หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

กว่าคนโรมันจะรู้รสเปรี้ยว

โพสท์โดย ไดโจวบุได
  •  by ชัยจักร ทวยุทธานนท์
 
รายงานวิจัยล่าสุดชี้ว่า ในสมัยโรมัน เลมอนเป็นผลไม้หายากและมีเพียงผู้มีอันจะกินเท่านั้นที่ครอบครองพืชต่างแดนนี้ได้ เผยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นแหล่งกำเนิดผลไม้รสเปรี้ยวเหล่านี้ ที่กว่าจะเดินทางไปถึงโลกตะวันตก บางชนิดใช้เวลานับพันปี 

(21 ก.ค. 2560)--นิตยสาร Live Science ตีพิมพ์บทความเรื่อง Sour Note: In Ancient Rome, Lemons Were Only for the Rich ความว่า ในสมัยโรมันโบราณ เลมอนเป็นผลไม้หายาก และเชื่อว่ามีความสามารถในการรักษาโรค ดังนั้น จึงมีเพียงผู้ที่ฐานะร่ำรวย หรือชนชั้นสูงเท่านั้นที่มีเลมอนไว้ในครอบครองได้

เลมอน (lemon) และมะงั่ว (citron) เป็นผลไม้หายาก จัดอยู่ในกลุ่มพืชตระกูลส้มที่รู้จักเพียงไม่กี่ชนิดในแถบเมดิเตอร์เรเนียนยุคโบราณ ชนิดอื่น ๆ ในพืชตระกูลนี้ อาทิ ส้ม มะนาว และส้มโอ ซึ่งมีต้นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะเดินทางมาถึงภูมิภาคดังกล่าวก็ต้องใช้เวลาอีกหลายร้อยปี
 



เลมอน (Citrus limon) ที่มาของภาพ


มะงั่วหรือมะนาวควาย (Citrus medica) ที่มาของภาพ
 

ดัฟนา แลงกุต (Dafna Langgut) นักโบราณคดีแห่งมหาวิทยาลัยเทลอาวิฟ ประเทศอิสราเอล ศึกษาเอกสารโบราณ งานศิลปะและโบราณวัตถุ เช่น จิตรกรรมฝาผนังและเหรียญกษาปณ์ เป็นต้น รวมไปถึงการค้นคว้าผลการศึกษาที่มีมาก่อนหน้านี้ เพื่อยืนยันว่า “พืชตระกูลส้มอื่น ๆ แพร่กระจายจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้ามาในแถบเมดิเตอร์เรเนียน ด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจมากกว่าด้านอื่น”



แผนที่ที่ดัฟนา แลงกุต จัดทำขึ้นเพื่ออธิบายการแพร่กระจายของพืชตระกูลส้มจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าสู่ภูมิภาค
เมดิเตอเรเนียน ที่มาของภาพ

มะงั่ว (Citrus medica) เป็นพืชตระกูลส้มชนิดแรกที่มาถึงภูมิภาคเมดิเตอเรเนียน จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านทางอาณาจักรเปอร์เซีย (พบซากมะงั่วในสวนเปอร์เซียที่กำหนดอายุได้ราว 2,500 ปี ใกล้กรุงเยรูซาเล็ม) และทางตอนใต้ของภูมิภาคเลแวนต์ (Levant) ปัจจุบันได้แก่ ประเทศอิสราเอล จอร์แดน เลบานอน ไซปรัส และตอนใต้ของซีเรีย ต่อมาในศตวรรษที่ 3-2 ก่อนคริสต์ศักราช มะงั่วก็แพร่เข้าสู่ด้านตะวันตกของภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียน

พืชตระกูลส้มยุคแรกที่สุดพบในกรุงโรม จากการขุดค้นที่ฟอรัม (Roman Forum) กำหนดอายุได้ระหว่างปลายศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์ศักราช ถึงช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 1 นอกจากนี้ยังพบเมล็ดและละอองเกสรมะงั่วในสวนของผู้มีฐานะมั่งคั่งบนภูเขาวิสุเวียสและกรุงโรมด้วย



ภาพโมเสกคริสต์ศตวรรษที่ 6 นี้แสดงมะงั่ว 2 ผลประกอบอยู่กับภาพเชิงเทียน 7 กิ่ง (menorah) ตามความเชื่อในศาสนายูดาห์ (ยิว)ที่มาของภาพ

เลมอน (Citrus limon) ต้องใช้เวลาอีกกว่า 400 ปี กว่าจะมาถึงภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียน และแน่นอนว่า มีเพียงชนชั้นสูงเท่านั้นที่ได้ครอบครองเมลอน “เป็นเวลากว่าสหัสวรรษที่ผู้คนในภูมิภาคดังกล่าว รู้จักพืชตระกูลส้ม คือ เลมอนกับมะงั่ว เท่านั้น” แลงกุต กล่าวเพิ่มเติม “ผู้คนในสังคมชั้นสูงถือว่ามะงั่วกับมะนาวเป็นสินค้าราคาแพง เนื่องจาก “สรรพคุณทางการรักษา การใช้ในเชิงสัญลักษณ์ กลิ่นหอมละมุน และการเป็นของหายาก” รวมไปถึงรสชาติที่หาได้ยากจากพืชตระกูลอื่น” ทำให้ในเวลาต่อมา มีการปลูกพืชตระกูลส้มเหล่านี้เป็นพืชเศรษฐกิจ มีหลักฐานว่าต้นคริสต์ศตวรรษที่ 10 ส้มซ่า (Citrus aurantium) มะนาว (Citrus aurantifolia) และส้มโอ (Citrus maxima) ก็เดินทางมาภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียน เป็นไปได้ว่า ชาวมุสลิมนำผลไม้เหล่านี้เข้ามาผ่านทางเกาะซิซีลีและคาบสมุทรไอบีเรีย (สเปนและโปรตุเกส)



ส้มซ่า (Citrus aurantium) ที่มาของภาพ


มะนาว (Citrus aurantifoliaที่มาของภาพ 


แลงกุต กล่าวว่า “ชาวมุสลิมมีบทบาทสำคัญในการกระจายพื้นที่ปลูกพืชตระกูลส้มในทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกา และพื้นที่ตอนใต้ของทวีปยุโรป อีกทั้งยังมีหลักฐานว่า ชื่อสามัญของพืชเหล่านี้หลายชื่อมีที่มาจากภาษาอาหรับ ซึ่งถือว่ามีความเป็นไปได้สูงมาก เพราะในเวลานั้น ชาวมุสลิมควบคุมดินแดนกว้างใหญ่ และเส้นทางการค้าตั้งแต่อินเดียถึงภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียน”

ในบรรดาพืชตระกูลนี้ “ส้ม” (Citrus sinensisหรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า sweet orange นั้น แพร่เข้ามาภายหลัง กล่าวคือ ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยผ่านเส้นทางการค้าจากเมือง (Genoa) ประเทศอิตาลี ซึ่งชาวโปรตุเกสเป็นผู้ให้กำเนิดเส้นทางดังกล่าวในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ส่วนส้มแมนดาริน หรือส้มเขียวหวาน (Citrus reticulata) นั้นมาถึงเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 19 หรือเป็นเวลาราว 2,200 ปี นับตั้งแต่มะงั่วปรากฏขึ้นในโลกตะวันตก



ส้ม (Citrus sinensis) ที่มาของภาพ


ส้มเขียวหวาน (Citrus reticulataที่มาของภาพ


ไม่ว่าจะใช้ส้มและพืชตระกูลส้ม-มะนาว เป็นผักหรือผลไม้ เมื่อย้อนกลับไปดูความเป็นมา และเส้นทางที่พืชเหล่านี้เดินทางจากแหล่งกำเนิดไปสู่พื้นที่ต่าง ๆ ในโลก ก็ย่อมเห็นถึงเรื่องราวต่าง ๆ ที่ช่วยทำให้เกิดความเข้าใจถึงพลังทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการเมืองที่อยู่เบื้องหลังเรื่องราวในอดีตเหล่านี้ได้

เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับการเดินทางของพืช สัตว์ และอาหารจากมุมต่าง ๆ ของโลกที่มาอยู่บนโต๊ะอาหารของเราอย่างรวดเร็ว จนเรียกได้ว่า “สด” นั้น ทำให้ต้องย้อนกลับไปคิดว่า “เวลาและความเร็ว” ในทรรศนะของอดีตและปัจจุบันช่างต่างกันมาเหลือเกิน

กว่าคนโรมันจะรู้จักรสเปรี้ยวแบบส้มต้องใช้เวลานับพันปีกว่าจะเดินทางจากบ้านเกิดไปถึงโลกตะวันตก แต่ปูอลาสก้าหรือปลาแซลมอนจากน้ำลึกในยุโรปเหนือใช้เวลาเดินทางไม่กี่วันก็มาอยู่บนจานให้เราอร่อยได้แทบจะทันใจ อย่างไหนดีกว่ากัน คนเท่านั้นที่เป็นคนตอบ!!! 






 
 
ขอบคุณที่มา: http://www.gypzyworld.com/article/view/846
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
https://www.livescience.com/59896-ancient-citrus-trade-routes.html
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
ไดโจวบุได's profile


โพสท์โดย: ไดโจวบุได
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
32 VOTES (4/5 จาก 8 คน)
VOTED: Darius, ประแสร์, ซาอิ, น้องขนุน, taotong, kleoland, หนี่เตอไคว่เล่อแมว
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
นักมวยเตะก้นสาวชูป้าย เลยโดนคนดูรุมกระทืบซูเปอร์สตาร์ที่ไม่มีงานแสดง แต่เป็นเศรษฐีระดับพันล้านเกิดเหตุกำแพงปูนล้มทับคนดับหลายรายนี่คือวงเวียนในเขมร ที่ใช้งบประมาณไปกว่า 70 ล้านบาทในการก่อสร้าง!แฟนๆ กรี๊ด หนุ่มคนใหม่ของสาว "เบลล่า"..ไม่ธรรมดา ทั้งหล่อและรวย(Viganella) หมู่บ้านไม่มีแสงดวงอาทิตย์ส่องถึงเลยแร๊พเปอร์ชื่อดัง "คริส คิง" ถูกโจรยิงตายในตรอกเขมรอ้างกีฬายิมนาสติก มีต้นกำเนิดมาจากเขมร มีหลักฐาน ณ กำแพงนครวัด?ศาลมะกันสั่งห้ามคนเร่ร่อน นอนข้างถนน
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
สลอธ เคลื่อนที่ช้ามาก แต่ทำไมถึงไม่สูญพันธุ์?แฟนๆ กรี๊ด หนุ่มคนใหม่ของสาว "เบลล่า"..ไม่ธรรมดา ทั้งหล่อและรวยเกิดเหตุกำแพงปูนล้มทับคนดับหลายราย(Viganella) หมู่บ้านไม่มีแสงดวงอาทิตย์ส่องถึงเลย
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
สุนัขจิ้งจอกอาร์กติกสลอธ เคลื่อนที่ช้ามาก แต่ทำไมถึงไม่สูญพันธุ์?7 วิธีลดความเสี่ยงของโรคในวัยทอง7 สิ่งที่ควรทำเมื่ออายุ 40
ตั้งกระทู้ใหม่