น้ำท่วม แก้ง่ายมาก แต่ไม่ทำ
น้ำท่วมแก้ไขได้ แก้ได้ไม่ยาก ทำได้ง่ายๆ แต่ที่ผ่านมาไม่ได้ทำต่างหาก ไม่ใช่เป็นเรื่องธรรมชาติที่รอฟ้ารอฝน ทำได้อย่างยั่งยืนแน่นอน
ตามที่เกิดปรากฏการณ์น้ำท่วมกรุงเทพมหานครฉับพลันในวันที่ 14 ตุลาคม 2560 นั้น ทางผู้บริหารออกมา "แก้ตัวสารพัด" เช่น
1. เป็นปรากฏการณ์ที่ฝนตกหนักสุดในรอบ 30 ปี (https://goo.gl/1BxwRq)
2. ขยะเต็ม นิสัยคนกรุงแย่ เลยทำให้ระบายน้ำไปที่อุโมงค์ระบายน้ำไม่ทัน (https://goo.gl/jC59w5)
3. พยายามเต็มที่แล้ว
4. "ข้าฯ" ขอรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว (คำพูดของผู้ว่าฯ กทม) (https://goo.gl/awgh7f) ซึ่งไม่ทราบว่าแสดงความรับผิดชอบอย่างไร เพราะไม่เห็นลาออกให้คนอื่นมาทำหน้าที่แทน
กรณีฝนตกน้ำท่วมนี้แสดงให้เห็นถึงระบบป้องกันปัญหาน้ำท่วมที่ขาดประสิทธิภาพเป็นอย่างยิ่ง
1. ฝนจะตกหนักอย่างไร ก็คงไม่มากเท่ากับปริมาณน้ำที่จะสูบออกได้ตามประสิทธิภาพของเครื่องสูบน้ำ หากมีการสูบน้ำจริง
2. เรื่องขยะต่าง ๆ ที่ลอยฟ่องให้เห็น แสดงให้เห็นว่าขาดการจัดการขยะเท่าที่ควร การลอกท่อที่ทำกันอยู่ตามข่าว (https://goo.gl/aaTdsx) คงเป็นแค่การ "ลูบหน้าปะจมูก" จึงไม่ได้ผลอะไรเลย
3. อุโมงค์น้ำที่ว่า แทบจะไมได้เห็นการทำงานเลย และไม่เป็นที่เปิดเผยต่อสาธารณะเท่าที่ควร ประชาชนคงแทบไม่รู้ว่ามีอุโมงค์น้ำอยู่แถวไหนบ้าง ทำงานอย่างไร กรณีนี้แสดงถึงการขาดความโปร่งใสในการดำเนินงาน
4. นี่ขนาดว่าไม่ได้มีน้ำป่าไหลหลากมา ไม่มีการเปิดน้ำในเขื่อนเลย ไม่มีมวลน้ำจากภาคกลาง แค่ฝนตกคืนเดียว ยังก่อความเสียหายได้ขนาดนี้ โดยสมาคมประกันวินาศภัย สรุปจำนวนรถที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมเมื่อวันที่ 13-14 ตุลาคม 2560 พบมากถึง 2,009 คัน 27 บริษัท วิริยะมากสุด 500 คัน รองลงมา กรุงเทพประกันภัย และเมืองไทยประกันภัย (https://goo.gl/NvAEN)
กรณีเช่นนี้ถ้าเป็นนักการเมืองจากการเลือกตั้งคงต้องได้รับการเรียกร้องให้ลาออก หรืออาจถูกปลดออก เพราะมีความเสียหายร้ายแรงกว่ากรณีปลดผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (คสช.เชือดเซ่นน้องแก้ม ปลดประภัสร์ เขี่ยพ้น‘ผู้ว่าการรถไฟ’ https://goo.gl/uPXWQP) เสียอีก อย่างไรก็ตามทางราชการก็พยายามโทษธรรมชาติไปเสียอีก อันที่จริงแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมทำได้ง่ายมาก
1. การลอกท่อกำจัดขยะ จะมัวโทษคนทิ้งอย่างเดียวไม่ได้ ทางราชการต้องเป็นฝ่ายรุก การณรงค์การไม่ทิ้งขยะเป็นสิ่งที่ดี แต่จะใช้มาเพื่อ "แก้ตัว" คงไม่ได้
2. การใช้อุโมงค์ยักษ์ให้ได้ประสิทธิภาพจริง (ถ้ามี)
3. การมีระบบระบายน้ำที่มีประสิทธิภาพ พิสูจน์ได้เพื่อการวางใจของประชาชน เพราะปริมาณน้ำฝนที่ตกมาในแต่ละนาที ย่อมน้อยกว่าปริมาณน้ำที่สูบออกได้โดยเครื่องสูบน้ำอยู่แล้ว
4. การสร้างเขื่อนริมแม่น้ำเจ้าพระยา โดยทำเป็นถนนขนาด 6 ช่องทางจราจรในแต่ละฝั่งแม่น้ำ แบบในกรุงโซล (http://bit.ly/1VXvEO8) เพิ่มพื้นที่ถนนและให้กลายเป็นเขื่อนป้องกันน้ำท่วมได้ด้วย แต่ไม่ใช่ถนนเลียบแม่น้ำแบบที่ไม่ยั่งยืนที่ทางราชการกำลังดำเนินการอยู่
5. การสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำเพื่อการแก้ปัญหาน้ำท่วม และนำน้ำมาใช้ในยามจำเป็น เป็นต้น (http://bit.ly/1T8MoiE)
ลองพิจารณาดู ใช้เงินไม่มากเลย
ที่มา: http://bit.ly/2yvK01l