หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ช็อก! สารเคมีสะสมท่วม ‘สมุทรสาคร’ อันดับ 2 ของโลก – ‘ไข่ไก่’ พุ่งเกินเกณฑ์ 33 เท่า!!!

โพสท์โดย warrior B

เว็บไซต์ สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม (Greennews ) เผยวิจัยชวนช็อก! สารเคมีสะสมท่วม ‘สมุทรสาคร’ อันดับ 2 ของโลก – ‘ไข่ไก่’ พุ่งเกินเกณฑ์ 33 เท่า!!! 
ภาพ: กานต์ ทัศนภักดิ์

เปิดผลการศึกษาสารพิษตกค้างยาวนาน “POPs” พบ “สมุทรสาคร” ปนเปื้อนอันดับ 2 ของโลก ไข่ไก่เจอสารเกินเกณฑ์มาตรฐาน 33 เท่า เร่งไทยคลอดทำเนียบการปล่อยสารพิษโดยเร็ว

Jindrich Petrlik ผู้อำนวยการกลุ่มงานสารพิษและของเสีย สมาคมอาร์นิก้า เปิดเผยในเวทีแถลงข่าวและนำเสนอผลการศึกษาเรื่อง “การสะสมของสารพิษตกค้างยาวนาน (POPs) ในเขตพัฒนาอุตสาหกรรม” จัดโดยมูลนิธิบูรณะนิเวศ ร่วมกับสมาคมอาร์นิก้า สาธารณรัฐเช็ก เมื่อวันที่ 23 พ.ย.2560 ตอนหนึ่งว่า จากการเก็บตัวอย่างสิ่งแวดล้อมในปี 2558-2559 พบว่าพื้นที่บริเวณ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร มีการปนเปื้อนสารไดออกซิน และสารหน่วงการติดไฟ (BFRs) ในปริมาณสูง ขณะที่สารไดออกซิน/ฟิวแรน (PBDD/Fs) มีปริมาณสูงมากเป็นอันดับ 2 จากที่เคยตรวจวัดทั่วโลก

สำหรับการตรวจสอบตัวอย่างไข่ไก่ที่หากินตามธรรมชาติ เพื่อใช้เป็นดัชนีตรวจสอบระดับการปนเปื้อนของสาร POPs ในพื้นที่ต่างๆ และเป็นเส้นทางสำคัญที่ทำให้มนุษย์ได้รับสัมผัสสารพิษเหล่านี้เข้าสู่ร่างกาย พบว่าตัวอย่างจำนวนครึ่งหนึ่ง หรือ 50% ใน จ.สมุทรสาคร มีการปนเปื้อนสาร PBDD/Fs ถึง 84.04 นาโนกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานสหภาพยุโรป (EU) ถึง 33 เท่า ส่วนการปนเปื้อนสาร PBDD/Fs รวมกับสารพีซีบี (PCBs) เท่ากับ 95.71 นาโนกรัมต่อกิโลกรัม ก็สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน EU ถึง 19 เท่า

Jindrich กล่าวว่า ในส่วนของพื้นที่อื่นๆ ที่มีการเก็บตัวอย่าง พบว่าพื้นที่มาบตาพุด จ.ระยอง มีสาร BFRs และสารเอชซีบี (HCB) ปริมาณสูงในบางพื้นที่ ส่วนบริเวณ อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น พบว่าไข่ไก่มีการปนเปื้อนสารพีเอเอช (PAHs) ในระดับสูง ขณะที่ไข่ไก่จากพื้นที่ติดต่อกับ อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี และ ต.ท่าตูม อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี มีปริมาณสารไดออกซิน และสารพีซีบีที่คล้ายไดออกซิน (DL PCBs) สูงเกินเกณฑ์มาตรฐานของ EU

“ตัวอย่างไข่ไก่ทั้งหมด มาจากไก่ที่เลี้ยงด้วยการปล่อยให้คุยเขี่ยหากินตามธรรมชาติ ในพื้นที่ที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมหรือมีกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดการปนเปื้อนของสาร POPs จากเขตพัฒนาอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ ใน 6 พื้นที่ จังหวัดระยอง สมุทรสาคร สระบุรี ปราจีนบุรี ขอนแก่น และสุราษฎร์ธานี อย่างไรก็ตามด้วยข้อจำกัดด้านทรัพยากร และการขาดข้อมูลเกณฑ์มาตรฐานต่างๆ ผลจากรายงานครั้งนี้อาจยังไม่สามารถพิจารณาการปนเปื้อนได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน หากแต่แสดงให้เห็นว่ามีความจำเป็นต้องศึกษาวิจัยเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นในอนาคต” Jindrich กล่าว

นางเพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ กล่าวว่า สำหรับสาร POPs คือสารเคมีอินทรีย์ที่เป็นสารเคมีสังเคราะห์ หรือเป็นสารที่เกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจจากกระบวนการเผาไหม้ หรือกระบวนการทางอุตสาหกรรม ซึ่งสารเหล่านี้สามารถอยู่คงทนในสิ่งแวดล้อมได้เป็นระยะเวลายาวนาน มีความเป็นพิษต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ รวมถึงสามารถสะสมในเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตได้ และจะมีความเข้มข้นสูงขึ้นในสิ่งมีชีวิตตามลำดับขั้นของห่วงโซ่อาหาร นอกจากนี้ยังสามารถแพร่กระจายไปได้ไกลในธรรมชาติผ่านดิน น้ำ และอากาศ

นางเพ็ญโฉม กล่าวว่า จากความตระหนักถึงความเสี่ยงต่อสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อมจากสาร POPs จึงได้เกิดอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน เพื่อลด ละ เลิก การผลิต การใช้ และการปลดปล่อยสาร POPs โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 17 พ.ค.2547 ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมลงนามและให้สัตยาบัน พร้อมทั้งจัดทำแผนจัดการระดับชาติเพื่อการปฏิบัติตามอนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ (NIP) ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 15 พ.ค.2550

“หนึ่งในเป้าหมายตามแผนดังกล่าว คือการมีทำเนียบฐานข้อมูลสารพิษ และมีกลไก Pollutant Release and Transfer Register หรือ PRTR ในประเทศภายในปี 2555 แต่จนปัจจุบันไทยยังคงมีอุปสรรคที่ไม่สามารถลดการปล่อยสาร  POPs ได้ เนื่องจากไม่มีกฎหมายและระบบการรายงานข้อมูล PRTR ดังนั้นประเทศไทยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการพัฒนาระบบและกฎหมาย ทำเนียบการปล่อยและการเคลื่อนย้ายมลพิษ หรือ PRTR โดยเร็ว เพื่อบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยสาร POPs และมลพิษอื่นๆ ที่เป็นปัญหาวิกฤตในปัจจุบัน” นางเพ็ญโฉม กล่าว

นางเพ็ญโฉม กล่าวอีกว่า ในส่วนของโครงการนำร่อง PRTR จ.ระยอง ตั้งแต่ปี 2554 ถึงปัจจุบัน เพื่อแก้ปัญหามลพิษอุตสาหกรรมที่มาบตาพุด ซึ่งเป็นการรายงานโดยสมัครใจของโรงงานอุตสาหกรรม พบว่าในจำนวนโรงงานนอกนิคมอุตสาหกรรมที่จะต้องรายงานการปล่อยสารมลพิษ 844 แห่ง มีการส่งรายงานเพียง 95 แห่ง หรือ 11% ส่วนโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมที่จะต้องส่งรายงานการปล่อยสารมลพิษ จำนวน 524 แห่ง มีการส่งรายงานเพียง 114 แห่ง หรือ 22% ดังนั้นในปี 2556 สถิติการปล่อยไดออกซินที่มีการรายงานจากแหล่งกำเนิดมลพิษทุกแห่งในจังหวัดระยองจึงเท่ากับ 0

ขอบคุณที่มา:https://greennews.agency/?p=15894
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
warrior B's profile


โพสท์โดย: warrior B
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
12 VOTES (4/5 จาก 3 คน)
VOTED: smileyjookjik
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ซูเปอร์สตาร์ที่ไม่มีงานแสดง แต่เป็นเศรษฐีระดับพันล้านเกิดเหตุกำแพงปูนล้มทับคนดับหลายรายเขมรอ้างกีฬายิมนาสติก มีต้นกำเนิดมาจากเขมร มีหลักฐาน ณ กำแพงนครวัด?แฟนๆ กรี๊ด หนุ่มคนใหม่ของสาว "เบลล่า"..ไม่ธรรมดา ทั้งหล่อและรวย(Viganella) หมู่บ้านไม่มีแสงดวงอาทิตย์ส่องถึงเลยปิดตำนาน “แม่กิมไล้” ขนมหม้อแกงชื่อดังเมืองเพชรบุรี เสียชีวิตแล้วแร๊พเปอร์ชื่อดัง "คริส คิง" ถูกโจรยิงตายในตรอกสุดฮา! เมื่อหนุ่มไม่ได้อาบน้ำคนเดียว..แต่มีหมากับแมวอยู่เป็นเพื่อนช็อตเด็ดสัตว์โลก : เกาะกันอยู่เพียบๆ แถมยืดได้หดได้เสียด้วย แบบนี้ น้องคือตัวอะไรกันนะ ?
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
(Viganella) หมู่บ้านไม่มีแสงดวงอาทิตย์ส่องถึงเลยสลอธ เคลื่อนที่ช้ามาก แต่ทำไมถึงไม่สูญพันธุ์?แฟนๆ กรี๊ด หนุ่มคนใหม่ของสาว "เบลล่า"..ไม่ธรรมดา ทั้งหล่อและรวยเกิดเหตุกำแพงปูนล้มทับคนดับหลายราย
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
หนุ่มขอให้หมอตัดนิ้วตัวเองทิ้ง 2 นิ้ว เพราะคิดว่ามันคือสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย เก็บไว้แล้วรู้สึกทุกข์ทรมานสุนัขจิ้งจอกอาร์กติกสลอธ เคลื่อนที่ช้ามาก แต่ทำไมถึงไม่สูญพันธุ์?7 วิธีลดความเสี่ยงของโรคในวัยทอง
ตั้งกระทู้ใหม่