นักวิจัยกำลังทดลองสร้างแบตเตอรีที่ชาร์จเต็มภายในไม่กี่วินาที
แบตเตอรีที่ชาร์จไฟเต็มได้ในไม่กี่วินาที ? เป็นได้ได้จริงหรือ
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Drexel นำทีมโดยดอกเตอร์ Yury Gogotsi, PhD ได้สร้างขั้วอิเล็กโทรดของแบตเตอรีขึ้นมาจาก Two-dimensional material หรือวัสดุสองมิติ (วัสดุที่เป็นฟิล์มบางมากอาจเพียงแค่อะตอมเดียว จึงเปรียบเหมือนว่าไม่มีมิติของความหนา เหลือแค่ 2 มิติคือมีแต่ความกว้างกับความยาว) ที่เรียกว่า แม็กซีน MXene ซึ่งมีความเป็นตัวนำสูงมากทำให้ประจุสามารถไหลผ่านอย่างง่ายดาย การประกอบแผ่น MXene เข้าด้วยกันเพื่อเลียนแบบการทำงานของตัวเก็บประจุแบบ Supercapacitor ทำให้ทีมวิจัยสามารถสร้างต้นแบบของแบตเตอรีที่ชาร์จให้เต็มได้ด้วยเวลาที่น้อยกว่าแบตเตอรีแบบเคมีที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือนับร้อยเท่า คือในระดับไม่กี่วินาที และหากขยายขนาดให้ใหญ่จนนำไปใช้ในรถยนต์ได้อานาคต แบตเตอรีชนิดนีก็จะสามารถชาร์จให้เต็มก้อนได้ในเวลาไม่กี่นาที ไม่นานไปกว่าการเติมน้ำมันตามปั๊มมากนัก
แต่ก็เหมือนนิทานเรื่องเดิม แบตเตอรีต้นแบบของ ดอกเตอร์ Yury Gogotsi เวลานี้ยังเป็นแค่แผ่นฟิล์มที่เอาไปใช้จริงๆไม่ได้ คงต้องการเวลาอีกเป็นปีๆในการพัฒนาจนมีราคาและขนาดรวมถึงความเหมาะสมที่จะผลิตจำหน่ายในปริมาณมากๆได้ ดังนั้น พวกเราก็คงได้แต่รอไปก่อน
อ้างอิงและเครดิตภาพ http://drexel.edu/now/archive/2017/July/MXene-electrodes
เรียบเรียงโดย @MrVop