนามว่า อุมพันดา ที่ร่วมมือกับพวกบัวร์โค่นบัลลังก์และปลงพระชนม์พระองค์ ก่อนขึ้นครองราชย์ในเวลาต่อมา

ในรัชสมัยของกษัตริย์พันดา อาณาจักรซูลูได้เป็นพันธมิตรกับชาวบัวร์ จนกระทั่งเมื่อรัฐอิสระของชาวบัวร์พ่ายแพ้ต่อกองทัพจักรวรรดิอังกฤษ กษัตริย์พันดาก็ใช้นโยบายประณีประนอมและยอมอ่อนข้อให้กับอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ฝ่ายอังกฤษได้มีแนวคิดที่จะผนวกดินแดนทั้งหมดของแอฟริกาใต้รวมเป็นของจักรวรรดิซึ่งหมายถึงดินแดนของอาณาจักรซูลู

กษัตริย์เซเตวาโย

จนกระทั่งเมื่อเจ้าชายเซเตวาโยขึ้นครองบัลลังก์ ความขัดแย้งระหว่างอังกฤษกับซูลูก็เริ่มขึ้น และทวีความตึงเครียดอย่างรวดเร็ว ซึ่งแท้จริง ก็ที่มีมาจากนโยบายผนวกดินแดนของอังกฤษนั่นเอง

ในวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ.1878 เซอร์เฮนรี่ ข้าหลวงใหญ่ประจำอาฟริกาใต้ได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อกษัตริย์ซีตีวาโยแห่งอาณาจักรซูลูซึ่งเนื้อความในสาส์นนั้น กษัตริย์เซเตวาโยไม่อาจยอมรับได้ ทางฝ่ายอังกฤษจึงถือเป็นเหตุประกาศสงครามทันที

ลอร์ดเชลมฟอร์ด แม่ทัพอังกฤษในสงครามครั้งนี้ได้วางแผนที่รุกเข้าสู่อาณาจักรซูลูโดยใช้กำลังพลรวม 15,000 นายโดยแบ่งเป็นห้าหน่วย เพื่อเข้าล้อมที่มั่นของทัพซูลู กองทัพอังกฤษประกอบด้วยทหารผิวขาวและทหารพื้นเมืองอาฟริกัน โดยมีทั้งทหารม้าและทหารราบ ติดอาวุธด้วยปืนไรเฟิล พร้อมกองปืนใหญ่และเกวียนเทียมวัวบรรทุกสัมภาวะ ลอร์ดชลมฟอร์ดเคลื่อนพลจากไพเตอร์มาริทซ์เบิร์กมุ่งไปยังค่ายที่เฮลพ์มีคาร์ ผ่านเกรย์ทาวน์ และข้ามแม่น้ำบัฟฟาโลว์เข้าไปในอาณาจักรซูลูในวันที่ 11 มกราคม ค.ศ 1879

ลอร์ด เชลมฟอร์ด แม่ทัพอังกฤษ

หลังจากทรงทราบข่าวศึก กษัตริย์เซเตวาโยแห่งซูลูทรงระดมพลรบ 24 หน่วย (เรียกในภาษาซูลูว่า อิมปี (Impi)) จำนวนพลรวม 24,000 นายเพื่อเตรียมรับมือกองทัพอังกฤษ นักรบซูลูล้วนแต่เป็นพลเดินเท้า ติดอาวุธด้วยหอกสั้นใบกว้างสำหรับแทง ที่เรียกว่า แอสเซไก และถือโล่หนังวัวขนาดใหญ่ นอกจากนี้ ยังมีอาวุธขว้างเป็นหอกซัด พร้อมกับมีปืนคาบศิลาอีกจำนวนหนึ่ง กองทัพซูลูชุมนุมพลที่อุลุนดี เมืองหลวงของอาณาจักร ก่อนเคลื่อนทัพข้ามแม่น้ำอุมโฟโลซีขาว ในวันที่ 17 มกราคม ค.ศ.1879 โดยเซเตวาโยทรงมีพระบัญชาแก่กองทัพของพระองค์ว่า

“เคลื่อนทัพอย่างช้าๆ โจมตีตอนย่ำรุ่งและสังหารพวกทหารเสื้อแดงให้สิ้น”

ในวันที่ 18 มกราคม กองทัพซูลูได้แบ่ง ทหาร 4,000 นาย แยกออกไปโจมตีกองกำลังข้าศึกใกล้กับอีโชวา ส่วนกำลังหลักสองหมื่นนายตั้งค่ายที่ อิสิเพซี อิคคานดา ก่อนเคลื่อนทัพมาถึงหุบเขา เอ็นกเวเบนี ในวันที่ 21 มกราคม โดยทัพใหญ่ของซูลูวางแผนจะเข้าตีกองทัพอังกฤษในวันที่ 23 มกราคม ทั้งนี้ แม้จะมีอาวุธที่ด้อยกว่า แต่กองทัพซูลูได้เปรียบในเรื่องความเร็วของการเคลื่อนทัพ โดยกองทัพซูลูสามารถเดินทางได้มากกว่า 80 กิโลเมตรในระยะเวลาห้าวัน ขณะที่กองทัพอังกฤษของชเลมฟอร์ดเดินทางได้แค่ 16 กิโลเมตรในสิบวันเท่านั้น

วันที่ 20 มกราคม กองทหารสี่พันนายซึ่งมีทหารราบชาวอังกฤษกว่า 2,000 นายติดอาวุธปืนไรเฟิลพร้อมกองทหารปืนใหญ่และกองทหารพื้นเมืองกับกองกำลังสนับสนุนการรบอื่น ๆ ภายใต้การนำของลอร์ดเชลมฟอร์ดได้มาตั้งค่ายที่ ไอแซนด์ลวานา และเนื่องจากประมาทในประสิทธิภาพการรบของข้าศึกอีกทั้งมีความเชื่อมั่นในอาวุธปืนของฝ่ายตน ทำให้เชลมฟอร์ดไม่ได้สั่งทหารให้เอากองเกวียนมาล้อมเป็นวงเพื่อเป็นแนวป้องกันการโจมตี เพราะคิดว่า พวกซูลูคงไม่กล้าเข้าโจมตีค่ายของทหารอังกฤษ

หลังตั้งค่ายแล้ว ลอร์ดเชลมฟอร์ดส่งกองทหารพื้นเมืองสองหน่วยออกไปลาดตระเวน พวกเขากลับมาแจ้งว่าพบเห็นกองทหารซูลูจำนวนมากกำลังเคลื่อนทัพห่างออกไป จึงนำทหาร 2,500 นาย ออกไปติดตามโจมตี และทิ้งทหารที่เหลือประมาณ 1,300 นายพร้อมปืนใหญ่จำนวนหนึ่งไว้เฝ้าค่าย โดยมี นายพันเอกเฮนรี พูลเลอิน เป็นผู้ควบคุม

ผู้พันเฮนรี เป็นเจ้าหน้าที่บริหารที่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการรบภาคสนามมาก่อน อย่างไรก็ตาม กองทหารที่เขาควบคุมอยู่เป็นหน่วยทหารราบที่เข้มแข็งและมีประสบการณ์ในการรบในอาณานิคมมาแล้ว

ในวันที่ 22 มกราคม เวลา 7.00 น. ทหารม้าลาดตระเวนได้รายงานมาว่า พบกองทหารซูลูจำนวนราวสี่พันคน จากรายงานที่มาถึง ตลอดช่วงเช้าวันนั้น ทำให้พันเอกเฮนรี่และพวกนายทหารคิดว่ากองทัพซูลูกองนี้กำลังจะเข้าตีกองทหารของชเลมฟอร์ดหรือไม่เช่นนั้น ก็เคลื่อนพลกลับที่มั่น

เวลา 10.30 น. พันเอก แอนโทนี เดินฟอร์ด ได้มาจากร็อคส์ ดริฟท์พร้อมทหารม้าห้ากองและปืนใหญ่ เพื่อมาสมทบกับกองทหารของเฮนรี่ ทั้งนี้เดินฟอร์ดมีอาวุโสมากกว่าเฮนรี่ ซึ่งตามธรรมเนียมแล้ว จะต้องได้รับมอบหมายให้เป็นผู้บังคับบัญชา ทว่าเดินฟอร์ดก็ไม่ได้บัญชาการกองทหารของเฮนรี่

หลังจากทานอาหารเที่ยงกันแล้ว พันเอกเดินฟอร์ดตัดสินใจอย่างรวดเร็วว่าจะนำทหารติดตามกองทัพซูลูที่เขาและพันเอกเฮนรี่แน่ใจว่า กำลังจะไปโจมตีกองทหารของชเลมฟอร์ด โดยพันเอกเดินฟอร์ดได้ขอกำลังสมทบ ทว่าเฮนรี่ยังลังเลเนื่องจากเขาได้รับคำสั่งให้ป้องกันค่าย

เนื่องจากเชลมฟอร์ดได้ประเมินข้าศึกต่ำกว่าที่เป็นจริง รวมทั้งยังขาดความรู้ในเรื่องชัยภูมิของข้าศึก เขาจึงแบ่งกองทหารของเขาออกไปครึ่งหนึ่ง ขณะที่พวกซูลูใช้กลยุทธ์รวมศูนย์กำลังเพื่อจะใช้จำนวนคนที่มากกว่าเป็นข้อได้เปรียบ และอันที่จริงนั้น พวกซูลูเองก็ค้นพบค่ายของทหารอังกฤษที่ไอแซนด์ลวานาโดยไม่ได้คาดฝัน หากแต่การฝึกฝนที่เข้มข้นของกองทัพ และความเร็วในการเคลื่อนพล ทำให้พวกซูลูสามารถรุกเข้าถึงไอแซนด์ลวานาได้อย่างรวดเร็ว ก่อนที่พวกอังกฤษจะทันตั้งตัว

ในขณะที่เชลมฟอร์ดกับกำลังส่วนใหญ่ของเขายังออกค้นหาพวกซูลูอยู่นั้น กองทัพซูลูก็เข้าโจมตีกองทหารอังกฤษที่ไอแซนด์ลวานา โดยหลังจากพันเอกเฮนรีได้รับรายงานจากพลม้าลาดตระเวน ตอน 8.00 น. เรื่องพบกองกำลังขนาดใหญ่ของพวกซูลูอยู่ที่เนินเขาข้างหน้าแล้ว ในเวลา 9.00 น. ทหารของเขาก็แจ้งมาว่า พบพวกซูลูหลายพันคนกำลังรุกเข้ามาทางด้านซ้ายของเนินไอแซนด์ลวานา พันเอกเฮนรี่จึงรีบส่งสาส์นไปแจ้งข่าวแก่เชลมฟอร์ด

สาส์นฉบับดังกล่าวมาถึงชเลมฟอร์ดเมื่อเวลา 10.00 น. ต่อมาในเวลา 11.00 น. ก็มีรายงานมาจากกองลาดตระเวนว่าพบนักรบซูลูสองหมื่นนายตั้งมั่นอยู่ในหุบเขาเอ็นกเวเบนีซึ่งอยู่ห่างออกไปจากที่ตั้งทัพของชเลมฟอร์ดเจ็ดไมล์ ทว่าในตอนนั้น ทัพหน้าจำนวนสี่พันนายของพวกซูลูก็ได้เข้าตีค่ายทหารอังกฤษที่ไอแซนด์ลวานาแล้ว

ทหารอังกฤษตั้งขบวนแนวรบรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเพื่อรับศึก ทว่าความกะทันหันของเหตุการณ์ที่พวกซูลูเข้าตีอย่างรวดเร็วประกอบกับสภาพขรุขระของพื้นที่ ทำให้การตั้งปืนใหญ่ทำได้ลำบาก พวกซูลูจัดทัพแบบรูปวัว โดยมีปีกซ้ายและปีกขวาเป็นส่วนเขา และมีกองกลางเป็นหัวและอกวัว โดยปีกซ้ายขวาจะเข้าล้อมและโจมตีข้าศึกจากสองทิศทางจนระส่ำระสาย จากนั้น กองกลางจะเข้าบดขยี้

สมรภูมิไอแซนด์ลวานา

พันเอกเฮนรี่ แทบไม่มีเวลาปรับขบวนทัพเพื่อตั้งรับศึกเลย ทำให้พวกทหารอังกฤษทำได้เพียงยิงต้านทานด้วยไรเฟิลเท่านั้น จนเมื่อถึงตอนบ่าย ปีกซ้ายของกองทัพซูลูก็เข้าตีทางขวาของทัพอังกฤษ ทำให้สถานการณ์เริ่มแย่ลง และเนื่องจากนักรบซูลูเข้ามาในระยะประชิด ทำให้ปืนไรเฟิลไม่อาจใช้งานได้ถนัด และต้องเปลี่ยนเป็นการรบประจัญบานระหว่างหอกสั้นกับดาบปลายปืนแทน ทหารอังกฤษบางส่วนเริ่มล่าถอยจากที่มั่น ทำให้เสียกระบวนตั้งรับ และเมือปีกขวาของทัพซูลูโอบเข้ามา กองกำลังหลักของนักรบซูลูก็เข้าบดขยี้กองทหารอังกฤษ

เมือถึงตอนบ่าย การรบก็เริ่มเข้าสู่ฉากสุดท้าย กองทหารอังกฤษมีโอกาสลั่นกระสุนอีกครั้งก่อนที่นักรบซูลูจะบุกเข้าไปในค่าย และการปะทะกันด้วยอาวุธสั้นก็เริ่มขึ้น ทั่วพื้นที่ของเนินเขา พร้อมกันนั้นเอง ก็ได้เกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติที่สำคัญอย่างหนึ่งขึ้น โดยเกิดสุริยคราสขึ้นในเวลา 14.29 น. ของวันนั้น

เจ้าหน้าที่ของชเลมฟอร์ดที่มาถึงไอแซนด์ลวานาได้เห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยตาของตัวเองและบันทึกไว้ว่า

“ในเวลาสองสามวินาที พวกเราได้ยินเสียงปืนยิงขึ้นอีกชุดหนึ่ง จากนั้นก็เงียบไปและตามมาด้วยประกายวูบวาบของโลหะที่สะท้อนแสงอาทิตย์ ก่อนที่ทั้งค่ายจะมืดไปด้วยเงาดำที่บดบังทุกสิ่ง ขณะที่เสียงปืนไม่ดังขึ้นอีกเลย และในเวลาเพียงสองสามนาที กระโจมทั้งหมดก็หายไป”

ส่วนทางฝ่ายซูลูนั้น ก็ได้บรรยายถึงเหตุการณ์ดังกล่าวไว้ว่า

“พวกเราเห็นดวงตะวันคล้ายจะมืดไปกลางสนามรบ ราวกับพวกเราได้สู้รบจนกระทั่งถึงยามเย็น จากนั้น เมื่อพวกเราบุกเข้าไปในค่ายที่เต็มไปด้วยควันและเสียงปืน ดวงตะวันก็กลับมาสว่างอีกครั้ง”

หลังจากสุริยคราสหายไปได้ไม่นาน การรบก็มาถึงฉากสุดท้าย พวกทหารอังกฤษที่เหลือไม่กี่คนหันหลังชนกันสู้กับข้าศึกที่เข้ามารุมล้อม มันเป็นการต่อสุ้ระหว่างคมหอกและดาบปลายปืน กระบองกับพานท้ายปืน ทั้งสองฝ่ายประจัญบานกันอย่างดุเดือด ก่อนที่การสู้รบจะสิ้นสุดลง ร่างของนักรบซูลูและทหารอังกฤษนอนตายเกลื่อนเนินเขา พันเอกเดินฟอร์ดและกองทหารม้าของเขาปักหลักสู้จนวาระสุดท้ายนอนตายอยู่รวมกัน โดยมีร่างนักรบซูลูนับร้อยนอนตายอยู่รายรอบ พื้นที่ของไอแซนด์ลวานามีสภาพไม่ต่างกับโรงฆ่าสัตว์ และเนื่องด้วยนักรบซูลูได้รับคำสั่งให้ละเว้นพลเรือนที่อยู่ในชุดเสื้อคลุมสีดำ ทำให้มีนายทหารหลายคนในเครื่องแบบสีน้ำเงินเข้มสามารถฉวยโอกาสหนีรอดไปได้

จากกำลังพล 1,700 นายที่อยู่ในค่ายทั้งกองทหารอังกฤษและกองกำลังแอฟริกัน มีทั้งหมด 1,300 คนที่ถูกฆ่า โดยส่วนใหญ่เป็นชาวยุโรป รวมถึงผู้พันเฮนรี่และผู้พันเดินฟอร์ดด้วย ส่วนทหารชาวพื้นเมืองจากนาตาล (ซึ่งเป็นแคว้นที่อยู่ในอำนาจของซูลู) ที่ถูกจับได้ ถูกพวกซูลูกล่าวหาว่าเป็นผู้ทรยศและถูกประหารชีวิต โดยเด็กอูดีบี (เด็กชายวันรุ่นที่ทำหน้าที่สนับสนุนการรบ)

นอกจากกำลังพลแล้ว กองทัพอังกฤษยังเสียปืนไรเฟิลอีก 1,000 กระบอก ปืนใหญ่สนามสองกระบอก กระสุนกว่าสี่แสนนัด สัตว์พาหนะอย่างวัว ม้า ลา กว่า 2,000 ตัวและเกวียน 130 เล่ม รวมทั้งเสบียงอาหารและยุทธภัณฑ์ต่างๆเป็นจำนวนมาก ส่วน ฝ่ายซูลูเองนั้นก็สูญเสียกำลังพลไปเป็นจำนวนมากเช่นกัน โดยประมาณว่ามีนักรบซูลูล้มตายในศึกนี้มากกว่า 1,000 คน

ความพ่ายแพ้ที่ไอแซนด์ลวานาสร้างความตื่นตะลึงไปทั่ว กับการที่กองทัพคนเถื่อนอย่างพวกซูลู สามารถเอาชนะกองทหารที่ทรงประสิทธิภาพที่สุดในโลกยุคนั้น อย่างอังกฤษได้ ซึ่งความพ่ายแพ้ที่เกิดขึ้น เป็นเพราะความประมาทดูเบากองทัพข้าศึกของลอร์ดชเลมฟอร์ด ทำให้ต้องสูญเสียกำลังพลไปเป็นจำนวนมาก

การรบที่ ร็อค ดริฟท์

ในวันเดียวกันกับที่เกิดการรบที่ไอแซนด์ลวานา พวกซูลูได้ยกกำลังเข้าตีสถานีมิชชั่นนารีที่ร็อค ดริฟท์ ซึ่งอยู่ใกล้ชายแดนอาณานิคมอังกฤษกับอาณาจักรซูลู ทว่าทหารอังกฤษที่มีกำลังเพียงร้อยกว่านายสามารถต้านทานนักรบซูลูเกือบสามพันคนได้ โดยหลังจากเข้าโจมตีติดต่อกันสิบชั่วโมง พวกซูลูก็ล่าถอยไป พร้อมกับมีนักรบตายไป 350 คน ขณะที่ฝ่ายอังกฤษตายไป 7 นาย

หลังความพ่ายแพ้ที่ไอแซนด์ลวานา ลอร์ดชเลมฟอร์ดได้ยกทัพรุกคืบหน้าเพื่อแก้มือ และได้รับชัยชนะในการรบอีกหลายครั้ง แต่ก็ยังไม่อาจโค่นล้มอาณาจักรซูลูลงได้ และต้องถอยทัพกลับเนื่องจากปัญหาเสบียงอาหารในเดือนมีนาคม

ต่อมา ในเดือนมิถุนายน ลอร์ดชเลมฟอร์ดได้เสริมกำลังเพิ่มก่อนบุกเข้ามาในดินแดนซูลูอีกครั้ง โดยในคราวนี้ กองทัพอังกฤษมีกำลังพลรวมทั้งสิ้น 25,000 นาย ขณะที่เซเตวาโยได้ระดมพลเพิ่มจนมีกำลังนักรบทั้งหมด 35,000 นาย ในสงครามครั้งนี้ ลอร์ดชเลมฟอร์ดยังมีแรงกดดันจากทางรัฐบาล เนื่องจากความพ่ายแพ้ที่ไอแซนด์ลวานาทำให้รัฐบาลได้ส่งเซอร์ การ์เน็ท วอเซลี มาแทนที่ตำแหน่งของเขา จึงทำให้ท่านลอร์ดไม่มีทางเลือก นอกจากทำลายอาณาจักรซูลูให้ได้ในสงครามครั้งนี้ ก่อนท่เซอร์การ์เน็ท จะมาถึง

ในการทำสงครามครั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นที่ไอแซนด์ลวานาอีก ลอร์ดชเลมฟอร์ดจึงให้สร้างป้อมค่ายไว้ตลอดทางเดินทัพ ได้เกิดการปะทะย่อย ๆ ระหว่างทหารอังกฤษกับนักรบซูลูหลายครั้ง โดยครั้งหนึ่ง อดีตรัชทายาทผู้ถูกเนรเทศของราชวงศ์โบนาปาร์ต เจ้าชายนโปเลียน ยูจีน ซึ่งรับราชการเป็นนายทหารในกองทัพอังกฤษได้ถูกสังหารโดยกองลาดตระเวนซูลู

การรบที่อูลุนดี

กษัตริย์เซเตวาโยพยายามขอเจรจากับฝ่ายอังกฤษ แต่ลอร์ดชเลมไม่ยอมเปิดเจรจาด้วย จนกระทั่งกองทัพอังกฤษบุกถึงอูลุนดี เมืองหลวงของซูลูในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ.1879 และเอาชนะกองทัพซูลูได้ที่นั่น ทำให้กษัตริย์เซเตวาโยต้องสละบัลลังก์ และอาณาจักรซูลูต้องล่มสลายลง โดยถูกผนวกเข้าเป็นมณฑลนาตาลของสหพันธรัฐแอฟริกาใต้ ในเวลาต่อมา ส่วนกษัตริย์เซเตวาโยนั้นถูกเนรเทศไปอยู่เคปทาวน์ระยะหนึ่ง ก่อนกลับมาปกครองแคว้นเล็ก ๆ ในอาณัติของอังกฤษ ในฐานะหัวหน้าเผ่าคนหนึ่ง จนสิ้นพระชนม์

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
warrior B's profile


โพสท์โดย: warrior B
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
20 VOTES (4/5 จาก 5 คน)
VOTED: ono, kleoland, อ้ายเติ่ง
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เตือนภัย มิจฉาชีพหลอกแจกบัตรเติมน้ำมัน ดูดเงินหมดบัญชีชาวเน็ตฮือฮา! ขายที่ดินพร้อมบ้าน 200 ล้าน ติดวิวสภาสัปปายะสภาสถานไม่ได้มุสาวาปึ้ง!! สาวโชว์บิลค่าไฟเดือนนี้ สูงถึง 77 ล้านบาท นี่คงใช้กันทั้งจังหวัดสินะ คาดว่าเจ้าหน้าที่น่าจะจดเลขผิด 😁ทำรากฟันเทียม แต่หน้ากลายเป็นสัตว์ประหลาดสาวแทบช็อก! เจอค่าไฟสุดโหด..เดือนเดียวพุ่ง 77 ล้านบาทเขมรดราม่า วิจารณ์กันเอง! หลังเห็นมังกรที่ทำขึ้นมา? ลั่น มังกรหรือหนอนน้ำ!😃พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์แต่โบราณ พรานผึ้งป่าทำพิธีขอขมาพญาผึ้งเพื่อปาดผึ้งเดือน 5เผยคำพูดปารีณา พูดกับเสรีพิศุทธ์ ในงานศwพ่อชาวเน็ตแห่แชร์ หนุ่มประกาศขายบ้านด่วน!..เหตุผลสุดอึ้ง
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ไม่ได้มุสาวาปึ้ง!! สาวโชว์บิลค่าไฟเดือนนี้ สูงถึง 77 ล้านบาท นี่คงใช้กันทั้งจังหวัดสินะ คาดว่าเจ้าหน้าที่น่าจะจดเลขผิด 😁สาวแทบช็อก! เจอค่าไฟสุดโหด..เดือนเดียวพุ่ง 77 ล้านบาทแค๊ปชั่นกวนโอ๊ยย!!..ฮาๆ..คลายเครียดๆ🤪"ใบเตย สุธีวัน" กลับสู่บ้านเดิม เซ็นสัญญาเข้าบ้าน "อาร์สยาม"
ตั้งกระทู้ใหม่